ค้นเจอ 310 รายการ

ศิกษก,ศิกษกะ

หมายถึง[สิก-สก, สิกสะกะ] น. ผู้เล่าเรียน; ครู, ผู้สอน; ผู้รู้. (ส.).

ศิษย์นอกครู

หมายถึง(สำ) น. ศิษย์ที่ประพฤติไม่ตรงตามคำสั่งสอนของครูบาอาจารย์, โดยปริยายหมายถึงผู้ที่ประพฤติไม่ตรงตามแบบฉบับที่นิยมกันมา.

ไว้หน้า

หมายถึงก. รักษาเกียรติฐานะของผู้อื่นไม่ให้ต้องได้รับความอับอายขายหน้า เช่น ไม่ว่าจะพูดจะทำอะไรควรต้องไว้หน้าผู้หลักผู้ใหญ่บ้าง ติเตียนศิษย์ต้องไว้หน้าครู.

พฤทธ์

หมายถึง[พฺรึด] น. ผู้ใหญ่. ว. เจริญ, แข็งแรง, ใหญ่; แก่, เฒ่า, (ตรงข้ามกับ ยุว); ฉลาด, ชำนาญ; เจนจบ, พฤฒ ก็ใช้. (ส. วฺฤทฺธ).

เสกสรรปั้นเรื่อง

หมายถึงก. แต่งเรื่องขึ้นมาโดยจะมีความจริงหรือไม่ก็ได้เพื่อให้เข้าใจผิด เช่น คนคนนี้ช่างเสกสรรปั้นเรื่องมาเล่าให้ผู้ใหญ่ผิดใจกันอยู่เสมอ.

เสกสรรปั้นแต่ง

หมายถึงก. แต่งเรื่องขึ้นมาโดยจะมีความจริงหรือไม่ก็ได้เพื่อให้เข้าใจผิด เช่น คนคนนี้ช่างเสกสรรปั้นเรื่องมาเล่าให้ผู้ใหญ่ผิดใจกันอยู่เสมอ.

มหิศร,มหิศวร

หมายถึง[มะหิด, มะหิดสอน, มะหิสวน] น. ผู้เป็นใหญ่ยิ่ง, เลือนมาจาก มเหศวร หมายถึง พระศิวะ หรือ พระเจ้าแผ่นดิน. (ส.).

เสียผู้ใหญ่

หมายถึงก. เสียคุณลักษณะของผู้ใหญ่ ทำให้ไม่เป็นที่เคารพเชื่อถือของผู้อื่น เช่น เธอมาขอให้ฉันไปตกลงหมั้นกับฝ่ายโน้นเรียบร้อยแล้ว มาเปลี่ยนใจเสียเช่นนี้ ฉันก็เสียผู้ใหญ่.

เจ้าเซ็นเต้นต้ำบุด

หมายถึงน. ชื่อกลบทชนิดหนึ่ง มีตัวอย่างว่า สุดแค้นแสนคมสมเขาสรวล คำสอนข้อนสั่งข้างสิ่งควร ซํ้าข้อส่วนเข้าแซงแข่งซน.

หมดพุง,หมดไส้หมดพุง

หมายถึงว. หมดความรู้ เช่น ครูสอนศิษย์จนหมดพุง; อาการที่เปิดเผยโดยมิได้ปิดบังอำพราง เช่น สารภาพจนหมดไส้หมดพุง, สิ้นไส้สิ้นพุง ก็ว่า.

อุปนิษัท

หมายถึง[อุปะ-, อุบปะ-] น. ชื่อคัมภีร์ภาษาสันสกฤตกลุ่มหนึ่ง คัมภีร์อุปนิษัทรุ่นแรกเป็นพื้นฐานของศาสนาพราหมณ์ที่สอนว่าทุกสิ่งทุกอย่างออกมาจากอาตมัน. (ส.).

ตะโกรง

หมายถึง[-โกฺรง] ก. ทะเยอทะยาน, อยากได้. ว. อาการวิ่งโทง ๆ; เต็มไปด้วยความอยาก, ตะกลาม, เช่น ลูกเมียแปรไปเป็นอื่นตื่นตะโกรง. (สุ. สอนเด็ก).

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ