ค้นเจอ 181 รายการ

มาตรา

หมายถึง[มาดตฺรา] น. หลักกำหนดการวัดขนาด จำนวน เวลา และมุม เช่น มาตราชั่ง ตวง วัด มาตราเมตริก; แม่บทแจกลูกพยัญชนะต้นกับสระโดยไม่มีตัวสะกด เรียกว่า แม่ ก กา หรือ มาตรา ก กา, หลักเกณฑ์ที่วางไว้เพื่อให้กำหนดได้ว่าคำที่มีพยัญชนะตัวใดบ้างเป็นตัวสะกดอยู่ในมาตราใดหรือแม่ใด คือ ถ้ามีตัว ก ข ค ฆ สะกด จัดอยู่ในมาตรากกหรือแม่กก, ถ้ามีตัว ง สะกด จัดอยู่ในมาตรากงหรือแม่กง, ถ้ามีตัว จ ฉ ช ซ ฌ ฎ ฏ ฐ ฑ ฒ ด ต ถ ท ธ ศ ษ ส สะกด จัดอยู่ในมาตรากดหรือแม่กด, ถ้ามีตัว ญ ณ น ร ล ฬ สะกด จัดอยู่ในมาตรากนหรือแม่กน, ถ้ามีตัว บ ป พ ฟ ภ สะกดจัดอยู่ในมาตรากบหรือแม่กบ, ถ้ามีตัว ม สะกด จัดอยู่ในมาตรากมหรือแม่กม, ถ้ามีตัว ย สะกด จัดอยู่ในมาตราเกยหรือแม่เกย, ถ้ามีตัว ว สะกด จัดอยู่ในแม่เกอว; (กฎ) บทบัญญัติในกฎหมายที่แบ่งออกเป็นข้อ ๆ โดยมีเลขกำกับเรียงตามลำดับ; (ฉันทลักษณ์) ระยะเวลาการออกเสียงสระสั้นยาว สระสั้น ๑ มาตรา สระยาว ๒ มาตรา.

หมายถึงพยัญชนะตัวที่ ๓๕ เป็นพวกอักษรตํ่า ใช้เป็นตัวสะกดในแม่กน, ถ้าเขียนตัว ร ควบกัน ๒ ตัว เรียกว่า ร หัน ร ตัวหน้าทำหน้าที่เหมือนไม้หันอากาศ ร ตัวหลังเป็นตัวสะกด เช่น กรรไตร (กันไตฺร) ยรรยง (ยันยง) และเมื่อสะกดพยัญชนะที่ไม่มีสระอื่นเกาะต้องอ่านเหมือนมีสระ ออ อยู่ด้วย เช่น กร (กอน) กุญชร (กุนชอน), ถ้าตามพยัญชนะอื่น แต่มิได้ทำหน้าที่เป็นตัวสะกดและมีคำอื่นตาม พยัญชนะที่อยู่หน้าตัว ร มักออกเสียง ออ และตัว ร ออกเสียง อะ เช่น จรลี (จอ-ระ-ลี) หรดี (หอ-ระ-ดี).

ทุ่น

หมายถึงน. สิ่งที่ลอยนํ้าสำหรับให้สิ่งอื่นเกาะหรือเพื่อพยุงสิ่งอื่นให้ลอยนํ้า เช่น ทุ่นแพ ทุ่นทอดสะพาน หรือสำหรับเป็นที่ผูกจอดเรือ เช่น ทุ่นสมอ หรือสำหรับเป็นเครื่องหมายในการเดินเรือ เช่น ทุ่นนำร่อง, โดยปริยายหมายถึงพยัญชนะ อ ที่เป็นทุ่นให้สระเกาะ เช่น อา อี อู. ก. ผ่อนหรือช่วยให้สิ้นเปลืองน้อยลง เช่น ทุ่นแรง ทุ่นเวลา ทุ่นสตางค์.

อักษรต่ำ

หมายถึง[อักสอน-] น. พยัญชนะที่คำเป็นมีพื้นเสียงเป็นเสียงสามัญ ผันได้ ๓ เสียง มี ๒ รูป คือ ผันด้วยวรรณยุกต์ เป็นเสียงโท ผันด้วยวรรณยุกต์ เป็นเสียงตรี เช่น คา ค่า ค้า คำตายสระสั้น พื้นเสียงเป็นเสียงตรี ผันด้วยวรรณยุกต์ เป็นเสียงโท ผันด้วยวรรณยุกต์ เป็นเสียงจัตวา เช่น คะ ค่ะ ค๋ะ คำตายสระยาว พื้นเสียงเป็นเสียงโท ผันด้วยวรรณยุกต์ เป็นเสียงตรี ผันด้วยวรรณยุกต์ เป็นเสียงจัตวา เช่น คาก ค้าก ค๋าก มี ๒๔ ตัว คือ ค ฅ ฆ ง ช ซ ฌ ญ ฑ ฒ ณ ท ธ น พ ฟ ภ ม ย ร ล ว ฬ ฮ.

จระกล้าย

หมายถึง[จะระ-] (กลอน) ก. วางเฉย, อยู่เฉย, ไม่รู้สึกยินดียินร้าย, โบราณเขียนเป็น จรกล้าย ก็มี เช่น เออาศนไอสูรยเสีย จรกล้าย. (ยวนพ่าย), แล้วก็น่งงเยียม่งง ช่งงอยู่จรกล้าย ว่าเถ้าร้ายฤๅจะรู้กล. (ม. คำหลวง กุมาร).

ลังถึง

หมายถึงน. ภาชนะสำหรับนึ่งของ ทำด้วยโลหะมีลักษณะกลมคล้ายหม้อซ้อนกันเป็นชั้น ๆ ๒-๓ ชั้น ชั้นล่างใส่น้ำสำหรับต้มให้ร้อน ชั้นที่ซ้อนที่ก้นเจาะเป็นรู ๆ เพื่อให้ไอน้ำร้อนผ่านให้ของในชั้นที่ซ้อนสุก มีฝาครอบคล้ายฝาชี, ซึ้ง ก็ว่า.

วาล์ว

หมายถึงน. อุปกรณ์ชนิดหนึ่งในเครื่องยนต์ชนิดเผาไหม้ภายใน ทำหน้าที่เป็นลิ้นปิดเปิดเป็นจังหวะ ชุดหนึ่งเรียกว่า ลิ้นไอดี สำหรับให้อากาศหรืออากาศผสมนํ้ามันเชื้อเพลิงเข้าสู่ห้องเผาไหม้ อีกชุดหนึ่งเรียกว่า ลิ้นไอเสีย สำหรับให้แก๊สต่าง ๆ ที่เกิดจากการเผาไหม้ออกจากห้องเผาไหม้ไปสู่ท่อไอเสีย, ลิ้น ก็เรียก. (อ. valve).

เตี่ยว

หมายถึงน. ผ้าชิ้นน้อยยาวสำหรับคาดปากหม้อกันไม่ให้ไอร้อนออกเวลานึ่งของ, ผ้าขัดหนอกผู้หญิงสำหรับซับระดูหรืออยู่กระดานไฟ; ใบตองหรือใบมะพร้าวสำหรับคาดกลัดห่อขนม เช่นห่อข้าวหมาก ห่อขนมตาล; (ถิ่น-พายัพ) กางเกง. ก. มัดด้วยผ้าเตี่ยว, คาดให้แน่น.

ราชวรมหาวิหาร

หมายถึง[ราดชะวอระมะหาวิหาน] น. เรียกพระอารามหลวงชั้นเอกชนิดสูงสุดว่า ชั้นเอก ชนิดราชวรมหาวิหาร เช่น วัดพระเชตุพน วัดมหาธาตุ กรุงเทพมหานคร, เรียกพระอารามหลวงชั้นโทชนิดสูงสุด ว่า ชั้นโท ชนิดราชวรมหาวิหาร มี ๒ วัด คือ วัดสระเกศ และวัดชนะสงคราม.

ซึ้ง

หมายถึงน. ภาชนะสำหรับนึ่งของ ทำด้วยโลหะมีลักษณะกลมคล้ายหม้อ ซ้อนกันเป็นชั้น ๆ ๒-๓ ชั้น ชั้นล่างใส่น้ำสำหรับต้มให้ความร้อน ชั้นที่ซ้อนที่ก้นเจาะเป็นรู ๆ เพื่อให้ไอน้ำร้อนผ่านให้ของในชั้นที่ซ้อนสุก มีฝาครอบคล้ายฝาชี, ลังถึง ก็ว่า. (จ. เล่งซึ้ง).

มองคร่อ

หมายถึง[-คฺร่อ] น. โรคหลอดลมโป่งพอง มีเสมหะแห้งอยู่ในช่องหลอดลม ทำให้มีอาการไอเรื้อรัง ห้ามผู้ที่เป็นโรคนี้บวชเป็นภิกษุ. (อ. bronchiectasis); โรคทางเดินหายใจในสัตว์กีบเดียววงศ์ Equidae มีอาการไข้สูง เป็นฝีที่ต่อมน้ำเหลืองใต้คางและบริเวณคอหอย อาจติดต่อถึงคนได้, เขียนเป็น มงคล่อ ก็มี. (อ. strangles).

กระทั่ง

หมายถึงก. ตี, กระแทก, เช่น เสียงโครมครื้นคลื่นกระทั่งฝั่งชลา. (นิ. เพชร); ทำให้มีเสียง เช่น กระทั่งแตรกระทั่งมโหระทึก; ให้เสียงสัญญาณ เช่น ตามช่องฉากบังกระทั่งไอ. (คาวี), นิยมใช้เข้าคู่กับคำ กระทบ เป็น กระทบกระทั่ง. บ. จดถึง, จนถึง, เช่น กระทั่งบัดนี้เขาก็ยังไม่มา; แม้, แม้แต่, เช่น กระทั่งพ่อสั่งเขาก็ยังไม่ทำ กระทั่งแม่ของเขาเองเขาก็ยังไม่เว้น.

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ