ค้นเจอ 45 รายการ

นิพพาน

หมายถึง[นิบพาน] น. ความดับสนิทแห่งกิเลสและกองทุกข์. ก. ดับกิเลสและกองทุกข์, ตาย (ใช้แก่พระอรหันต์). (ป.; ส. นิรฺวาณ), โบราณใช้ว่า นิรพาณ ก็มี. (จารึกสยาม).

กรุง

หมายถึง[กฺรุง] น. เมืองหลวง, เมืองซึ่งเป็นที่ตั้งรัฐบาลกลาง, แต่ก่อนหมายถึงประเทศก็ได้ เช่น กรุงสยาม กรุงจีน; (โบ) กษัตริย์ เช่น จึ่งกรุงสุทโธทนเห็นอัศจรรย์ก็ทูลพลันด่งงนี้ฯ. (ม. คำหลวง ทศพร).

กลม

หมายถึง[กฺลม] ว. (โบ) ปวง, หมด, สิ้น, เช่น ทั้งกลม คือ ทั้งปวง, จึ่งได้เมืองแก่กูทงงกลํ. (จารึกสยาม); เรียกหญิงที่ตายพร้อมกับลูกที่อยู่ในท้องว่า หญิงตายทั้งกลม หมายถึง ตายทั้งหมด คือ ตายทั้งแม่ทั้งลูก.

ดาย

หมายถึงก. ใช้มีดหรือจอบเป็นต้นถากต้นหญ้าเพื่อให้เตียน. ว. ดะไป, ตะลุย, เช่น กินดาย; เพิกเฉย, ไม่เอาใจใส่, เช่น ดูดาย; ทีเดียว, เท่านั้น, เช่น เดียวดาย เปล่าดาย พู้นมาดาย. (จารึกสยาม); ง่าย เช่น สะดวกดาย; โดด, เดี่ยว, เลย, ถ่ายเดียว, (มักใช้ในที่สุดประโยค).

เสี้ยน

หมายถึงน. เนื้อไม้ที่แตกเป็นเส้นเล็ก ๆ ปลายแหลมอย่างหนาม, เรียกสิ่งอื่นที่มีลักษณะเช่นนั้น เช่น หน่อไม้แก่มีเนื้อเป็นเสี้ยน; ข้าศึก เช่น สระทุกข์ราษฎร์รอนเสี้ยน. (นิ. นรินทร์), เหือดเสี้ยนศึกสยาม สิ้นนาฯ. (ตะเลงพ่าย).

กระเหลียก

หมายถึง[-เหฺลียก] (โบ) ก. แลดู, เขียนเป็น กรลยก ก็มี เช่น สูวนนเจดีรสสมีกรลยกงามหนกกหนา. (จารึกสยาม หลัก ๒), เหลือบแล เช่น ครั้นเช้าไก่ขันเรียก ไก่กระเหลียกตาดู. (ลอ). (ข. กฺรเฬก ว่า เหลือบดู).

กลาย

หมายถึง[กฺลาย] ก. เปลี่ยนไป, แปรปรวนไป, เช่น หน้าหนาวกลายเป็นหน้าร้อน, เป็นอื่นไป, แปลงไป, เช่น ศรกลายเป็นทิพย์กระยาหาร เปรี้ยวหวานตกลงตรงหน้า. (รามเกียรติ์ ร. ๒), (โบ; กลอน) ใช้ในความว่า กราย ก็มี เช่น ไปกลายบ๋านชองตนกดี. (จารึกสยาม), จักเจริญสวัสดิภาพศักดิศรี ศัตรูไพรี บห่อนจะใกล้กลายตน. (โชค-โบราณ). ว. ที่แปลงไป เช่น แผลกลาย; เรียกปีที่ล่วงหรือเปลี่ยนไปแล้วปีหนึ่งว่า ปีกลาย.

กว่า

หมายถึง[กฺว่า] ว. เกิน เช่น กว่าบาท; เป็นคำใช้เปรียบเทียบในการประมาณ เช่น มากกว่า น้อยกว่า ดีกว่า, ย่อมพลกว่าพลแกว่น. (ม. คำหลวง มหาราช). บ. เลยไป, พ้นไป. สัน. ก่อน, ยังไม่ทัน, เช่น กว่าถั่วจะสุกงาก็ไหม้, มักใช้เข้าคู่กับคำ จะ...ก็ เป็น กว่าจะ...ก็ หรือ กว่า...จะ...ก็, โบราณใช้ว่า ยิ่ง ก็มี เช่น ใจกว่าห้วงอรรณพ. (ม. คำหลวง นครกัณฑ์); ใช้เป็นกริยาว่า ไปจาก ก็มี เช่น แทบทางที่จะกว่า. (ม. คำหลวง จุลพน), ผิออกนางธจะกว่า. (ม. คำหลวง กุมาร); ใช้เป็นวิเศษณ์ว่า จากไป ก็มี เช่น ลํ๋ตายหายกว่า. (จารึกสยาม).

จระเข้

หมายถึง[จอระ-] น. ชื่อสัตว์เลื้อยคลานขนาดใหญ่ในวงศ์ Crocodylidae อาศัยบริเวณป่าริมนํ้า หนังเป็นเกล็ดแข็ง ปากยาวและปลายปากนูนสูงขึ้นเป็นช่องเปิดของรูจมูก เรียกว่า ก้อนขี้หมา หางแบนยาวใช้โบกว่ายนํ้า มักหากินในนํ้า ในประเทศไทยมี ๓ ชนิด คือ จระเข้บึง จระเข้นํ้าจืด หรือ จระเข้สยาม (Crocodylus siamensis) จระเข้อ้ายเคี่ยม หรือ จระเข้นํ้าเค็ม (C. porosus) และ จระเข้ปากกระทุงเหว หรือ ตะโขง (Tomistoma schlegelii), ตะเข้ หรือ อ้ายเข้ ก็เรียก, อีสานเรียก แข้, ปักษ์ใต้เรียก เข้; ชื่อดาวฤกษ์กลุ่มหนึ่ง; เรียกธงผืนผ้ามีรูปจระเข้ตรงกลาง มักปักไว้ที่ท่านํ้าหน้าวัดแสดงว่าทอดกฐินแล้ว ว่า ธงจระเข้.

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ