ค้นเจอ 126 รายการ

สมการ

หมายถึง[สะมะกาน, สมมะกาน] (คณิต) น. ข้อความที่แสดงความเท่ากันของนิพจน์ ๒ นิพจน์ เฉพาะบางค่าของตัวไม่ทราบค่าที่ปรากฏในนิพจน์นั้น ๆ หรือการเหมือนกันของข้อความย่อย ๒ ข้อความที่ปรากฏอยู่ทางด้านซ้ายและด้านขวาของเครื่องหมาย =. (อ. equation).

สมนาคุณ

หมายถึง[สมมะนาคุน] ก. ตอบแทนบุญคุณด้วยทรัพย์ สิ่งของ หรือแรงงาน เป็นต้นแล้วแต่กรณี เช่น ร้านค้ามีของสมนาคุณผู้ซื้อ ธนาคารให้ของสมนาคุณแก่ลูกค้า, เรียกทรัพย์หรือสิ่งของเป็นต้นที่ให้ในลักษณะเช่นนั้นว่า เงินสมนาคุณ ของสมนาคุณ.

เอกอัครสมณทูต

หมายถึง[เอกอักคฺระ-] น. สมณทูตอันดับหนึ่งที่สันตะปาปาทรงแต่งตั้งไปประจำสำนักของประมุขของอีกรัฐหนึ่ง เพื่อเป็นตัวแทนทางการทูต รวมทั้งทำหน้าที่ดูแลและประสานงานกับคริสต์ศาสนิกชนนิกายโรมันคาทอลิกในส่วนที่เกี่ยวกับศาสนา มีฐานะระดับเดียวกับเอกอัครราชทูต. (อ. nuncio).

เชษฐ,เชษฐ-,เชษฐ-,เชษฐะ

หมายถึง[เชดถะ-] น. ดาวฤกษ์ที่ ๑๘ มี ๑๔ ดวง เห็นเป็นรูปงาช้างหรือคอนาค เช่น อัษฐรัศนักษัตรสมบุรณยล บัญญัติเชษฐดารา. (สรรพสิทธิ์), ดาวเชษฐา ดาวงาช้าง ดาวช้างใหญ่ ดาวคอนาค หรือ ดาวแพะ ก็เรียก. (ป. เชฏฺา; ส. เชฺยษฺา).

เต

หมายถึง(แบบ) ว. สาม, ใช้เติมหน้าศัพท์สังขยาเป็นเศษจำนวนเต็ม เช่น เตรสมสุรทิน = วันที่ ๑๓, เตรสีดิถี = วัน ๑๓ คํ่า, เตวีสติมสุรทิน = วันที่ ๒๓, เตติงสติมสังวัจฉระ = ปี (แห่งรัชกาล) ที่ ๓๓. (ป.).

สามารถ

หมายถึง[สามาด] เป็นคำช่วยกริยาบอกว่ามีคุณสมบัติที่จะทำได้ เช่น เขาสามารถเดินได้ชั่วโมงละ ๕ กิโลเมตร เพื่อนฉันสามารถขี่จักรยานไต่ลวดได้. ว. มีคุณสมบัติที่จะทำได้ โดยเฉพาะทางความรู้หรือความชำนาญเป็นต้น เช่น ลูกเขาเป็นคนสามารถเรียนอะไรก็เรียนได้. (ส. สมรฺถ; ป. สมตฺถ).

เข้าลิลิต

หมายถึงก. สัมผัสคำระหว่างบทตามแบบการแต่งลิลิตที่กำหนดไว้ในตำราฉันทลักษณ์ เช่นคำ “สม” กับ “สนม” ในตัวอย่างต่อไปนี้ จำใจจรจากสร้อย อยู่แม่อย่าละห้อย ห่อนช้าคืนสม แม่แลฯ สาวสนมสนองนารถไท้ ทูลสาร พระจักจรจากสถาน ถิ่นเท้า เสด็จแดนทุระกันดาร ใดราช เสมอนา ฤๅพระรานเสน่ห์ร้าว ด่วนร้างแรมไฉนฯ (ตะเลงพ่าย).; เรียกคำที่เติม เอศ ข้างท้ายเพื่อทำคำสุภาพให้เป็นคำเอกตามข้อบังคับโคลงว่า ศ เข้าลิลิต."

สมมาตร

หมายถึง[สมมาด] น. ลักษณะที่รูป ๒ รูปหรือรูปรูปเดียว แต่แยกได้เป็น ๒ ส่วน มีสมบัติว่า ถ้านำรูปแรกไปทับรูปที่ ๒ หรือพับส่วนแรกไปทับส่วนที่ ๒ ในกรณีที่เป็นรูปเดียวกันแล้ว ทั้ง ๒ รูปหรือ ๒ ส่วนนั้นจะทับกันสนิท, ถ้าเป็นรูปทรง ๓ มิติ เมื่อแบ่งครึ่งออกไป ๒ ซีกจะเหมือนกันทุกประการ. (อ. symmetry).

กสิณ

หมายถึง[กะสิน] น. สมถกรรมฐานหมวดหนึ่งว่าด้วยอารมณ์ที่กำหนดธาตุ ๔ คือ ปฐวี (ดิน) อาโป (นํ้า) เตโช (ไฟ) วาโย (ลม), ว่าด้วยวรรณะ (สี) ๔ คือ นีล (สีเขียว) ปีต (สีเหลือง) โลหิต (สีแดง) โอทาต (สีขาว), ว่าด้วยอากาศ (ที่ว่าง) และ อาโลก (แสงสว่าง) รวมเป็น ๑๐ อย่าง. (ป.).

ส่วน

หมายถึงน. สิ่งที่แบ่งจากสิ่งรวม เช่น เงินส่วนนี้จะเอาไว้ทำบุญ; การเข้าร่วม เช่น เรื่องนี้ขอมีส่วนด้วย; แผนกย่อย, ฝ่าย, เช่น งานกองนี้แบ่งออกเป็นหลายส่วน, ตอน, ท่อน, เช่น เรื่องนี้แบ่งออกเป็น ๕ ส่วน; ขนาดที่พอเหมาะพอดี เช่น ได้ส่วน สมส่วน ผิดส่วน; ด้าน เช่น ส่วนกว้าง ส่วนยาว ส่วนหนา; จำนวนที่อยู่ข้างล่างของเศษในเลขเศษส่วน. สัน. ฝ่าย, ข้าง, เช่น พอสอบเสร็จเพื่อน ๆ ก็ไปเที่ยวภูเก็ต ส่วนฉันไปเชียงใหม่.

โศกนาฏกรรม

หมายถึง[โสกะนาดตะกำ, โสกกะนาดตะกำ] น. วรรณกรรมโดยเฉพาะประเภทละครที่ลงท้ายด้วยความเศร้าหรือไม่สมหวัง ตัวเอกในเรื่องจะตายในที่สุด เช่นเรื่องลิลิตพระลอ สาวเครือฟ้า โรเมโอ-จูเลียต, โดยปริยายหมายถึงเรื่องราวหรือเหตุการณ์ทั่ว ๆ ไปที่เป็นเรื่องเศร้าสลดใจ เช่น ชีวิตของเขาเป็นเหมือนโศกนาฏกรรม เกิดในตระกูลเศรษฐี แต่สุดท้ายต้องตายอย่างยาจก.

เพลง

หมายถึง[เพฺลง] น. สำเนียงขับร้อง, ทำนองดนตรี, กระบวนวิธีรำดาบรำทวนเป็นต้น, ชื่อการร้องแก้กัน มีชื่อต่าง ๆ เช่น เพลงปรบไก่ เพลงฉ่อย; โดยปริยายหมายถึง แบบอย่าง เช่น ต่างกันไปคนละเพลง. (พระราชหัตถเลขา ร. ๕ ถึงสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส), ชั้นเชิง เช่น ร้อยภาษามาสู่เคยรู้เพลง. (อภัย).

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ