ค้นเจอ 187 รายการ

ทัณฑกรรม

หมายถึง[ทันดะ-] น. การลงโทษ, โทษที่ลงแก่สามเณรที่ประพฤติผิด; (กฎ) ทัณฑ์สถานหนึ่งตามกฎหมายว่าด้วยวินัยทหารและกฎหมายว่าด้วยวินัยตำรวจ คือ ให้ทำงานโยธา งานสุขาภิบาล หรืองานอื่นของราชการ เพิ่มจากหน้าที่ประจำซึ่งตนจะต้องปฏิบัติอยู่แล้ว หรือปรับให้อยู่เวรยามนอกจากหน้าที่ประจำ. (ส.).

ใจ

หมายถึงน. สิ่งที่ทำหน้าที่รู้ รู้สึก นึก และคิด เช่น ใจก็คิดว่าอย่างนั้น, หัวใจ เช่น ใจเต้น, ลมหายใจ เช่น กลั้นใจ อึดใจ หายใจ, ความรู้สึกนึกคิด เช่น ใจคด ใจซื่อ; จุดสำคัญของบางสิ่งบางอย่าง เช่น ใจมือ, บริเวณที่ถือว่าเป็นจุดสำคัญของสถานที่ เช่น ใจบ้านใจเมือง.

เอกังสพยากรณ์

หมายถึง[-สะพะยากอน] น. “การพยากรณ์โดยส่วนเดียว” หมายถึง การพยากรณ์เด็ดขาดเพียงสถานเดียวโดยไม่มีข้อแม้ เช่น พราหมณ์โกณฑัญญะพยากรณ์สิทธัตถราชกุมารว่าจะต้องออกบวชและตรัสรู้เป็นศาสดาเอกของโลกอย่างแน่นอน จัดเป็น เอกังสพยากรณ์, การตอบปัญหาที่ผู้ถามถามอย่างชัดเจน สามารถตอบได้อย่างแจ่มแจ้งทันที.

โบราณสถาน

หมายถึง[โบรานนะสะถาน, โบรานสะถาน] น. สิ่งที่เคลื่อนที่ไม่ได้ เช่น โบสถ์ วิหาร วัง มีอายุเก่ากว่า ๑๐๐ ปีขึ้นไป; (กฎ) อสังหาริมทรัพย์ซึ่งโดยอายุหรือโดยลักษณะแห่งการก่อสร้าง หรือโดยหลักฐานเกี่ยวกับประวัติของอสังหาริมทรัพย์นั้น เป็นประโยชน์ในทางศิลปะ ประวัติศาสตร์ หรือโบราณคดี ทั้งนี้ รวมถึงสถานที่ที่เป็นแหล่งโบราณคดี แหล่งประวัติศาสตร์ และอุทยานประวัติศาสตร์ด้วย.

ละคร

หมายถึง[-คอน] น. การแสดงประเภทหนึ่ง ผู้แสดงเรียกว่า ตัวละคร มีเวทีหรือสถานที่ใช้ในการแสดง มีบทให้ตัวละครแสดงตามเนื้อเรื่อง โดยมากมีดนตรีประกอบ มีลักษณะแตกต่างกันออกไปหลายชนิด; การเล่นที่ใช้สัตว์เป็นตัวแสดง เช่น ละครลิง ละครสัตว์, โดยปริยายหมายถึงความเป็นไปของชีวิต เช่น ละครชีวิต โลกคือละครโรงใหญ่.

ยาม,ยาม-

หมายถึง[ยาม, ยามะ-] น. ชื่อส่วนแห่งวัน ยามหนึ่งมี ๓ ชั่วโมง รวมวันหนึ่งมี ๘ ยาม; ในบาลีแบ่งกลางคืนเป็น ๓ ยาม ยามหนึ่งมี ๔ ชั่วโมง เรียกว่า ปฐมยาม มัชฌิมยาม และปัจฉิมยาม; (โหร) ช่วงแห่งวัน เป็นเวลายามละชั่วโมงครึ่ง กลางวันมี ๘ ยามตามลำดับคือ สุริยะ ศุกระ พุธะ จันเทา เสารี ครู ภุมมะ สุริยะ กลางคืนมี ๘ ยามตามลำดับคือ รวิ ชีโว ศศิ ศุโกร ภุมโม โสโร พุโธ รวิ; คราว, เวลา, เช่น ยามสุข ยามทุกข์ ยามเช้า ยามกิน; คนเฝ้าสถานที่หรือระวังเหตุการณ์ตามกำหนดเวลา เช่น แขกยาม ไทยยาม คนยาม, เรียกอาการที่อยู่เฝ้าสถานที่หรือระวังเหตุการณ์เช่นนั้นว่า อยู่ยาม หรือ เฝ้ายาม. (ป.).

กงสุล

หมายถึง(กฎ) น. ชื่อตำแหน่งของบุคคลซึ่งรัฐบาลของประเทศหนึ่งแต่งตั้งให้เป็นผู้แทนประจำอยู่ในเมืองต่าง ๆ ของอีกประเทศหนึ่ง เพื่อทำหน้าที่ช่วยเหลือคนชาติของประเทศผู้แต่งตั้งกงสุลที่ไปอยู่ในเมืองต่างประเทศนั้น ๆ และเพื่อดูแลผลประโยชน์ทั่วไปของประเทศผู้แต่งตั้ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านการพาณิชย์ กงสุลมี ๒ ประเภท คือ (๑) กงสุลโดยอาชีพ ได้แก่ ผู้ที่เป็นข้าราชการของประเทศผู้แต่งตั้ง และ (๒) กงสุลกิตติมศักดิ์ ได้แก่ ผู้ได้รับแต่งตั้งซึ่งมิใช่ข้าราชการและไม่ได้รับเงินเดือน ซึ่งอาจเป็นคนชาติของประเทศผู้แต่งตั้ง หรือคนชาติอื่นก็ได้ กงสุลที่มีตำแหน่งเป็นหัวหน้าสถานกงสุลมี ๔ ระดับ คือ กงสุลใหญ่ กงสุล รองกงสุล และตัวแทนฝ่ายกงสุล. ว. เกี่ยวกับกงสุล เช่น สถานกงสุล เขตกงสุล พนักงานฝ่ายกงสุล. (ฝ. consul).

รัตนโกสินทร์

หมายถึงน. นามส่วนหนึ่งของกรุงเทพมหานครฯ ที่มีชื่อเต็มว่า กรุงเทพมหานคร อมรรัตนโกสินทร์ มหินทรายุธยา มหาดิลกภพ นพรัตนราชธานีบูรีรมย์ อุดมราชนิเวศน์มหาสถาน อมรพิมานอวตารสถิต สักกะทัตติยวิษณุกรรมประสิทธิ์, อีกนัยหนึ่งหมายความถึงกรุงเทพฯ มักอ้างในประวัติศาสตร์ เช่น สมัยรัตนโกสินทร์.

โรงงาน

หมายถึง(กฎ) น. อาคาร สถานที่ หรือยานพาหนะที่ใช้เครื่องจักร มีกำลังรวมตั้งแต่ ๕ แรงม้าหรือกำลังเทียบเท่าตั้งแต่ ๕ แรงม้าขึ้นไป หรือใช้คนงานตั้งแต่ ๗ คนขึ้นไปโดยใช้เครื่องจักรหรือไม่ก็ตามสำหรับทำ ผลิต ประกอบบรรจุ ซ่อม ซ่อมบำรุง ทดสอบ ปรับปรุง แปรสภาพ ลำเลียง เก็บรักษา หรือทำลายสิ่งใด ๆ ทั้งนี้ตามประเภทหรือชนิดของโรงงานที่กำหนดในกฎกระทรวง.

บุกรุก

หมายถึงก. ล่วงลํ้าเข้าไปในเขตที่หวงห้าม เช่น บุกรุกเข้าไปในเขตพระราชฐาน, ล่วงลํ้าเข้าไปในบริเวณที่หวงห้ามเพื่อยึดครองเป็นต้น เช่น บุกรุกป่าสงวน, ล่วงลํ้าเข้าไปในสถานที่ของผู้อื่นโดยบังอาจหรือพลการ เช่น บุกรุกเข้าไปในบ้านผู้อื่น. (กฎ) น. ชื่อความผิดอาญา เรียกว่า ความผิดฐานบุกรุก ได้แก่ การเข้าไปในอสังหาริมทรัพย์ของผู้อื่นเพื่อถือการครอบครองอสังหาริมทรัพย์นั้นทั้งหมดหรือแต่บางส่วน หรือเข้าไปกระทำการใด ๆ อันเป็นการรบกวนการครอบครองอสังหาริมทรัพย์ของเขาโดยปรกติสุข; การถือเอาอสังหาริมทรัพย์ของผู้อื่นเป็นของตนหรือของบุคคลที่สาม โดยยักย้ายหรือทำลายเครื่องหมายเขตแห่งอสังหาริมทรัพย์นั้นทั้งหมดหรือแต่บางส่วน; การเข้าไปหรือซ่อนตัวอยู่ในเคหสถาน อาคารเก็บรักษาทรัพย์หรือสำนักงานในความครอบครองของผู้อื่นโดยไม่มีเหตุอันควร หรือไม่ยอมออกไปจากสถานที่เช่นว่านั้นเมื่อผู้มีสิทธิที่จะห้ามมิให้เข้าไปได้ไล่ให้ออก.

ตลาด

หมายถึง[ตะหฺลาด] น. ที่ชุมนุมเพื่อซื้อขายของต่าง ๆ; (กฎ) สถานที่ซึ่งปรกติจัดไว้ให้ผู้ค้าใช้เป็นที่ชุมนุมเพื่อจำหน่ายสินค้าประเภทสัตว์ เนื้อสัตว์ ผัก ผลไม้ หรืออาหารอันมีสภาพเป็นของสด ประกอบหรือปรุงแล้ว หรือของเสียง่าย ทั้งนี้ ไม่ว่าจะมีการจำหน่ายสินค้าประเภทอื่นด้วยหรือไม่ก็ตาม และหมายความรวมถึงบริเวณซึ่งจัดไว้สำหรับให้ผู้ค้าใช้เป็นที่ชุมนุมเพื่อจำหน่ายสินค้าประเภทดังกล่าวเป็นประจำหรือเป็นครั้งคราวหรือตามวันที่กำหนด.

อูฐ

หมายถึง[อูด] น. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในวงศ์ Camelidae หัว คอ และขาทั้ง ๔ ยาว มีนิ้วตีนข้างละ ๒ นิ้ว กระเพาะมี ๓ ส่วน ไม่มีถุงนํ้าดี มี ๒ ชนิด คือ ชนิด ๒ หนอก (Camelus bactrianus) มีในประเทศจีน ปากีสถาน และอัฟกานิสถาน, ชนิดหนอกเดียว (C. dromedarius) มีในทวีปแอฟริกาตอนเหนือ. (ป. โอฏฺ; ส. อุษฺฏฺร).

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ