ค้นเจอ 1,121 รายการ

อนาถ

หมายถึง[อะหฺนาด] ก. สงสาร, สังเวช, สลดใจ. (ป., ส. อนาถ ว่า ไม่มีที่พึ่ง).

วรากะ

หมายถึง(แบบ) น. ตุ่ม, ไห, หม้อนํ้า. ว. น่าเวทนา, น่าสงสาร. (ป., ส.).

ใจแข็ง

หมายถึงว. ไม่ยอมง่าย ๆ, ไม่รู้สึกสงสาร, อดกลั้นความเจ็บปวดหรือทุกข์โศกไว้ได้.

อาสูร

หมายถึง[-สูน] (โบ) ก. สงสาร เช่น อาสูรสองหลานเอย ย่อมเสวยเคยข้าวสาลี. (ม. คำหลวง ทานกัณฑ์ กลบทเก่า); เอ็นดู; กังวล. (ข. อาสูร ว่า สงสาร, น่าอนาถ).

กระสินธุ

หมายถึง(โบ; กลอน) น. แม่นํ้า เช่น กระแสกระสินธุสงสาร. (อุเทน). (กระ + ป., ส. สินฺธุ).

กำลูน

หมายถึง(โบ) ว. น่ากรุณา, น่าเอ็นดู, น่าสงสาร, เช่น ครั้นเห็นยิ่งระทดกำลูนสลดชีวา. (ม. คำหลวง มัทรี). (ป. กลูน).

กัปนก

หมายถึง[กับปะหฺนก] (แบบ) ว. กำพร้า, น่าสงสาร, เช่น อันว่าพราหมณชรา ชีณกัปนก. (ม. คำหลวง ชูชก). (ป. กปณก).

ตีลูกซึม

หมายถึงก. ทำเฉย ๆ เหมือนไม่รู้เรื่อง, แสร้งทำหน้าซึมเศร้าเพื่อให้สงสารหรือเห็นอกเห็นใจ.

หัวอกหัวใจ

หมายถึงน. สภาพจิตใจที่น่าสงสารหรือน่าเห็นใจเป็นต้น เช่น นั่งก็ไม่เป็นสุข นอนก็ไม่เป็นสุข หัวอกหัวใจมันร้อนรุ่มไปหมด.

ละห้อย

หมายถึงว. อาการที่พูดเว้าวอนด้วยน้ำเสียงอ่อย ๆ ก่อให้เกิดความสงสารเห็นอกเห็นใจ เช่น เสียงละห้อย; โศกเศร้าเพราะความผิดหวังหรือคิดถึง เช่น หน้าละห้อย.

กรีดน้ำตา

หมายถึงว. เช็ดน้ำตาด้วยนิ้วอย่างละครรำ, โดยปริยายเป็นคำแสดงความหมั่นไส้ว่าแสร้งร้องไห้ทำให้ดูน่าสงสาร เช่น เรื่องแค่นี้มานั่งกรีดน้ำตาอยู่ได้.

ภาษาธรรม

หมายถึงน. ภาษาที่ใช้มีความหมายในทางธรรม ต่างกับความหมายที่ชาวบ้านใช้ เช่น คำว่า เวทนา ในภาษาธรรมหมายถึง การเสวยอารมณ์ที่เป็นสุข เป็นทุกข์ หรือเฉย ๆ แต่ชาวบ้านใช้หมายถึง สงสารสลดใจ หรือคำว่า สงสาร ในภาษาธรรมหมายถึง การเวียนว่ายตายเกิด แต่ชาวบ้านใช้หมายถึง รู้สึกเห็นใจในความเดือดร้อนหรือความทุกข์ของผู้อื่น.

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ