ค้นเจอ 91 รายการ

วิ

หมายถึงคำนำหน้าศัพท์ แปลว่า วิเศษ, แจ้ง, ต่าง, เช่น วิสุทธิ วิเทศ. (ป., ส.).

ฐายี

หมายถึง(แบบ) ว. ตั้งอยู่, ดำรงอยู่, มักประกอบท้ายศัพท์ เช่น กัปปัฏฐายี ว่า ตั้งอยู่กัปหนึ่ง. (ป.).

เทว,เทว-

หมายถึง[ทะเว-] (แบบ) ว. สอง, มักใช้ประกอบหน้าศัพท์อื่น. (ป. เทฺว).

เกรียง

หมายถึง[เกฺรียง] ว. ใหญ่, ยิ่ง, มาก, เช่น มีศัพท์สำเนียงเกรียงระงม. (ม. คำหลวง กุมาร).

หมายถึง[ฉอ, ฉ้อ, ฉะ] ว. หก, สำหรับประกอบหน้าศัพท์อื่น. (ป.).

เทว,เทว-

หมายถึง[เทวะ-] (แบบ) น. เทวดา, มักใช้ประกอบหน้าศัพท์อื่น. (ป., ส.).

อาทาน

หมายถึงน. การถือเอา, การรับ, การยึดถือ, มักใช้เป็นส่วนท้ายศัพท์ เช่น อุปาทาน สมาทาน. (ป., ส.).

สนธิ

หมายถึงน. ที่ต่อ, การติดต่อ; การเอาศัพท์ตั้งแต่ ๒ ศัพท์ขึ้นไปมาเชื่อมเสียงให้กลมกลืนกันตามหลักที่ได้มาจากไวยากรณ์บาลีและสันสกฤต เช่น พจน + อนุกรม เป็น พจนานุกรม ราช + อุปถัมภ์ เป็น ราชูปถัมภ์ นว + อรห + อาทิ + คุณ เป็น นวารหาทิคุณ. (ป., ส.).

หัวเลี้ยวหัวต่อ

หมายถึงน. ภาวะหรือเหตุการณ์ที่อยู่ในระยะต่อกันถือว่าเป็นตอนสำคัญที่จะเปลี่ยนแปลงสภาพหรือความคิดเป็นต้น เช่น วัยรุ่นเป็นช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อของชีวิตที่จะเติบโตเป็นผู้ใหญ่.

ปิย,ปิย-

หมายถึง[ปิยะ-] ว. ที่รัก, สำหรับประกอบหน้าศัพท์ต่าง ๆ เช่น ปิยบุตร หรือ ปิโยรส = ลูกที่รัก. (ป.).

มนัส,มนัส-

หมายถึง[มะนัด, มะนัดสะ-] น. ใจ (เมื่อเข้าสมาสกับศัพท์หลังมักเป็น มโน, ดู มโน). (ส.).

ธรรม

หมายถึงคำประกอบท้ายคำที่เป็นนามธรรม เมื่อประกอบแล้วมีความหมายไม่ต่างไปจากคำศัพท์เดิม เช่น วัฒนธรรม อารยธรรม.

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ