ค้นเจอ 92 รายการ

บัญญัติ

หมายถึง[บันหฺยัด] น. ข้อความที่ตราหรือกำหนดขึ้นไว้เป็นข้อบังคับ เป็นหลักเกณฑ์ หรือเป็นกฎหมาย เช่น พระราชบัญญัติ พุทธบัญญัติ บัญญัติ ๑๐ ประการ. ก. ตราหรือกำหนดขึ้นไว้เป็นข้อบังคับ เป็นหลักเกณฑ์ หรือเป็นกฎหมาย เช่น บัญญัติศัพท์ บัญญัติกฎหมาย. (ป. ปญฺตฺติ).

สังคม,สังคม-

หมายถึง[-คมมะ-] น. คนจำนวนหนึ่งที่มีความสัมพันธ์ต่อเนื่องกันตามระเบียบ กฎเกณฑ์ โดยมีวัตถุประสงค์สำคัญร่วมกัน เช่น สังคมชนบท; วงการหรือสมาคมของคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง เช่น สังคมชาวบ้าน. ว. ที่เกี่ยวกับการพบปะสังสรรค์หรือชุมนุมชน เช่น วงสังคม งานสังคม. (ป.).

ไล่ออก

หมายถึงก. คัดชื่อออกจากทะเบียน เช่น ไล่ออกจากโรงเรียน, ให้ออกจากราชการหรือวงการเพราะกระทำความผิดอย่างร้ายแรง เช่น ไล่ออกจากราชการ ไล่ออกจากงาน. (กฎ) น. โทษทางวินัยสถานหนักที่สุดที่ใช้ลงแก่ข้าราชการ ผู้กระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงโดยสั่งให้ออกจากราชการและไม่มีสิทธิได้รับบำเหน็จบำนาญ.

อนุ

หมายถึงคำประกอบหน้าศัพท์บาลีหรือสันสกฤตมีความหมายว่า น้อย เช่น อนุทิศ = ทิศน้อย, ภายหลัง, รุ่นหลัง, เช่น อนุชน = ชนรุ่นหลัง, ตาม เช่น อนุวัต = เป็นไปตาม, เนือง ๆ เช่น อนุศาสน์ = สอนเนือง ๆ คือ พรํ่าสอน. (ป., ส.).

อัป,อัป-

หมายถึง[อับปะ-] คำประกอบหน้าศัพท์ที่มาจากภาษาบาลีและสันสกฤต มีความหมายว่า ไม่, ไร้, ไปจาก, ปราศจาก, เช่น อัปภาคย์ ว่า ไร้โชค ปราศจากโชค, อัปยศ ว่า ไร้ยศ, ใช้ อป ก็ได้. (ป., ส. อป).

อธิป,อธิป-

หมายถึง[อะทิบ, อะทิปะ-, อะทิบปะ-] น. พระเจ้าแผ่นดิน, นาย, หัวหน้า, ผู้เป็นใหญ่, มักใช้พ่วงท้ายศัพท์ เช่น นราธิป ชนาธิป, แต่เมื่อนำหน้าคำที่ขึ้นต้นด้วยสระ มักใช้ อธิบ เช่น นราธิเบศร์ นราธิเบนทร์. (ป., ส.).

คดี

หมายถึง[คะดี] น. เรื่อง, มักใช้ประกอบคำศัพท์ เช่น โบราณคดี คดีโลก คดีธรรม วรรณคดี สารคดี; (กฎ) เรื่องหรือความที่ฟ้องร้องหรือกล่าวหากันในทางกฎหมาย ซึ่งต้องดำเนินการตามกระบวนวิธีพิจารณาความตามที่กฎหมายกำหนด เช่น คดีแพ่ง คดีอาญา คดีปกครอง. (ป. คติ).

แครอท

หมายถึงพระสงฆ์

สดับ

หมายถึง[สะดับ] ก. ตั้งใจฟัง เช่น สดับพระธรรมเทศนา, มักใช้เข้าคู่กับคำตรับฟัง เป็น สดับตรับฟัง; (วรรณ) ได้ยิน เช่น ถึงแม้ว่าจะสนิทนิทรา ก็ผวาเมื่อสดับศัพท์เสียงพี่. (วิวาหพระสมุท). (ข. สฎาบ่).

เต

หมายถึง(แบบ) ว. สาม, ใช้เติมหน้าศัพท์สังขยาเป็นเศษจำนวนเต็ม เช่น เตรสมสุรทิน = วันที่ ๑๓, เตรสีดิถี = วัน ๑๓ คํ่า, เตวีสติมสุรทิน = วันที่ ๒๓, เตติงสติมสังวัจฉระ = ปี (แห่งรัชกาล) ที่ ๓๓. (ป.).

มิติ

หมายถึงน. การวัด (มักใช้ประกอบหลังศัพท์อื่น) เช่น ตรีโกณมิติ สังคมมิติ, ขนาดซึ่งวัดไปตามทิศทางใดทิศทางหนึ่ง โดยถือขนาดยาวเป็นมิติที่ ๑ ขนาดกว้างเป็นมิติที่ ๒ ขนาดหนาหรือสูงเป็นมิติที่ ๓ และถือว่าเวลาเป็นมิติที่ ๔, ในทางศิลปะอาจใช้ หนาหรือลึก แทน กว้างหรือยาว ก็ได้. (ส.).

โทรศัพท์

หมายถึงน. ระบบโทรคมนาคมซึ่งใช้อุปกรณ์ทางไฟฟ้าเป็นเครื่องมือสื่อสารให้ติดต่อพูดถึงกันได้ในระยะไกลโดยใช้สายตัวนำโยงติดต่อถึงกัน และอาศัยอำนาจแม่เหล็กไฟฟ้าเป็นหลักสำคัญ. (อ. telephone), คำว่าโทรศัพท์ที่อยู่หน้าหมายเลขโทรศัพท์มักเขียนย่อว่า โทร. ออกเสียงว่า [โท]. (ปาก) ก. พูดติดต่อกันทางโทรศัพท์.

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ