ค้นเจอ 200 รายการ

โขม,โขม-

หมายถึง[โขมะ-] (แบบ) น. โกษม, ผ้าใยไหม (ผ้าลินิน), ผ้าขาว, ผ้าป่าน, ใช้เป็นศัพท์ประกอบว่า โขมพัตถ์ โขมพัสตร์ และแผลงเป็น โขษมพัสตร์ ก็มี. (ป.; ส. เกฺษาม).

เปศละ

หมายถึง[เปสะละ] ว. ซึ่งประดับตกแต่งโดยฝีมือช่าง; งาม, สวย, น่ารัก, น่าชอบใจ, อ่อน, น่วม, ละมุนละม่อม; เก่ง, ชำนาญ, เชี่ยวชาญ, มีเล่ห์กล, มีอุบาย. (ส.).

บรมัตถ์

หมายถึง[บอระมัด] น. ปรมัตถ์, ประโยชน์อย่างยิ่ง, เนื้อความอย่างสูง, ความจริงที่สุด; ชื่อพระอภิธรรมปิฎก เรียกว่า บรมัตถ์, และยังใช้นำหน้าศัพท์ เช่น บรมัตถบารมี บรมัตถประโยชน์. (ป. ปรมตฺถ).

ครบมือ

หมายถึงว. มีอยู่ครบในครอบครอง (ใช้แก่อาวุธและคนตั้งแต่ ๒ คนขึ้นไป มักใช้ในทางไม่ดี) เช่น มีอาวุธครบมือ; มีเครื่องมือเครื่องใช้อย่างพร้อมเพรียง เช่น ช่างไม้มีอุปกรณ์ครบมือ.

อภิ

หมายถึงคำประกอบหน้าศัพท์ที่มาจากภาษาบาลีและสันสกฤต มีความหมายว่า ยิ่ง, วิเศษ, เหนือ, เช่น อภิรมย์ = ยินดียิ่ง, อภิญญาณ = ความรู้วิเศษ, อภิมนุษย์ = มนุษย์ที่เหนือมนุษย์ทั้งหลาย. (ป.).

การ,-การ,-การ

หมายถึงน. ผู้ทำ, มักใช้เป็นส่วนท้ายสมาสคำบาลีและสันสกฤต เช่น กรรมการ ตุลาการ, ถ้าอยู่หลังคำอื่นที่ไม่ใช่คำศัพท์ มีความหมายเป็นเฉพาะก็มี เช่น กงการ เจ้าการ นักการ ผู้บังคับการ ผู้กำกับการ.

ทุติย,ทุติย-

หมายถึง[ทุติยะ-] (แบบ) ว. ที่ ๒, มักใช้นำหน้าศัพท์อื่น เช่น ทุติยดิถี = วัน ๒ คํ่า, ทุติยมาส = เดือนที่ ๒, ทุติยวาร = ครั้งที่ ๒, ทุติยสุรทิน = วันที่ ๒. (ป.).

บัญญัติ

หมายถึง[บันหฺยัด] น. ข้อความที่ตราหรือกำหนดขึ้นไว้เป็นข้อบังคับ เป็นหลักเกณฑ์ หรือเป็นกฎหมาย เช่น พระราชบัญญัติ พุทธบัญญัติ บัญญัติ ๑๐ ประการ. ก. ตราหรือกำหนดขึ้นไว้เป็นข้อบังคับ เป็นหลักเกณฑ์ หรือเป็นกฎหมาย เช่น บัญญัติศัพท์ บัญญัติกฎหมาย. (ป. ปญฺตฺติ).

เงินสเตอร์ลิง

หมายถึงน. โลหะเจือซึ่งประเทศอังกฤษเคยใช้ทำเงินตรา มีองค์ประกอบเป็นโลหะเงินร้อยละ ๙๒.๕ ทองแดงร้อยละ ๗.๒ ตะกั่วร้อยละ ๐.๒ และทองคำร้อยละ ๐.๑. (อ. sterling silver).

อนุ

หมายถึงคำประกอบหน้าศัพท์บาลีหรือสันสกฤตมีความหมายว่า น้อย เช่น อนุทิศ = ทิศน้อย, ภายหลัง, รุ่นหลัง, เช่น อนุชน = ชนรุ่นหลัง, ตาม เช่น อนุวัต = เป็นไปตาม, เนือง ๆ เช่น อนุศาสน์ = สอนเนือง ๆ คือ พรํ่าสอน. (ป., ส.).

ฉิน

หมายถึงว. ฉัน, มีแสงกล้า, มีแสงที่พุ่งออกไป; งาม, มักใช้เข้าคู่กับคำ โฉม เป็น ฉินโฉม หรือ โฉมฉิน เช่น ฉินโฉมเฉกช่างวาด. (ม. คำหลวง ทานกัณฑ์).

สอดรู้,สอดรู้สอดเห็น

หมายถึงก. เที่ยวเข้าไปรู้ในเรื่องของคนอื่น (มักใช้ในทางไม่ดี) เช่น ใครเขาจะทำอะไรกันที่ไหน ก็เที่ยวไปสอดรู้เขาหมด เขาเป็นคนช่างสอดรู้สอดเห็น มีเรื่องของชาวบ้านมาเล่าเสมอ.

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ