ค้นเจอ 56 รายการ

เบ็ดราว

หมายถึงน. เบ็ดที่ผูกไว้กับเชือกหรือแท่งไม้ยาวประมาณ ๑ ศอก แล้วนำไปผูกห้อยไว้กับเชือกราว โดยเว้นระยะห่างกันเป็นตอน ๆ เพื่อนำไปหย่อนลงในแม่น้ำลำคลอง.

มีดแป๊ะกั๊ก

หมายถึงน. มีดขนาดใหญ่ ใบมีดรูปแบนยาวประมาณ ๑ ศอก สันหนา ด้ามทำด้วยไม้ไผ่ยาวประมาณ ๓ ศอก ใช้เป็นอาวุธสำหรับทหารเดินเท้าในกองทัพสมัยโบราณ.

กระหย่อน

หมายถึง(โบ) ก. ขย้อน คือ อาการขยับขึ้นขยับลง เช่น พระยานั่งอยู่แลกระหย่อนองค์โลดขึ้นทั้งนั้นก็ดี ขึ้นสูงได้ ๑๘ ศอก. (ไตรภูมิ; สรรพสิทธิ์; พงศ. เหนือ), กระย่อน ก็ว่า.

ค่ายผนบบ้านหล่อ

หมายถึงน. เครื่องกีดกั้นขวางทางในสมัยโบราณ ปักเสาสูงราว ๒ ศอก มีไม้เสาทับหลังขวางถนนเป็น ๒ แนวเยื้องไม่ตรงกัน ปลายต่อปลายเกินกันทั้ง ๒ ข้าง เช่น ตั้งหัวถนนป่าตองตรงจวนคลัง ๑ ตั้งท้ายถนนป่าตองต่อถ้าช้างปตูไชย ๑ ค่ายผนบบ้านหล่อ ตั้งรอบพระราชวังหลวง ๑. (อธิบายแผนที่กรุงศรีอยุธยา), จังหล่อ จั้นหล่อ หรือ จำหล่อ ก็เรียก.

จำหล่อ

หมายถึงน. เครื่องกีดกั้นขวางทางในสมัยโบราณ ปักเสาสูงราว ๒ ศอก มีไม้เสาทับหลัง ขวางถนนเป็น ๒ แนวเยื้องไม่ตรงกัน ปลายต่อปลายเกินกันทั้ง ๒ ข้าง, ค่ายผนบบ้านหล่อ จั้นหล่อ หรือ จังหล่อ ก็เรียก.

ตะบอง

หมายถึงน. ไม้สำหรับถือ ใช้ตี โดยมากมีรูปกลม, ที่มีขนาดยาวประมาณ ๔ ศอก เรียกว่า ตะบองยาว ที่มีขนาดยาวประมาณ ๑ ศอก เรียกว่า ตะบองสั้น, กระบอง หรือ ตระบอง ก็ว่า.

หมากหลุม

หมายถึงน. ผลหมากที่เกิดจากการนำหมากสุกทั้งเปลือกบรรจุลงในหลุมที่ลึกประมาณ ๑ ศอก ราดน้ำพอชุ่มแล้วปิดคลุมปากหลุมให้มิดชิด ทิ้งไว้จนเปลือกเน่า เพื่อเก็บไว้กินแรมปี

หุ่นใหญ่

หมายถึงน. หุ่นชนิดทำจำลองย่อส่วนตัวละครขนาดสูงประมาณ ๒ ศอก ตัวหนึ่งใช้คนเชิด ๓ คน ใช้แสดงละครเล็ก.

มวยไทย

หมายถึงน. กีฬาชกมวยบนเวทีที่มีกติกายอมให้คู่ชกใช้เท้า ศอก และเข่าได้.

มีดหัวเสียม

หมายถึงน. มีดขนาดกลาง ใบมีดปลายแบนป้าน โคนแคบ ยาวประมาณ ๑ ศอก ด้ามทำด้วยไม้ยาว ๑ คืบ ใช้ถากหญ้าหรือขุดดินแทนเสียมได้, มีดเสียม หรือ พร้าเสียม ก็เรียก.

กำแพงเขย่ง

หมายถึง[-ขะเหฺย่ง] น. ชื่อพระพิมพ์ปางลีลา ยกพระบาทข้างหนึ่งคล้ายเขย่ง เพราะขุดพบที่จังหวัดกำแพงเพชรเป็นแห่งแรก จึงเรียกว่า พระกำแพงเขย่ง, ถ้ามีขนาดสูงประมาณ ๑ ศอก เรียกว่า พระกำแพงศอก.

จังหล่อ

หมายถึงน. เครื่องกีดกั้นขวางทางในสมัยโบราณ ปักเสาสูงราว ๒ ศอก มีไม้เสาทับหลัง ขวางถนนเป็น ๒ แนวเยื้องไม่ตรงกัน ปลายต่อปลายเกินกันทั้ง ๒ ข้าง, ค่ายผนบบ้านหล่อ จั้นหล่อ หรือ จำหล่อ ก็เรียก. (ลำดับสกุลเก่า; ลัทธิ). (จ. จั้ง ว่า กีด, ขวาง; โหล่ว ว่า ถนน).

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ