ค้นเจอ 64 รายการ

วิหารหลวง

หมายถึงน. วิหารที่ด้านท้ายเชื่อมติดกับพระสถูปเจดีย์หรือพระปรางค์ เช่น วิหารหลวงวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ ตำบลเชลียง อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย.

ว่าขาน

หมายถึงก. พูดต่อว่า, พูดติ, เช่น พระมิได้ตอบคำว่าขาน ตรัสแต่กิจการกรุงศรี แต่ดูพระกิริยาพาที เหมือนจะเคลื่อนคลายที่โกรธา ฯ (อิเหนา).

อัปราชัย

หมายถึง[อับปะราไช] น. ความไม่แพ้, ความชนะ, คู่กับ ปราชัย คือ ความแพ้; (กลอน) บางทีใช้หมายความว่า แพ้ เช่น คบคนดีเป็นศรีแก่ตัว คบคนชั่วอัปราชัย; อปราชัย ก็ว่า. (ป., ส.).

ศักติ

หมายถึงน. ชื่อนิกายใหญ่นิกายหนึ่งใน ๓ นิกายของศาสนาฮินดู (คือ นิกายไวษณพ ไศวะ และศักติ) บูชาเทวีซึ่งโดยมากหมายเอาพระทุรคาผู้เป็นศักติ เป็นศรี หรือเป็นชายาของพระศิวะ.

เรือพระที่นั่งกราบ

หมายถึงน. เรือหลวงที่จัดเป็นพระราชพาหนะเสด็จไปอย่างลำลอง เป็นเรือขุดเสริมกราบขนาดใหญ่ สะดวกแก่การประทับทรงสำราญพระอิริยาบถไปทางไกล ๆ เช่น เรือศรีเมือง เรือเฟื่องฟ้า เรือทิพากร.

โพ

หมายถึงน. ชื่อไม้ต้นชนิด Ficus religiosa L. ในวงศ์ Moraceae เป็นต้น ไม้ซึ่งเป็นที่ตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า ใบรูปหัวใจ ปลายยาวคล้ายหาง ผลกินได้ ใบอ่อนและผลใช้ทำยาได้, โพศรีมหาโพธิ ก็เรียก.

จ่อม

หมายถึงก. หย่อนลง, วางลง, เช่น เอาเบ็ดไปจ่อม จ่อมก้นไม่ลง, จุ่มลง, จม, เช่น ปวงเทพเจ้าตกจม จ่อมม้วย. (โคลงตำนานศรีปราชญ์), จอด เช่น ใจจ่อมเจ้า; ฟุบ, หมอบ, (ใช้แก่สัตว์ เช่น โค กระบือ).

คำพ้องเสียง

หมายถึงคำที่ออกเสียงเหมือนกันแต่เขียนต่างกันและมีความหมายต่างกัน เช่น ใส-ไส-ไสย กาน-กาล-การ-การณ์ (โบ) ในหนังสือแบบเรียนภาษาไทยของพระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร) เรียกคำพ้องเสียงว่า ไวพจน์

เรือพระที่นั่งกิ่ง

หมายถึงน. เรือหลวงแบบโบราณสำหรับเป็นลำทรงของพระมหากษัตริย์ เสด็จในกระบวนพยุหยาตราทางชลมารค เช่น เรือพระที่นั่งกิ่งสุพรรณหงส์ เรือพระที่นั่งกิ่งศรีสมรรถไชย เรือพระที่นั่งกิ่งไกรสรมุข.

ไวพจน์

หมายถึง(โบ) ในหนังสือแบบเรียนภาษาไทย ของพระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร) หมายถึง คำที่ออกเสียงเหมือนกันแต่เขียนต่างกันและมีความหมายต่างกัน เช่น ใสกับไส โจทก์กับโจทย์ พานกับพาล ที่ในปัจจุบันเรียกว่า คำพ้องเสียง

ภรรดร,ภรรดา

หมายถึง[พันดอน, พันดา] น. ผัว เช่น ปัญหามีแต่จักหา ภรรดาสมศักดิ์สมศรี หาได้ใช่ง่ายชายดี สมกับเทวีลูกเรา. (กนกนคร), ใช้ว่า ภัสดา ก็ได้, โบราณใช้ว่า ภรัสดาษ ก็มี. (ส. ภรฺตฺฤ; ป. ภตฺตา).

สม

หมายถึงว. เหมาะ, เหมาะกับ, ควรแก่, เช่น บ่าวสาวคู่นี้สมกัน เขาแต่งตัวสมฐานะ แสดงละครได้สมบทบาท เขาต่อสู้กันอย่างสมศักดิ์ศรี เด็กคนนี้แต่งตัวไม่สมวัย, รับกัน เช่น หัวแหวนสมกับเรือนแหวน; ตรงกับ เช่น สมคะเน สมปรารถนา สมความตั้งใจ. (ปาก) สมน้ำหน้า เช่น สมแล้วที่สอบตก เพราะขี้เกียจนัก.

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ