ค้นเจอ 75 รายการ

กระจกเงา

หมายถึงน. แผ่นกระจกฉาบด้านหลังด้วยแผ่นบาง ๆ ของโลหะเงินหรือโลหะเจือปรอทแล้วทาสีทับ ใช้สำหรับส่องหน้าเป็นต้น, มักเรียกสั้น ๆ ว่า กระจก, ลักษณนามว่า บาน, ราชาศัพท์ว่า พระฉาย; (วิทยา) วัตถุที่มีผิวมันสามารถส่งภาพหรือแสงสะท้อนกลับได้.

กำมะถัน

หมายถึงน. ธาตุสีเหลือง ติดไฟง่าย กลิ่นเหม็นฉุน ใช้ทำยา ทำดินปืน ฯลฯ, สุพรรณถัน ก็ว่า; (วิทยา) ธาตุลำดับที่ ๑๖ สัญลักษณ์ S เป็นอโลหะ ลักษณะเป็นของแข็ง มีอัญรูปหลายแบบ ใช้ประโยชน์ได้มากมาย เช่น ในอุตสาหกรรมทำกรดซัลฟิวริก อุตสาหกรรมยาง ทำหัวไม้ขีดไฟ ดินปืน ดอกไม้เพลิง และยารักษาโรค, ยาประเภทซัลฟาและประเภทเพนิซิลลินก็มีธาตุกำมะถันเป็นองค์ประกอบด้วย. (อ. sulphur).

ของแข็ง

หมายถึงน. สิ่งที่รวมตัวกันแน่น, สิ่งที่มิใช่ของเหลวหรือแก๊ส; (วิทยา) สถานะหนึ่งของสสารซึ่งมีทั้งรูปร่างและปริมาตรคงตัว.

ของเหลว

หมายถึงน. ของที่ไม่แข็งมีลักษณะไหลได้อย่างนํ้า; (วิทยา) สถานะหนึ่งของสสารซึ่งมีปริมาตรคงตัว แต่รูปร่างเปลี่ยนไปได้ตามภาชนะที่รองรับ, สถานะระหว่างแก๊สกับของแข็ง.

ซูโครส

หมายถึง[-โคฺร้ด] (วิทยา) น. นํ้าตาลชนิดหนึ่งประเภทไดแซ็กคาไรด์ ลักษณะเป็นของแข็งสีขาว หลอมละลายที่ ๑๘๐ °ซ. องค์ประกอบเป็นโมเลกุลของกลูโคสเชื่อมกับโมเลกุลของฟรักโทส มีรสหวานจัด มักทำจากต้นอ้อย, สามัญเรียกว่า นํ้าตาลทราย. (อ. sucrose).

ด่างทับทิม

หมายถึงน. ของสิ่งหนึ่งเป็นเกล็ด สีม่วงแก่ เมื่อละลายนํ้าจะออกเป็นสีทับทิม; (วิทยา) เกลือปรกติชนิดหนึ่ง ชื่อโพแทสเซียมเพอร์แมงกาเนต มีสูตร KMnO4 เป็นของแข็ง ลักษณะเป็นผลึกสีม่วงแก่ ใช้ประโยชน์เป็นสารฆ่าเชื้อโรค ใช้ทำยาดับกลิ่น.

วิทยา

หมายถึง[วิดทะยา] น. ความรู้, มักใช้ประกอบกับคำอื่น เช่น วิทยากร วิทยาคาร จิตวิทยา สังคมวิทยา. (ส.).

สมบัติ

หมายถึง(วิทยา) น. ลักษณะประจำของสาร เช่น ไอโอดีน มีสมบัติเป็นอโลหะ ลักษณะเป็นของแข็ง สีเทาดำเป็นเงาวาว หลอมละลายที่ ๑๑๔ °ซ. เมื่อระเหิดให้ไอสีม่วง.

พลังงาน

หมายถึง(วิทยา) น. ความสามารถซึ่งมีอยู่ในตัวของสิ่งที่อาจให้แรงงานได้. (อ. energy).

พิทยาคม

หมายถึงน. การเล่าเรียนวิชา, เวทมนตร์. (ส. วิทฺยา + อาคม).

ยืดหยุ่น

หมายถึง(วิทยา) ว. ลักษณะที่วัตถุสามารถกลับคืนสู่รูปทรงเดิมได้หลังจากแรงที่มากระทำต่อวัตถุนั้นหยุดกระทำ; โดยปริยายหมายความว่า รู้จักผ่อนสั้นผ่อนยาว, ไม่ตายตัว, อะลุ่มอล่วย, เปลี่ยนแปลงได้.

ละลาย

หมายถึงก. อาการที่ของแข็งเปลี่ยนสภาพเป็นของเหลวด้วยความร้อน เช่น นํ้าแข็งละลาย; คลายตัวหรือทำให้คลายตัวซึมซาบสลายไปในนํ้าหรือของเหลว เช่น ยาละลาย เกลือละลายในนํ้า ละลายยาหอม ละลายนํ้าตาลในนํ้ากะทิ, โดยปริยายหมายความว่า หายไป, หมดไป, เช่น พอเห็นนํ้าตา ความโกรธแค้นก็ละลายหายไป เอาเงินไปละลายในวงไพ่หมด; (วิทยา) อาการที่สารอย่างหนึ่งแผ่กระจายในสารอีกอย่างหนึ่งอย่างสมํ่าเสมอโดยไม่มีปฏิกิริยาเคมีต่อกัน เช่น คาร์บอนละลายในเหล็ก แอลกอฮอล์ละลายในนํ้า แก๊สออกซิเจนละลายในแก๊สไนโตรเจน ผลที่ได้เรียกว่า สารละลาย.

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ