ค้นเจอ 36 รายการ

สัมภเวสี

หมายถึง[สำพะ-] น. ผู้แสวงหาที่เกิด ในคติของศาสนาพราหมณ์หมายถึงคนที่ตายแล้ววิญญาณกำลังแสวงหาที่เกิด แต่ยังไม่ได้เกิดในกำเนิดใดกำเนิดหนึ่ง, ผู้ต้องเกิด, สัตว์โลก. (ป.; ส. สมฺภเวษินฺ).

นิรมาณกาย

หมายถึง[-ระมานนะกาย] น. กายที่ประกอบด้วยขันธ์ ๕ ของพระพุทธเจ้า ซึ่งมีอันเปลี่ยนแปลงไปเหมือนสิ่งที่ประกอบด้วยขันธ์ ๕ อื่น ๆ, ตามคติมหายานเชื่อว่า เป็นรูปปรากฏของพระวิญญาณบริสุทธิ์ของพระพุทธเจ้า คือ ธรรมกาย.

ธรรมกาย

หมายถึงน. กายคือธรรม ได้แก่ พระมหากรุณาธิคุณ พระปัญญาธิคุณ และพระบริสุทธิคุณ; พระนามหนึ่งของพระพุทธเจ้า ตามคติมหายานเชื่อว่า ได้แก่พระวิญญาณบริสุทธิ์ของพระพุทธเจ้า. (ส.; ป. ธมฺมกาย).

ชิงเปรต

หมายถึง(ถิ่น-ปักษ์ใต้) ก. แย่งเครื่องเซ่นสรวงวิญญาณบรรพบุรุษหรือผู้ที่ตายไปแล้ว ซึ่งเรียกว่า “เปรต” ในงานทำบุญวันสารท เมื่อเสร็จพิธีเซ่นแล้ว ถือว่าสิ่งเหล่านั้นเป็นมงคล. น. เรียกงานพิธีทำบุญวันสารทว่า พิธีชิงเปรต.

สวิญญาณกทรัพย์

หมายถึง[สะวินยานะกะซับ, สะวินยานนะกะซับ] (กฎ; โบ) น. สิ่งที่มีวิญญาณหรือชีวิตซึ่งนับเป็นทรัพย์ เช่น ทาส ช้าง ม้า วัว ควาย, ตรงข้ามกับ อวิญญาณกทรัพย์, วิญญาณกทรัพย์ ก็ว่า.

ดับ

หมายถึงก. สูญสิ้นไป เช่น วิญญาณดับ อนาคตดับ, สิ้นแสง เช่น ไฟดับ เดือนดับ, ทำให้สิ้นแสง เช่น ดับไฟ, ทำให้สิ้น เช่น ดับกิเลส ดับทุกข์, ทำให้ระงับ เช่น ดับโทสะ ดับโมโห, หยุดหรือทำให้หยุด เช่น เครื่องดับ ดับเครื่อง; เรียกวันสิ้นเดือนตามจันทรคติว่า วันดับ.

อรูปฌาน

หมายถึง[อะรูบปะชาน] น. ฌานมีอรูปธรรมเป็นอารมณ์ มี ๔ คือ ๑. อากาสานัญจายตนะ (กำหนดที่ว่างหาที่สุดมิได้เป็นอารมณ์) ๒. วิญญาณัญจายตนะ (กำหนดวิญญาณหาที่สุดมิได้เป็นอารมณ์) ๓. อากิญจัญญายตนะ (กำหนดภาวะที่ไม่มีอะไร ๆ เป็นอารมณ์) ๔. เนวสัญญานาสัญญายตนะ (ภาวะมีสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่).

สมิง

หมายถึง[สะหฺมิง] น. เสือที่เชื่อว่าเดิมเป็นคนที่มีวิชาอาคมแก่กล้าแล้วต่อมาสามารถจำแลงร่างเป็นเสือได้ หรือเสือที่กินคนมาก ๆ เข้า เชื่อกันว่าวิญญาณคนตายเข้าสิง ต่อมาสามารถจำแลงร่างเป็นคนได้ เรียกว่า เสือสมิง; ตำแหน่งขุนนางผู้ใหญ่ฝ่ายมอญ. (ต. สมิง ว่า พระเจ้าแผ่นดิน, เจ้าเมือง, ผู้ปกครอง).

ธาตุ,ธาตุ,ธาตุ-

หมายถึง[ทาด, ทาตุ-, ทาดตุ-] น. สิ่งที่ถือว่าเป็นส่วนสำคัญที่คุมกันเป็นร่างของสิ่งทั้งหลาย โดยทั่ว ๆ ไปเชื่อว่ามี ๔ ธาตุ ได้แก่ ธาตุดิน ธาตุนํ้า ธาตุไฟ ธาตุลม แต่ก็อาจมีธาตุอื่น ๆ อีก เช่น อากาศธาตุ วิญญาณธาตุ ธาตุไม้ ธาตุทอง ธาตุเหล็ก. (ป.).

เจตภูต

หมายถึง[เจดตะพูด] น. สภาพเป็นผู้คิดอ่าน คือ มนัส, ที่เรียกในภาษาสันสกฤตว่า “อาตมัน” เรียกในภาษาบาลีว่า “อัตตา” ก็มี “ชีโว” ก็มี, มีอยู่ในลัทธิว่า “ในโลกนี้ไม่มีอะไรสูญ แม้คนและสัตว์ตายแล้ว ร่างกายเท่านั้นทรุดโทรมไป ส่วนเจตภูตเป็นธรรมชาติไม่สูญ ย่อมถือปฏิสนธิในกำเนิดอื่นสืบไป”, ลัทธินี้ทางพระพุทธศาสนาจัดเป็นสัสตทิฐิ แปลว่า ความเห็นว่าเที่ยง, ตามสามัญที่เข้าใจกัน เจตภูต คือวิญญาณที่สิงอยู่ในตัวคน กล่าวกันว่าออกจากร่างได้ในเวลานอนหลับ.

อากาศ-

หมายถึง[อากาดสะ-] น. แก๊สผสมที่ประกอบด้วยไนโตรเจนและออกซิเจนเป็นส่วนใหญ่ ใช้หายใจหรือช่วยในการเผาไหม้เป็นต้น; (ปรัชญา) ที่ที่ว่างเปล่าซึ่งมีอยู่เป็นเอกเทศจากสสาร, เป็นธาตุอย่าง ๑ ใน ๖ คือ ปฐวีธาตุ (ธาตุดิน) อาโปธาตุ (ธาตุนํ้า) เตโชธาตุ (ธาตุไฟ) วาโยธาตุ (ธาตุลม) อากาศธาตุ (ที่ว่างเปล่า) และวิญญาณธาตุ (ธาตุรู้); ท้องฟ้า เช่น นกบินไปในอากาศ; บางทีใช้หมายถึงสภาพดินฟ้าอากาศโดยทั่ว ๆ ไป เช่น เช้านี้อากาศดีจัง. (ส.; ป. อากาส).

อากาศ

หมายถึง[อากาด] น. แก๊สผสมที่ประกอบด้วยไนโตรเจนและออกซิเจนเป็นส่วนใหญ่ ใช้หายใจหรือช่วยในการเผาไหม้เป็นต้น; (ปรัชญา) ที่ที่ว่างเปล่าซึ่งมีอยู่เป็นเอกเทศจากสสาร, เป็นธาตุอย่าง ๑ ใน ๖ คือ ปฐวีธาตุ (ธาตุดิน) อาโปธาตุ (ธาตุนํ้า) เตโชธาตุ (ธาตุไฟ) วาโยธาตุ (ธาตุลม) อากาศธาตุ (ที่ว่างเปล่า) และวิญญาณธาตุ (ธาตุรู้); ท้องฟ้า เช่น นกบินไปในอากาศ; บางทีใช้หมายถึงสภาพดินฟ้าอากาศโดยทั่ว ๆ ไป เช่น เช้านี้อากาศดีจัง. (ส.; ป. อากาส).

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ