ค้นเจอ 117 รายการ

พระสนมเอก

หมายถึงน. เจ้าจอมมารดาที่ได้รับพระราชทานพานทองเพิ่มจากหีบหมากทองคำลงยาราชาวดี ในสมัยโบราณมี ๔ ตำแหน่ง คือ ท้าวอินสุเรนทร์ ท้าวศรีสุดาจันทร์ ท้าวอินทรเทวี และท้าวศรีจุฬาลักษณ์.

พุธ

หมายถึงน. ชื่อดาวเคราะห์ที่อยู่ใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุดในระบบสุริยะ มองเห็นด้วยตาเปล่า อยู่ห่างดวงอาทิตย์ประมาณ ๕๘ ล้านกิโลเมตร มีเส้นผ่าศูนย์กลาง ๔,๘๗๕ กิโลเมตร เป็นดาวเคราะห์ที่ไม่มีบรรยากาศและมีพื้นผิวคล้ายดวงจันทร์ของโลก; ชื่อวันที่ ๔ แห่งสัปดาห์.

ผาลคุน

หมายถึง[ผานละคุน] น. เดือนซึ่งพระจันทร์เพ็ญเสวยนักษัตรผลคุนี คือ เดือน ๔ ตกในราวเดือนมีนาคม. ว. ซึ่งเกี่ยวกับนักษัตรผลคุนี, ซึ่งเกิดในนักษัตรผลคุนี. (ส. ผาลฺคุน; ป. ผคฺคุณ).

เดือนจันทรคติ

หมายถึง[-จันทฺระคะติ] น. การนับเดือนโดยถือเอาดวงจันทร์เดินรอบโลกเป็นเกณฑ์ โดยนับจากวันเดือนดับไปถึงวันเดือนดับที่ถัดไป มีระยะเวลาประมาณ ๒๙ วัน ๑๒ ชั่วโมง ๔๔ นาที แบ่งเป็น ข้างขึ้น ข้างแรม.

วันมาฆบูชา

หมายถึงน. วันเพ็ญเดือน ๓ เป็นวันทำบุญพิเศษทางพระพุทธศาสนาเพื่อระลึกถึงความสำคัญ ๔ ประการ คือ ๑. วันเพ็ญดวงจันทร์เสวยมาฆฤกษ์ (ดวงจันทร์เดินมาถึงดาวฤกษ์ชื่อ มฆะ ส่วนในปีที่มีอธิกมาสจะตรงกับวันเพ็ญเดือน ๔) ๒. พระสงฆ์ ๑,๒๕๐ รูปมาประชุมกันโดยมิได้นัดหมาย ๓. พระสงฆ์ที่มาประชุมกันในวันนั้นล้วนเป็นผู้ที่พระพุทธเจ้าทรงบวชให้ด้วยพระองค์เอง ซึ่งเรียกการบวชแบบนี้ว่า เอหิภิกขุอุปสัมปทา ๔. พระสงฆ์เหล่านั้นล้วนเป็นพระอรหันต์ทั้งสิ้น, วันจาตุรงคสันนิบาต ก็เรียก.

มณฑล

หมายถึง[มนทน] น. วง เช่น สุริยมณฑล คือ วงรอบดวงอาทิตย์ จันทรมณฑล คือ วงรอบดวงจันทร์, บริเวณ เช่น มณฑลพิธี, เขตปกครองที่แบ่งออกเป็นส่วนใหญ่ ๆ; พระแท่นที่วงด้ายสายสิญจน์ เรียกว่า พระแท่นมณฑล. (ป., ส.).

สนมเอก

หมายถึงน. เจ้าจอมมารดาที่ได้รับพระราชทานพานทองเพิ่มจากหีบหมากทองคำลงยาราชาวดี เรียกว่า พระสนมเอก ในสมัยโบราณมี ๔ ตำแหน่ง คือ ท้าวอินสุเรนทร์ ท้าวศรีสุดาจันทร์ ท้าวอินทรเทวี และท้าวศรีจุฬาลักษณ์.

นักขัตฤกษ์

หมายถึงน. ฤกษ์ที่ขึ้นกับการโคจรของดวงจันทร์ว่าผ่านดาวนักษัตรหมู่ใดหมู่หนึ่งใน ๒๗ หมู่ รวมถึงฤกษ์ที่ขึ้นกับการโคจรของดวงดาวในสุริยจักรวาลว่าผ่านดาวนักษัตรหมู่ใดหมู่หนึ่งใน ๒๗ หมู่, เรียกงานที่จัดขึ้นตามนักขัตฤกษ์ว่า งานนักขัตฤกษ์, เรียกวันที่มีงานนักขัตฤกษ์ว่า วันนักขัตฤกษ์.

แรม

หมายถึงน. ส่วนของเดือนจันทรคติที่พระจันทร์เริ่มมืดจนถึงมืด คือ ตั้งแต่แรมค่ำหนึ่งไปถึงแรม ๑๔ ค่ำในเดือนขาด หรือถึงแรม ๑๕ ค่ำในเดือนเต็ม เรียกว่า ข้างแรม; ช่วงระยะเวลานานนับเดือนนับปี ในคำว่า แรมเดือน แรมปี. ก. ค้างคืน เช่น พักแรม.

คล้อย

หมายถึง[คฺล้อย] ว. เพิ่งพ้นจากที่กำหนดไป เช่น เขาเพิ่งเดินคล้อยไปเมื่อสักครู่นี้. ก. บ่าย, ชาย, เรียกอาการที่ดวงตะวันเลยเที่ยงไปแล้วว่า ตะวันคล้อย, เรียกอาการที่ดวงจันทร์เลยเที่ยงคืนไปแล้วว่า เดือนคล้อย; หย่อนลง, ลดต่ำ, เรียกนมที่หย่อนลงเล็กน้อยว่า นมคล้อย.

มัว,มัว ๆ

หมายถึงว. ไม่แจ่ม เช่น พระจันทร์มัว, ไม่กระจ่าง เช่น ข้อความมัว, ฝ้า เช่น กระจกมัว, ฟาง เช่น นัยน์ตามัว, ขมุกขมัว เช่น มืดมัว, ไม่มืดไม่สว่าง เช่น แสงมัว ๆ, หม่น เช่น สีมัว ๆ, ขุ่น, ไม่ผ่อง, เช่น ใจมัว; อาการที่ทำติดพันอยู่ ไม่ละไปได้ เช่น มัวพูด มัวคิด, มัวแต่ ก็ว่า.

อัฐเคราะห์

หมายถึง(โหร) น. เรียกดาวเฉพาะ ๘ ดวง คือ อาทิตย์ (ประจำทิศอีสาน ใช้เลข ๑ แทน) จันทร์ (ประจำทิศบูรพา ใช้เลข ๒ แทน) อังคาร (ประจำทิศอาคเนย์ใช้เลข ๓ แทน) พุธ (ประจำทิศทักษิณ ใช้เลข ๔ แทน) เสาร์ (ประจำทิศหรดี ใช้เลข ๗ แทน) พฤหัสบดี (ประจำทิศประจิม ใช้เลข ๕ แทน) ราหู (ประจำทิศพายัพ ใช้เลข ๘ แทน) และศุกร์ (ประจำทิศอุดร ใช้เลข ๖ แทน) เขียนเป็นแผนภูมิดังนี้ ว่า ทักษา, ถ้าเกิดวันใด ก็ถือวันนั้นเป็นบริวาร แล้วนับเวียนขวาไปตามทิศทั้ง ๘ เช่น เกิดวันอาทิตย์ อาทิตย์เป็นบริวาร จันทร์เป็นอายุ อังคารเป็นเดช พุธเป็นศรี เสาร์เป็นมูละ พฤหัสบดีเป็นอุตสาหะ ราหูเป็นมนตรี และศุกร์เป็นกาลกรรณี.

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ