ค้นเจอ 192 รายการ

คับ

หมายถึงว. มีขนาดไม่พอดีกัน ทำให้แน่น ตึง หรือ ฝืด สวมหรือใส่ได้โดยยาก เช่น เสื้อคับ หมวกคับ แหวนคับ, ตรงข้ามกับ หลวม. ก. มีลักษณะหรือปริมาณเกินพอดี เช่น จระเข้คับคลอง ลิ้นคับปาก ฝูงคนคับถนน เสียงคับบ้าน ข้าวคับหม้อ.

ซาง

หมายถึงน. ชื่อโรคชนิดหนึ่ง ตามตำราแพทย์แผนโบราณว่าเป็นแก่เด็กเล็ก มีลักษณะเกิดเป็นเม็ดขึ้นในปากในคอ ลิ้นเป็นฝ้า มีอาการ เช่น ไม่กินนม ไม่กินข้าว ปวดหัวตัวร้อน มีชื่อต่าง ๆ เช่น ซางเพลิง ซางนํ้า ซางขโมย ซางโจร ซางโค.

สถูป

หมายถึง[สะถูบ] น. สิ่งก่อสร้างที่มีรูปโอคว่ำซึ่งก่อไว้สำหรับบรรจุของควรบูชามีกระดูกของพระพุทธเจ้าและพระอรหันต์เป็นต้น, บางทีใช้เข้าคู่กับคำ เจดีย์ เป็น สถูปเจดีย์ เช่น เดินเวียนเทียนรอบพระสถูปเจดีย์. (แบบ) สดูป, สตูป. (ป. ถูป; ส. สฺตูป).

มุทธชะ

หมายถึง[มุดทะ-] (ไว) น. อักษรในภาษาบาลีและสันสกฤตที่มีเสียงเกิดจากการม้วนลิ้นไปสู่เพดานแข็งตอนหลัง ได้แก่พยัญชนะวรรค ฏ คือ ฏ ฐ ฑ ฒ ณ และอักษร ร รวมทั้งอักษร ฬ ในภาษาบาลี และ ษ กับ ฤ ฤๅ ในภาษาสันสกฤต. (ป.; ส. มูรฺธนฺย).

เส้นลึก

หมายถึงว. ที่ทำให้รู้สึกขันหรือหัวเราะได้ยาก เช่น เขาเป็นคนเส้นลึก แม้จะได้ยินเรื่องขำขันอย่างไรก็ไม่หัวเราะ; อาการที่เก็บความรู้สึกได้ดีจนยากที่จะสังเกตได้ว่าพอใจหรือไม่พอใจสิ่งใด เช่น เขาจับเส้นเจ้านายไม่ถูก เพราะเป็นคนเส้นลึกมาก. น. เส้นที่อยู่ในตำแหน่งลึกของร่างกาย เช่นอยู่ชิดหรือใกล้ซอกกระดูกหรือในท้อง ทำให้กดหรือจับยาก.

สระ

หมายถึง[สะหฺระ] น. เสียงพูดที่เปล่งออกมาโดยอาศัยการเคลื่อนไหวของลิ้นและริมฝีปากเป็นสำคัญ แต่ไม่มีการสกัดกั้นจากอวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่งในปาก เช่น เสียง อะ อา โดยทั่วไปจะออกเสียงสระร่วมกับเสียงพยัญชนะ หรือออกเสียงเฉพาะเสียงสระอย่างเดียวก็ได้, เสียงสระ ก็เรียก; ตัวอักษรที่ใช้แทนเสียงสระ เช่น ะ า, รูปสระ ก็เรียก. (ป. สร; ส. สฺวร).

หมา

หมายถึงน. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมหลายชนิดหลายสกุลในวงศ์ Canidae ลำตัวมีขนปกคลุม มีเขี้ยว ๒ คู่ ตีนหน้ามี ๕ นิ้ว ตีนหลังมี ๔ นิ้ว ซ่อนเล็บไม่ได้ อวัยวะเพศของตัวผู้มีกระดูกอยู่ภายใน ๑ ชิ้น ที่ยังคงเป็นสัตว์ป่า เช่น หมาใน (Cuon alpinus) ที่เลี้ยงเป็นสัตว์บ้าน คือ ชนิด Canis familiaris.

งา

หมายถึงน. ชื่อปลานํ้ากร่อยหรือทะเลขนาดเล็กชนิด Thryssa setirostris ในวงศ์ Engraulidae กระดูกขากรรไกรบนโค้งยื่นยาวเป็นเส้นจดครีบท้องหรือครีบก้น ลำตัวยาว แบนข้าง ปากกว้าง เกล็ดที่สันท้องเป็นเหลี่ยมคมเรียงต่อกันคล้ายฟันเลื่อย พื้นลำตัวสีเงินอมเหลืองส้ม.

สายม่าน

หมายถึงน. ชื่องูขนาดเล็กในวงศ์ Colubridae ตัวเล็กเรียวยาว ส่วนมากสีนํ้าตาล เกล็ดสันหลังมักวาวคล้ายทองเหลือง ว่องไวปราดเปรียว ออกหากินเวลากลางวันตามป่าหญ้าและบนต้นไม้ มีหลายชนิดและชุกชุมทุกภาคของประเทศไทย เช่น สายม่านลิ้นแดง (Dendrelaphis pictus) สายม่านหลังทอง (D. formosus) ไม่มีพิษ.

จุก

หมายถึงน. สิ่งที่ใช้อุดปากขวด. ก. อาการที่บังเกิดแน่นอยู่ในอกหรือในท้อง เช่น กินมากจนจุก; เอาสิ่งใดสิ่งหนึ่งอุดปากขวดเป็นต้น เช่น เอาไม้ก๊อกจุกปากขวด, ค้างคาอยู่ที่ช่อง เช่น นั่งจุกประตู ลิ้นจุกปาก, ปิด ใช้ในความเช่น หางจุกตูด.

ทูกัง

หมายถึงน. ชื่อปลาทะเลชนิด Arius leiotetocephalus ในวงศ์ Ariidae ไม่มีเกล็ด มีหนวด ส่วนหน้าของครีบหลังและครีบอกมีก้านครีบเป็นเงี่ยง จัดอยู่ในพวกปลากดขนาดใหญ่ แต่แตกต่างจากปลาชนิดอื่นในสกุลเดียวกัน โดยมีกระดูกบริเวณท้ายทอยเป็นแผ่นกลมรีใหญ่กว่าชนิดอื่น ๆ ทั้งหมด อาศัยอยู่ตามชายฝั่งทะเลหรือนํ้ากร่อยโดยเฉพาะบริเวณปากแม่นํ้า, ทุกัง ก็เรียก.

ตาเหลือก

หมายถึงน. ชื่อปลาที่มีตาโตคลุมด้วยเยื่อใส เกล็ดเรียบ หลายชนิด หลายสกุล ที่เป็นปลาทะเลหรือนํ้ากร่อย ได้แก่ทุกชนิดในสกุล Ilisha วงศ์ Clupeidae ลำตัวยาวเรียว แบนข้าง ท้องเป็นสันแหลม เกล็ดที่สันท้องเป็นเหลี่ยมคมเรียงต่อกันคล้ายฟันเลื่อย, อีปุด หรือ ปุด ก็เรียก; ที่เป็นปลานํ้ากร่อยแต่อยู่ได้ในนํ้าจืดได้แก่ ตาเหลือกนํ้าจืด หรือ ข้าวเหนียวบูด (Megalops cyprinoides) ในวงศ์ Megalopidae และ ตาเหลือกยาว (Elops saurus) ในวงศ์ Elopidae, ทั้ง ๒ ชนิดนี้มีรูปร่างคล้ายกัน ปากกว้าง ที่ใต้คางระหว่างกระดูกขากรรไกรล่างมีแผ่นกระดูกแข็ง ๑ ชิ้น สำหรับชนิดแรกตัวป้อมกว่า และมีก้านครีบหลังอันสุดท้ายยื่นยาวเป็นเส้น; ส่วนที่เป็นปลานํ้าจืดได้แก่ ตามิน (Amblyrhynchichthys truncatus). (ดู ตามิน).

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ