ค้นเจอ 192 รายการ

ปลาสเตอร์

หมายถึงน. ผ้ายางปิดแผล; ผงสีขาวคล้ายปูนขาวได้จากการเผายิปซัมให้ร้อนถึง ๑๒๐ °- ๑๓๐ °ซ. เมื่อนำไปผสมกับนํ้าแล้วทิ้งไว้จะแข็งตัวได้เร็วมาก ใช้ประโยชน์ในการนำไปทำแม่พิมพ์ รูปปั้น เป็นต้น หรือพอกอวัยวะไม่ให้เคลื่อนไหวในการรักษากระดูกหัก. (อ. plaster).

ขม่อม

หมายถึง[ขะหฺม่อม] น. ส่วนของกะโหลกอยู่ตรงแนวกลางศีรษะ แต่ต่ำกว่าส่วนสูงสุดลงมาใกล้หน้าผาก ในเด็กแรกเกิดจนถึง ๒ ขวบส่วนนี้จะมีเนื้อเยื่ออ่อนปิดรอยประสานกะโหลกที่ยังเปิดอยู่ หลังจากนั้นเนื้อเยื่ออ่อนนี้จะกลายเป็นกระดูก, โดยปริยายหมายรวม ๆ ว่า หัว เช่น เป่าขม่อม ลงขม่อม, กระหม่อม ก็ว่า.

แปรรูป

หมายถึงน. วิธีเอาเถ้าถ่านและกระดูกศพที่เผาเสร็จแล้วบนกองฟอนมาเรียงลำดับเป็นอย่างรูปคน ให้หัวอยู่ทางทิศตะวันตกแล้วหันกลับมาทางทิศตะวันออก, แจงรูป หรือ แปรธาตุ ก็ว่า; เรียกไม้ซุงที่เลื่อยเปิดปีกแล้วทำเป็นแผ่นกระดานเป็นต้นว่า ไม้แปรรูป.

อุสุม

หมายถึงน. ไอ, ไออุ่น; ความร้อน; ฤดูร้อน, แผลงใช้เป็น อรสุม ก็มี เช่น อรสุมพล = กำลังไอนํ้า; ในไวยากรณ์เรียกเสียงพยัญชนะที่มีลมเสียดแทรกออกมาระหว่างลิ้นกับฟัน ว่า มีเสียงอุสุม ได้แก่เสียง ศ ษ ส. (ป.; ส. อุษฺมนฺ).

กระวิน

หมายถึงน. ห่วงที่เกี่ยวกันสำหรับโยงสัปคับช้าง, ห่วงติดกับบังเหียนเหล็กผ่าปากม้า, ประวิน ก็ใช้. (ประวัติ. จุล), เครื่องร้อยสายรัดเอวพระภิกษุ (รัดประคด) ทำด้วยกระดูกสัตว์เป็นต้น มีรูกลาง เรียกว่า ลูกกระวิน.

น้ำเงี้ยว

หมายถึง(ถิ่น-พายัพ) น. ชื่อแกงชนิดหนึ่ง ใช้หมูสับผัดกับเครื่องแกงมีหอม กระเทียม ตะไคร้ พริกแห้ง ถั่วเน่า เป็นต้น ต้มกับน้ำต้มกระดูกหมู ใส่ดอกงิ้ว มะเขือเทศ เลือดหมู น้ำแกงมีรสเค็ม เผ็ดน้อย กินกับขนมจีน.

ปูนปลาสเตอร์

หมายถึงน. แคลเซียมซัลเฟต (CaSO4·½H2O) ที่มีลักษณะเป็นผงสีขาวคล้ายปูนขาว ได้จากการเผายิปซัม (CaSO4·2H2O) ให้ร้อนถึง ๑๒๐ ° - ๑๓๐ °ซ. เมื่อนำไปผสมกับนํ้าแล้วทิ้งไว้จะแข็งตัวได้เร็วมาก ใช้ประโยชน์ในการนำไปทำแม่พิมพ์ รูปปั้น เป็นต้น หรือพอกอวัยวะไม่ให้เคลื่อนไหวในการรักษากระดูกหัก. (อ. plaster of Paris).

ตะเกียบ

หมายถึงน. เครื่องใช้สำหรับคีบอาหารทำด้วยไม้หรืองาเป็นต้นเป็นคู่ ๆ; ชื่อเสาสั้นคู่หนึ่งที่ฝังลงดินสำหรับขนาบเสากลางซึ่งอยู่เหนือพื้นดินอย่างเสาดอกไม้พุ่ม เสาหงส์ เสาโคม เสาธง ให้ตั้งตรง มีสลัก ๒ อัน เมื่อถอดสลักอันหนึ่งออกแล้วโน้มเสากลางลงมาได้; โดยปริยายใช้เรียกของที่เป็นคู่สำหรับคีบ เช่น ตะเกียบรถจักรยาน; ครีบคู่ที่อยู่ตรงอกปลา, ขาม้า ก็เรียก; เรียกขาคนที่ลีบเล็กว่า ขาตะเกียบ; ส่วนล่างของกระดูกเชิงกรานที่แตะพื้นในเวลานั่ง; กระดูกอ่อน ๒ อันที่ก้นของสัตว์ปีกมีนก เป็นต้น.

ปี่ไฉน

หมายถึง[-ฉะไหฺน] น. ชื่อปี่ชนิดหนึ่งขนาดเล็กมาก ยาวราว ๑๙ เซนติเมตร นิยมทำด้วยไม้หรืองา แบ่งออกเป็น ๒ ท่อน ถอดออกจากกันได้ ท่อนบนเรียกว่า เลาปี่ ท่อนล่างเรียกว่า ลำโพง มีลิ้นทำด้วยใบตาลผูกติดกับปลายท่อลมเล็กที่เรียกว่า กำพวด.

แข็ง

หมายถึงว. กระด้าง เช่น ลิ้นแข็ง; ไม่อ่อน, ไม่นิ่ม, เช่น เนื้อแข็ง ของแข็ง; กล้า เช่น แดดแข็ง; ไม่ยอมง่าย ๆ, ไม่รู้สึกสงสาร, เช่น ใจแข็ง; แรง เช่น วันแข็ง ชะตาแข็ง, เข้มแข็ง, ทนทาน, เก่ง, เช่น ทำงานแข็ง วิ่งแข็ง; ว่ายาก เช่น เด็กคนนี้แข็ง; นิ่งไม่ไหวติง, ไม่กระดิกกระเดี้ย, เช่น ขาแข็ง ตัวแข็ง.

ตะกวด

หมายถึงน. ชื่อสัตว์เลื้อยคลานชนิด Varanus bengalensis ในวงศ์ Varanidae ตัวสีนํ้าตาลเหลือง ปากแหลม ลิ้นยาวแยกเป็น ๒ แฉก หางยาวใช้ฟาดเพื่อต่อสู้ป้องกันตัว อาศัยตามป่าโปร่งมากกว่าป่าทึบ หากินตามพื้นดิน ขึ้นต้นไม้เก่ง พาดตัวนอนผึ่งแดดตามกิ่งไม้, แลน หรือ จะกวด ก็เรียก.

อ่อน

หมายถึงว. ไม่กระด้าง เช่น ลิ้นอ่อน; นิ่ม เช่น เนื้ออ่อน; ไม่จัด เช่น แดดอ่อน; ไม่แข็ง, ยอมง่าย ๆ, รู้สึกสงสาร, เช่น ใจอ่อน; ไม่แก่ เช่น มะพร้าวอ่อน; หย่อน เช่น อ่อนเค็ม, น้อย เช่น เหลืองอ่อน, ไม่แรง เช่น ไฟอ่อน, อายุยังน้อย เช่น ไก่อ่อน, ยังเล็กอยู่ เช่น เด็กอ่อน; ละมุนละม่อม, ดัดง่าย, เปลี่ยนแปลงง่าย.

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ