ค้นเจอ 1,287 รายการ

ทำกรรม

หมายถึงก. ทำสิ่งที่เป็นทุกข์เป็นโทษ, ทำกรรมทำเวรก็ว่า.

ปี่ไฉน

หมายถึง[-ฉะไหฺน] น. ชื่อปี่ชนิดหนึ่งขนาดเล็กมาก ยาวราว ๑๙ เซนติเมตร นิยมทำด้วยไม้หรืองา แบ่งออกเป็น ๒ ท่อน ถอดออกจากกันได้ ท่อนบนเรียกว่า เลาปี่ ท่อนล่างเรียกว่า ลำโพง มีลิ้นทำด้วยใบตาลผูกติดกับปลายท่อลมเล็กที่เรียกว่า กำพวด.

ตรีโทษ

หมายถึงน. อาการไข้ที่ลม เสมหะ เลือด ประชุมกัน ๓ อย่างให้โทษ, ไข้หนักจวนจะตาย. (ส. ตฺริ + โทษ).

โทษโพย

หมายถึง[โทดโพย] (ปาก) น. โทษ, มักใช้แยกกัน เช่น ขอโทษขอโพย ถือโทษถือโพย.

อนวัช,อนวัช-

หมายถึง[อะนะวัด, อะนะวัดชะ-] ว. ไม่มีโทษ, ไม่มีที่ติ, ไม่มีตำหนิ, เช่น อนวัชกรรม คือ กรรมที่ไม่มีโทษ. (ป. อนวชฺช).

ปี่ชวา

หมายถึง[-ชะวา] น. ชื่อปี่ชนิดหนึ่งที่ได้แบบมาจากชวา รูปร่างลักษณะทุกอย่างคล้ายปี่ไฉน แต่มีขนาดยาวกว่า.

ปี่กลาง

หมายถึงน. ปี่ชนิดหนึ่งที่ใช้ในวงปี่พาทย์ รูปร่างคล้ายปี่นอก ยาวราว ๓๗ เซนติเมตร กว้างราว ๔ เซนติเมตร.

ปี่นอก

หมายถึงน. ปี่ที่เล็กที่สุดในบรรดาปี่ ๔ ชนิดที่ใช้ในวงปี่พาทย์ คือ ปี่นอก ปี่นอกต่ำ ปี่กลาง และปี่ใน ยาวราว ๓๑ เซนติเมตร หัวท้ายกว้าง ๓.๕ เซนติเมตร.

ปี่อ้อ

หมายถึงน. ปี่ที่ลำตัวหรือเลาทำด้วยไม้รวกปล้องเดียวไม่มีข้อ ยาวราว ๒๔ เซนติเมตร ตามลำตัวนิยมใช้ไฟหรือตะกั่วร้อน ๆ ลนให้เป็นลวดลายต่าง ๆ ตอนหัวและท้ายของเลาปี่มักใช้ทองเหลืองหรือเงินเลี่ยมไว้เพื่อกันแตกและให้ดูงาม.

วรรช

หมายถึง[วัด] น. โทษ, ความผิด. (ส. วรฺช; ป. วชฺช).

ภาคทัณฑ์

หมายถึง[พากทัน] ก. ตำหนิโทษ, คาดโทษ, ลงโทษเพียงว่ากล่าว, ลงโทษข้าราชการพลเรือนโดยตำหนิโทษเป็นลายลักษณ์อักษร ซึ่งเป็นการลงโทษขั้นเบาที่สุด. (ส. วาคฺทณฺฑ = ลงโทษเพียงว่ากล่าว).

ขมา

หมายถึง[ขะมา] ก. กล่าวคำขอโทษ เช่น ไปขมาศพ. น. การยกโทษให้เมื่ออีกฝ่ายหนึ่งยอมรับผิด เช่น ขอขมา, ษมา ก็ใช้. (ป.; ส. กฺษมา).

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ