ค้นเจอ 1,287 รายการ

โทษกรณ์

หมายถึง[โทดสะกอน] (กลอน) น. โทษ, อาชญา, เช่น รู้สึกซึ่งโทษกรณ์ ตนผิด. (นิทราชาคริต).

น้ำเย็นปลาตาย

หมายถึง(สำ) น. คำพูดที่ไพเราะอ่อนหวานทำให้ตายใจ อาจเป็นโทษเป็นภัยได้, มักพูดเข้าคู่กับ นํ้าร้อนปลาเป็น.

เครือวัลย์พันไม้

หมายถึงน. ท่ารำละครชนิดหนึ่ง.

ปรับ

หมายถึง[ปฺรับ] ก. เปรียบ, เทียบ; ทำให้อยู่ในสภาพที่เหมาะหรือดีขึ้น, ทำให้เรียบ, ทำให้เสมอ; ลงโทษให้ใช้เงินเพราะทำผิด, ลงโทษให้เป็นแพ้; (กฎ) น. โทษทางอาญาสถานหนึ่ง ซึ่งผู้ต้องโทษต้องชำระเงินตามจำนวนที่กำหนดไว้ในคำพิพากษาต่อศาล หรือตามที่เจ้าพนักงานเปรียบเทียบ เรียกว่า โทษปรับ.

ดี

หมายถึงน. อวัยวะภายในของคนและสัตว์ที่บรรจุนํ้าข้นสีเขียว มีรสขม ซึ่งออกจากตับ สำหรับช่วยย่อยอาหาร, เรียกนํ้าข้นสีเขียว มีรสขม ออกจากตับ สำหรับช่วยย่อยอาหาร ว่า นํ้าดี.

ดี

หมายถึงว. มีลักษณะที่เป็นไปในทางที่ต้องการ น่าปรารถนา น่าพอใจ ใช้ในความหมายที่ตรงข้ามกับลักษณะบางอย่างแล้วแต่กรณี คือ ตรงข้ามกับชั่ว เช่น คนดี ความดี, ตรงข้ามกับร้าย เช่น โชคดี เคราะห์ดี; สวย, งาม, เช่น หน้าตาดี, เรียบร้อย เช่น มรรยาทดี, เพราะ เช่น เสียงดี, จัด เช่น แดดดี, เก่ง เช่น ดีแต่พูด, ชอบ เช่น ดีแล้ว, อยู่ในสภาพปรกติ เช่น สุขภาพดี คืนดี.

ระเบง

หมายถึงก. ตี เช่น ระเบงฆ้องกลอง.

อกุศลกรรม

หมายถึง[อะกุสนละกำ] น. ความชั่วร้าย, โทษ, บาป. (ส. อกุศล + กรฺมนฺ; ป. อกุสลกมฺม).

รับบาป

หมายถึงก. รับเคราะห์กรรมแทนผู้อื่นที่ทำกรรมนั้น, รับความผิดหรือโทษทัณฑ์แทนผู้ที่ทำความผิด.

ครหา

หมายถึง[คะระหา, คอระหา] ก. ติเตียน, ติโทษ. (ป., ส. คฺรหา).

ยุให้รำตำให้รั่ว

หมายถึง(สำ) ก. ยุให้แตกกัน, ยุให้ผิดใจกัน.

เลา

หมายถึงลักษณนามเรียกเครื่องเป่าที่มีลักษณะยาวตรงและกลมอย่างปี่ ขลุ่ย เช่น ปี่เลาหนึ่ง ขลุ่ย ๒ เลา.

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ