ค้นเจอ 124 รายการ

ฟุบ

หมายถึงก. หมอบลง, ยอบลง, เช่น ฟุบตัวลงกราบ เป็นลมฟุบไป, ยุบลงอย่างจมูกยุบ; ลักษณะที่ปริมาณเงินหมุนเวียนในประเทศมีน้อย ทำให้สินค้าราคาตก เรียกว่า เงินฟุบ, ตรงข้ามกับ เงินเฟ้อ.

เสมอ

หมายถึง[สะเหฺมอ] ว. เท่ากัน, พอ ๆ กัน, เหมือนกัน, เช่น กรรมการตัดสินให้เสมอกัน ไม่มีใครแพ้ใครชนะ; เพียง, แค่, เช่น ราคาของ ๔๐,๐๐๐ บาท เห็นจะซื้อไม่ไหว เสมอสัก ๓๐,๐๐๐ บาท ก็พอจะสู้ได้.

กุย

หมายถึงน. ชื่อสัตว์เคี้ยวเอื้องชนิด Saiga tatarica ในวงศ์ Bovidae มีถิ่นกำเนิดในแถบไซบีเรียตอนใต้ มองโกเลียตะวันตก และจีนตะวันตกเฉียงเหนือ เขามีราคาแพง ใช้ทำยาได้.

ปล่อย

หมายถึง[ปฺล่อย] ก. ทำให้ออกจากสิ่งที่ติดอยู่ ผูกอยู่ หรือข้องอยู่ เป็นต้น เช่น ปล่อยนักโทษ ปล่อยนก; ยอมให้ เช่น ปล่อยให้เข้ามา; ละเลย เช่น ปล่อยให้บ้านรกรุงรัง ปล่อยให้นํ้าล้น; (ปาก) โดยปริยายหมายถึง ขาย เช่น ที่ที่ซื้อไว้ปล่อยไปแล้วราคา ๕ ล้านบาท.

ทองคำ

หมายถึงน. ธาตุลำดับที่ ๗๙ สัญลักษณ์ Au เป็นโลหะ ลักษณะเป็นของแข็งสีเหลือง หลอมละลายที่ ๑๐๖๓ °ซ. เนื้ออ่อนมาก บุให้เป็นแผ่นจนมีความหนาน้อยกว่า ๐.๐๐๐๑ มิลลิเมตรได้ ใช้ทำรูปพรรณต่าง ๆ และทำเงินตรา ปัจจุบันกำหนดความบริสุทธิ์ของทองคำด้วยหน่วยกะรัต โดยกำหนดว่า ทองคำ ๒๔ กะรัตเป็นทองคำบริสุทธิ์ที่สุด, โบราณกำหนดคุณภาพของเนื้อ ตั้งแต่เนื้อสี่ถึงเนื้อเก้า โดยตั้งพิกัดราคาตามเนื้อทอง เช่น ทองเนื้อหก คือ ทองหนัก ๑ บาท ราคา ๖ บาท ทองเนื้อเก้า คือ ทองหนัก ๑ บาท ราคา ๙ บาท. (ประกาศ ร. ๔), ทองเนื้อเก้านี้เป็นทองแท้เป็นทองบริสุทธิ์ เรียกว่า ทองธรรมชาติ ทองเนื้อแท้ ทองนพคุณ หรือบางทีเรียกว่า ทองชมพูนุท เช่นว่า ดังทองชมพูนุทเนื้อเก้า. (สังข์ทอง ตอนตีคลี). (อ. gold).

เนื้อ

หมายถึงน. ส่วนของร่างกายคนและสัตว์อยู่ถัดหนังเข้าไป; เนื้อวัวหรือเนื้อควายที่ใช้เป็นอาหาร เช่น แกงเนื้อ; สิ่งที่เป็นลักษณะประจำตัวของสิ่งต่าง ๆ เช่น เนื้อไม้ เนื้อเงิน เนื้อทอง; ส่วนที่อยู่ถัดเปลือกของผลไม้ต่าง ๆ เช่น เนื้อมะม่วง เนื้อทุเรียน; สิ่งที่ประกอบกันเป็นตัวอาหาร, คู่กับ นํ้า เช่น แกงมีแต่นํ้าไม่มีเนื้อ เอาแต่เนื้อ ๆ; สาระสำคัญ เช่น เนื้อเรื่อง; คุณสมบัติของเนื้อทองคำและเงินเป็นต้น เช่น ทองเนื้อเก้า เงินเนื้อบริสุทธิ์; (โบ) ราคาทองคำเป็นเงินบาทตามคุณภาพของเนื้อทอง เช่น ทองคำหนัก ๑ บาท เป็นราคาเงิน ๘ บาท เรียกว่า ทองเนื้อแปด, ถ้าเป็นราคาเงิน ๙ บาท เรียกว่า ทองเนื้อเก้า หรือ ทองนพคุณเก้าน้ำ; โดยปริยายหมายความว่า ทุนเดิม, เงิน, ทรัพย์, เช่น เข้าเนื้อ ชักเนื้อควักเนื้อตัวเอง.

ราว,ราว,ราว ๆ

หมายถึงว. เรียกสิ่งต่าง ๆ ที่ห้อยเรียงรายเป็นแถวเป็นแนวไปตามราว เช่น เบ็ดราว ธงราว ไฟราว; ในระดับใกล้เคียง, ประมาณ, เช่น สูงแค่ราวนม เวลาราว ๆ เที่ยง ราคาราว ๆ นั้นแหละ.

ตอดเล็ก ตอดน้อย

หมายถึงก. ค่อย ๆ หาผลประโยชน์ทีละเล็กละน้อย เช่น ผู้ผลิตขึ้นราคาสินค้าทีละนิดหน่อย เป็นต้น เหมือนปลาที่กินเหยื่อบนเบ็ด ค่อย ๆ ตอด ค่อย ๆ เล็ม ได้ประโยชน์โดยไม่เจ็บตัว

ยุติธรรม

หมายถึงน. ความเที่ยงธรรม, ความชอบธรรม, ความชอบด้วยเหตุผล, เช่น ศาลย่อมทรงไว้ซึ่งความยุติธรรม; ชื่อกระทรวงที่มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการศาลยุติธรรม แต่ไม่รวมถึงการพิจารณาพิพากษาอรรถคดี. ว. เที่ยงธรรม, ไม่เอนเอียงเข้าข้างใดข้างหนึ่ง, ชอบด้วยเหตุผล, เช่น ราคายุติธรรม กรรมการตัดสินอย่างยุติธรรม.

ทองนพคุณ

หมายถึงน. ทองคำเนื้อเก้า เป็นทองบริสุทธิ์ โบราณกำหนดราคาตามคุณภาพของเนื้อทอง หนัก ๑ บาท เป็นเงิน ๙ บาท เรียกว่า ทองเนื้อเก้า หรือ ทองนพคุณเก้าน้ำ, เรียกสั้น ๆ ว่า ทองนพคุณ, ทองธรรมชาติ ทองเนื้อแท้ หรือ ทองชมพูนุท ก็เรียก.

ใบขนสินค้า

หมายถึง(กฎ) น. เอกสารแสดงรายการสินค้า อันได้แก่ ชนิด คุณภาพ ปริมาณ นํ้าหนัก ราคาอันแท้จริงในท้องตลาดและรายการอื่นตามที่อธิบดีกรมศุลกากรต้องการ ซึ่งผู้นำของเข้าหรือผู้ส่งของออกต้องยื่นต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ เมื่อนำของใด ๆ เข้ามาในประเทศ หรือส่งของใด ๆ ออกนอกประเทศ.

ฝืด

หมายถึงว. เคลื่อนไหวไม่สะดวกไม่คล่องเพราะแรงต้านทานมีการเสียดสีเป็นต้น เช่น ประตูฝืด กินข้าวฝืดคอ, โดยปริยายหมายถึงอาการคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น การค้าฝืด; เรียกภาวะทางเศรษฐกิจที่ปริมาณเงินหมุนเวียนในประเทศมีน้อยไป การใช้จ่ายลดน้อยลง ทำให้ราคาสินค้าตก ว่า เงินฝืด.

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ