ค้นเจอ 322 รายการ

สุภาษิต

หมายถึงน. ถ้อยคำหรือข้อความที่กล่าวสืบต่อกันมาช้านานแล้ว มีความหมายเป็นคติสอนใจ เช่น รักยาวให้บั่น รักสั้นให้ต่อ นํ้าเชี่ยวอย่าขวางเรือ. (ส.; ป. สุภาสิต ว่า ถ้อยคำที่กล่าวดีแล้ว).

ศฤงคาร

หมายถึง[สิงคาน, สะหฺริงคาน] น. สิ่งให้เกิดความรัก, บริวารหญิงผู้บำเรอความรัก เช่น สาวศฤงคารคนใช้. (ม. คำหลวง ทานกัณฑ์). (ส. ศฺฤงฺคาร ว่า ความใคร่).

น่า

หมายถึงว. คำประกอบหน้ากริยา หมายความว่า ควร เช่น น่าจะทำอย่างนั้น น่าจะเป็นอย่างนี้; ชวนให้, ทำให้อยากจะ, เช่น น่ากิน น่ารัก.

สิเนหะ,สิเนหา,สิเน่หา

หมายถึง[สิเหฺน่หา] น. ความรัก, ความมีเยื่อใย, เช่น เขาให้สร้อยเส้นนี้แก่ฉันด้วยความสิเน่หา. (ป.; ส. เสฺนห).

ตีไหล่

หมายถึงว. เคียงคู่กันอย่างใกล้ชิดสนิทสนม เช่น ๒ คนนี้รักกันมาก เดินตีไหล่กันมาเลย.

หัวปีท้ายปี

หมายถึงน. ต้นปีและท้ายปี เช่น เธอคลอดลูกหัวปีท้ายปี.

เสมอหน้า

หมายถึงว. ทั่วถึงและเท่าเทียมกัน, ทัดเทียม, ไม่โอนเอียงเข้าข้างใดข้างหนึ่ง, เช่น รักลูกเสมอหน้ากัน.

สารภาพ

หมายถึง[สาระพาบ] ก. รับว่ากระทำผิด เช่น จำเลยสารภาพว่าขโมยของไปจริง; บอกความในใจ เช่น สารภาพรัก.

รติ

หมายถึงน. ความยินดี, ความชอบใจ; ความรัก, ความกำหนัด, แผลงใช้ว่า ฤดี หรือ รดี ก็ได้. (ป., ส.).

กบเต้นสลักเพชร

หมายถึงน. ชื่อกลบทชนิดหนึ่ง ตัวอย่างว่า เจ็บเรียมห่างจางรักให้ใจเรียมหวน.

ฉันท-,ฉันท-,ฉันท์,ฉันท์,ฉันทะ

หมายถึงน. ความพอใจ, ความรักใคร่, ความชอบใจ, ความยินดี; ความร่วมความคิดความเห็นกัน เช่น ลงมติเป็นเอกฉันท์, ความไว้เนื้อเชื่อใจ เช่น มอบฉันทะ. (ป.).

แต่,แต่,แต่ว่า

หมายถึงสัน. เชื่อมความให้กลับกัน ให้ยิ่งหย่อนกว่ากัน หรือให้แย้งกัน เช่น นํ้าขึ้นแต่ลมลง นาย ก รักลูกก็จริงอยู่ แต่นาย ข ยังรักมากกว่า นาย ก กินข้าว แต่นาย ข นอน; ตาม เช่น ให้กินแต่เต็มใจ. (ม. คำหลวง มหาราช).

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ