ค้นเจอ 287 รายการ

ว่าไปทำไมมี

หมายถึงก. พูดไปก็เสียเวลาเปล่า ๆ เช่น ว่าไปทำไมมี เมื่อก่อนก็ไม่มีสมบัติอะไรติดตัวอยู่แล้ว; ใช้เป็นคำขึ้นต้นประโยค หมายความว่า อันที่จริง เช่น ว่าไปทำไมมี เราคนกันเองทั้งนั้น.

ราชบัณฑิต

หมายถึง[-บันดิด] น. นักปราชญ์หลวงมีความรู้ทางภาษาบาลี; สมาชิกองค์การวิทยาการของรัฐที่เรียกว่า ราชบัณฑิตยสถาน.

จตุร,จตุร-

หมายถึง[จะตุระ-] ว. สี่, ใช้ประกอบหน้าคำที่มาจากภาษาบาลีหรือสันสกฤต. (ส.; ป. จตุ).

เขียนไทย

หมายถึงน. วิชาเขียนภาษาไทยตามคำบอกของครู เพื่อฝึกเขียนตัวสะกดการันต์ให้ถูกต้อง, เขียนตามคำบอก ก็ว่า.

ยัง

หมายถึงคำช่วยกริยาในประโยคคำถามปฏิเสธหรือประโยคปฏิเสธ โดยละกริยานั้นไว้ให้เข้าใจเอาเอง เช่น ถามว่า จะไปหรือยัง ตอบว่า ยัง, ถ้าใช้นำหน้าคำกริยาเข้าคู่กับคำ อยู่ หมายความว่า กริยานั้นกำลังกระทำอยู่ เช่น เขายังกินอยู่ เขายังนอนอยู่, ถ้าใช้นำหน้าคำวิเศษณ์เข้าคู่กับคำ อยู่ หมายความว่า ยังอยู่ในภาวะนั้น เช่น ยังเด็กอยู่ ยังสาวอยู่ ยังเช้าอยู่, ใช้ประกอบคำกริยาเชิงปฏิเสธที่เริ่มหรือกำหนดไว้แล้ว แต่ยังไม่เสร็จสิ้นลงไป เช่น ป่านนี้ยังไม่มา ทั้ง ๆ ที่น่าจะมาแล้ว, ใช้เข้าคู่กับคำอื่นเพื่อเชื่อมประโยคหน้ากับประโยคหลังที่มีข้อความในลักษณะคล้ายคลึงกันให้เนื่องกัน เช่น นอกจากโง่แล้วยังหยิ่งอีกด้วย นอกจากสวยแล้วยังรวยอีกด้วย. ก. คงอยู่, มีอยู่, เช่น ถามว่า หมดแล้วหรือ ตอบว่า ยังมีอีก; กระทำให้ เช่น ยังชีวิตให้เป็นไป ยังใจให้ชุ่มชื่น. บ. ถึง เช่น แจ้งความมายังท่านทั้งหลาย, สู่ เช่น ไปยังบ้าน, ตลอด, ตลอดถึง, เช่น วันยังค่ำ คืนยังรุ่ง.

กรรมวาจก

หมายถึง[กำมะ-] (ไว) ก. กริยาที่บอกว่าประธานเป็นกรรมการกหรือผู้ถูกทำ, กริยาของประโยคที่แสดงว่าประธานทำหน้าที่เป็นกรรมการก คือ ผู้ถูกทำ, กริยาของประโยคกรรมวาจกต้องใช้สกรรมกริยา คือ กริยาที่ต้องมีกรรมรับ บางทีก็มีกริยานุเคราะห์ “ถูก” นำ และใช้หมายไปในทางไม่ดี เช่น เด็กถูกตี ผู้ทำความผิดถูกลงโทษ, แต่บางทีก็ไม่ปรากฏกริยานุเคราะห์ “ถูก” เช่น หนังสือเล่มนี้แต่งดีมาก.

ดิ

หมายถึงคำประกอบท้ายคำอื่นเพื่อเสริมข้อความให้เด่น ให้ชัด เช่น นั่นดิ, เอาดิ คำประกอบท้ายคำอื่นเพื่อทำให้เป็นประโยคคำถาม เช่น จริงดิ

ปฏิ,ปฏิ-

หมายถึงคำอุปสรรคในภาษาบาลีใช้นำหน้าศัพท์อื่น แปลว่า เฉพาะ, ตอบ, ทวน, กลับ. (ป.; ส. ปฺรติ).

วิชา

หมายถึงน. ความรู้, ความรู้ที่ได้ด้วยการเล่าเรียนหรือฝึกฝน, เช่น วิชาภาษาไทย วิชาช่าง วิชาการฝีมือ. (ป. วิชฺชา; ส. วิทฺยา).

อห

หมายถึง[อะหะ] น. วัน, วันหนึ่ง, มักใช้เป็นส่วนท้ายของสมาสในคำที่มาจากภาษาบาลีและสันสกฤต เช่น สัปดาห์ มาจาก ส. สปฺต + อห = ๗ วัน.

หมายถึงพยัญชนะตัวที่ ๑๑ นับเป็นพวกอักษรตํ่า ใช้เป็นตัวสะกดในแม่กดในคำที่มาจากภาษาต่างประเทศ เช่น กอซ.

สุ

หมายถึงคำอุปสรรคในภาษาบาลีและสันสกฤต แปลว่า ดี งาม ง่าย สำหรับเติมข้างหน้าคำ เช่น สุคนธ์. (ป., ส.).

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ