ค้นเจอ 323 รายการ

สิ้นไส้สิ้นพุง

หมายถึงว. อาการที่เปิดเผยโดยมิได้ปิดบังอำพราง เช่น ผู้ร้ายสารภาพจนสิ้นไส้สิ้นพุง; หมดความรู้; ที่ออกมาจนหมดท้อง เช่น เขาเมารถ อาเจียนเสียสิ้นไส้สิ้นพุง, หมดไส้หมดพุง ก็ว่า.

ระวัง

หมายถึงก. คอยดู เช่น ระวังเด็กให้ดี; เอาใจใส่โดยไม่ประมาท, กันไว้ไม่ให้เกิดภัยอันตรายหรือความเสื่อมเสียเป็นต้น, เช่น ระวังตัวให้ดี ระวังโจรผู้ร้าย ระวังถูกล้วงกระเป๋า เวลาข้ามถนนให้ระวังรถ.

ยึด

หมายถึงก. ถือเอาไว้ เช่น ยึดราวบันไดไว้ให้ดี, เหนี่ยว, รั้ง, เช่น หนุมานยึดรถพระอาทิตย์; เข้าครอบครอง เช่น ยึดพื้นที่, ใช้อำนาจกฎหมายรับสิ่งใดสิ่งหนึ่งมา เช่น ยึดใบขับขี่ ยึดทรัพย์.

นาภิ

หมายถึงน. สะดือ, ราชาศัพท์ใช้ว่า พระนาภี, เช่น พระพุทธรูปส่วนสูงวัดจากพระบาทถึงพระนาภี, ท้อง เช่น ประชวรพระนาภี; ดุมเกวียน, ดุมรถ; ศูนย์กลาง. (ป., ส.).

ยับ

หมายถึงก. ย่น, ยู่ยี่, เช่น ผ้ายับ เสื้อยับ กระดาษยับ, อาการซึ่งแสดงความเสียหายมาก หรือเสียรูปจนถึงชํ้าชอก พังทลาย ป่นปี้ ปู้ยี่ปู้ยำ ยู่ยี่ เป็นต้น เช่น รถถูกชนยับ บ้านพังยับ.

นาภี

หมายถึงน. สะดือ, ราชาศัพท์ใช้ว่า พระนาภี, เช่น พระพุทธรูปส่วนสูงวัดจากพระบาทถึงพระนาภี, ท้อง เช่น ประชวรพระนาภี; ดุมเกวียน, ดุมรถ; ศูนย์กลาง. (ป., ส.).

ยาง

หมายถึงน. ของเหลวและเหนียวไหลออกจากแผลต้นไม้หรือผลไม้บางอย่าง เช่น ยางสน ยางกล้วย ยางมะละกอ; เรียกสิ่งบางอย่างที่ทำจากยางพาราเป็นต้น เช่น ยางรถ ยางลบ, โดยปริยายเรียกของเหลวที่มีลักษณะเช่นนั้น เช่น แกงบูดเป็นยาง.

ล้มทั้งยืน

หมายถึงก. ล้มขณะที่ยืนอยู่ เช่น ถูกเตะล้มทั้งยืน เป็นลมล้มทั้งยืน, โดยปริยายหมายถึงอาการที่สิ้นเนื้อประดาตัวหรือผิดหวังอย่างรุนแรงโดยไม่เคยคาดคิด ทันทีทันใดโดยไม่เคยคาดคิดมาก่อน เช่น พอรู้ว่าลูกถูกรถทับตายเลยเสียใจแทบล้มทั้งยืน.

หัวปักหัวปำ

หมายถึงว. อาการที่หัวถลำไปข้างหน้าเพราะเมาเหล้าเมารถเป็นต้น เช่น คนเมาเดินหัวปักหัวปำ, โดยปริยายหมายความว่า โงหัวไม่ขึ้น เช่น ถูกใช้ทำงานจนหัวปักหัวปำ หลงผู้หญิงจนหัวปักหัวปำ.

พืด

หมายถึงน. แผ่นหรือแนวแห่งสิ่งที่ติดเนื่องกันไปยาวยืด เช่น พืดเขา, โดยปริยายหมายถึงอาการของสิ่งที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น รถติดกันเป็นพืด; เรียกเหล็กเหนียวชนิดหนึ่งที่เป็นแผ่นยาวอย่างเหล็กทำปลอกถังว่า แถบเหล็กพืด.

อัด

หมายถึงก. ดันลมเข้าไป เช่น อัดลูกโป่ง, ยัดให้แน่น เช่น อัดดินปืน, ประกับให้แน่น เช่น อัดพื้นให้ชิด, ทำให้แน่น เช่น อัดกันอยู่ในรถ, บีบ เช่น อัดใบลาน; กลั้น, กลั้นหายใจ, เช่น อัดลมหายใจ.

ขรรคะ,ขรรคา

หมายถึง[ขักคะ, ขันคา] (แบบ) น. แรด เช่น หนึ่งนบสิขานนนารถ เถลิงขรรคาอาศน์ แลยาตรอัมพรแผ่นพาย. (ดุษฎีสังเวย). (ป. ขคฺค; ส. ขฑฺค).

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ