ค้นเจอ 338 รายการ

จตุรงคินีเสนา

หมายถึง[จะตุรง-] น. กองทัพมีกำลัง ๔ เหล่า คือ เหล่าช้าง เหล่ารถ เหล่าม้า เหล่าราบ, จตุรงคเสนา ก็ว่า. (ป., ส. จตุรงฺคินี + เสนา).

ใช้

หมายถึงก. บังคับให้ทำ เช่น ใช้งาน; จับจ่าย เช่น ใช้เงิน; เอามาทำให้เกิดประโยชน์ เช่น ใช้เรือ ใช้รถ; ชำระ ในคำว่า ใช้หนี้; ตอบแทน, ให้ทดแทน, เช่น เมื่อเขาเลี้ยงเรา เราต้องเลี้ยงใช้เขา.

จตุรงคเสนา

หมายถึง[จะตุรงคะ-] น. กองทัพมีกำลัง ๔ เหล่า คือ เหล่าช้าง เหล่ารถ เหล่าม้า เหล่าราบ, จตุรงคินีเสนา ก็ว่า. (ป., ส. จตุรงฺค + เสนา).

แวบ,แว็บ

หมายถึงว. ปรากฏให้เห็นชั่วประเดี๋ยวหนึ่งก็หายไป เช่น แสงไฟจากรถดับเพลิงแวบเข้าตา มาเดี๋ยวเดียวแว็บไปแล้ว. ว. อาการที่ปรากฏให้เห็นชั่วประเดี๋ยวหนึ่ง เช่น ไปแวบเดียวกลับมาแล้ว เพิ่งมาได้แว็บเดียวจะกลับแล้วหรือ.

ใส่

หมายถึงก. สวม เช่น ใส่เสื้อ ใส่กางเกง, เอาไว้ข้างในภาชนะหรือสถานที่เป็นต้น เช่น กรอกน้ำใส่ขวด นำนักโทษไปใส่คุก, บรรทุก เช่น เอาสินค้าใส่รถ.

คัน

หมายถึงน. แนวดินหรือแนวทรายเป็นต้นที่พูนสูงขึ้นเป็นแนวยาว เช่น คันทราย, แนวดินที่พูนขึ้นมาสำหรับกั้นนํ้า เช่น คันนา คันดิน; สิ่งที่มีลักษณะยาวทำด้วยไม้เป็นต้น สำหรับถือหรือปัก เช่น คันเบ็ด คันไถ คันธง; ลักษณนามเรียกรถหรือของที่มีด้ามถือบางอย่าง เช่น รถ ๓ คัน ช้อน ๔ คัน เบ็ด ๕ คัน.

ซึม

หมายถึงก. กิริยาของนํ้าหรือของเหลวที่ไหลไปตามรูเล็ก ๆ อย่างช้า ๆ เช่น เหงื่อซึม นํ้าซึม, โดยปริยายหมายถึงกิริยาที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ยางรถซึม. ว. เหงาหงอยไม่ค่อยพูดจา, ไม่เบิกบาน, เช่น นั่งซึม.

ถ่าย

หมายถึงก. เอาออกจากที่หนึ่งไปใส่อีกที่หนึ่ง เช่น ถ่ายรถ ถ่ายเรือ, เอาสิ่งหนึ่งออกแล้วเอาอีกสิ่งหนึ่งใส่เข้าไปแทนที่ เช่น ถ่ายนํ้า ถ่ายเลือด; รุ เช่น ถ่ายยา. ว. ฝ่าย, ท่า, เช่น ถ่ายเดียว.

สารถี

หมายถึง[สาระถี] น. คนขับรถ, คนบังคับม้า, โดยปริยายหมายความว่า ผู้บังคับหรือฝึกหัด ในความว่า พระพุทธเจ้าทรงเป็นสารถีฝึกบุรุษที่ควรฝึก. (ป., ส. สารถิ).

แปรกบัง

หมายถึง[ปะแหฺรก-] น. ไม้ยาวสำหรับประกับหัวเพลาทั้ง ๒ ข้างของเกวียนหรือราชรถ กันไม่ให้ลูกล้อเลื่อนหลุด โดยมีไม้ขวางทางหรือแปรกขวางทางยึดหัวท้ายทั้ง ๒ ด้าน.

จัตุรงคพล

หมายถึง[จัดตุรงคะ-] น. จตุรงคพล, กองทัพมีกำลัง ๔ เหล่า คือ เหล่าช้าง เหล่ารถ เหล่าม้า เหล่าราบ. (ป., ส. จตุรงฺค + เสนา).

ถี่,ถี่ ๆ

หมายถึงว. มีระยะหรือช่องว่างชิด ๆ กัน เช่น ตะแกรงตาถี่ หวีซี่ถี่, มีระยะเวลากระชั้นชิดกัน, ไม่ห่าง, เช่น รถมาถี่ มีลูกถี่ ซอยเท้าถี่ ๆ.

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ