ค้นเจอ 660 รายการ

กฎแห่งกรรม

หมายถึงน. กฎว่าด้วยกรรมและผลแห่งกรรมที่ผู้กระทำจักต้องได้รับ.

ถ่มน้ำลายรดฟ้า

หมายถึง(สำ) ก. ประทุษร้ายต่อสิ่งที่สูงกว่าตน ตัวเองย่อมได้รับผลร้าย.

กรรม์

หมายถึง[กัน] (กลอน) น. กรรม.

กรรมพันธุ์

หมายถึง[กำมะพัน] ว. มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์ คือ เกี่ยวเนื่องด้วยกรรมของตนเอง. น. ลักษณะ นิสัย ตลอดจนโรคหรือความวิกลวิการบางอย่างที่ลูกหลานสืบมาจากบรรพบุรุษ ปู่ย่าตายาย หรือพ่อแม่, พันธุกรรม ก็ว่า. (ส. กรฺม + พนฺธุ; ป. กมฺมพนฺธุ = “มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์” เกี่ยวเนื่องด้วยกรรมของตนเอง).

หมดเวร,หมดเวรหมดกรรม

หมายถึงก. สิ้นสุดในการที่ต้องรับทุกข์อีกต่อไป, หมดกรรม หมดกรรมหมดเวร สิ้นกรรม สิ้นกรรมสิ้นเวร สิ้นเวร หรือ สิ้นเวรสิ้นกรรม ก็ว่า; (ปาก) ตาย.

เข้าปริวาส,เข้าปริวาสกรรม

หมายถึงก. เข้าปฏิบัติปริวาสกรรมให้ครบตามวันที่กำหนด (ใช้แก่ภิกษุผู้ต้องอาบัติสังฆาทิเสส), อยู่กรรม หรือ อยู่ปริวาส ก็ว่า.

นวัตกรรม

หมายถึงน. สิ่งที่ทำขึ้นใหม่หรือแปลกจากเดิมซึ่งอาจจะเป็นความคิด วิธีการ หรืออุปกรณ์ เป็นต้น. (ป. นวต + ส. กรฺม; อ. innovation).

ตามยถากรรม

หมายถึง(สำ) ว. เป็นไปตามกรรม, สุดแต่จะเป็นไป.

เวร

หมายถึงน. ความพยาบาท, ความปองร้าย, บาป, เช่นเวรย่อมระงับด้วยการไม่จองเวร; คำแสดงความรู้สึกเดือดร้อนเพราะกรรมหรือชะตากรรมของตนในอดีต เช่นเวรของฉันแท้ ๆ ทำเงินเดือนหายไปทั้งเดือน, กรรมเวร หรือ เวรกรรม ก็ว่า. (ป.; ส. ไวร).

ใช้กรรม

หมายถึงก. ชดใช้กรรมที่ได้ทำไว้.

กงเกวียนกำเกวียน

หมายถึง(สำ) ใช้เป็นคำอุปมาหมายความว่า เวรสนองเวร, กรรมสนองกรรม, เช่น ทำแก่เขาอย่างไร ตนหรือลูกหลานเป็นต้นของตนก็อาจจะถูกทำในทำนองเดียวกันอย่างนั้นบ้าง เป็นกงเกวียนกำเกวียน.

สิ้นกรรม,สิ้นกรรมสิ้นเวร,สิ้นเวร,สิ้นเวรสิ้นกรรม

หมายถึงก. สิ้นสุดในการที่ต้องรับทุกข์อีกต่อไป เช่น เมื่อเขามีชีวิตอยู่ มีภาระมากหรือเจ็บป่วยทรมาน ตายไปก็ถือว่าสิ้นเวรสิ้นกรรม, หมดกรรม หมดกรรมหมดเวร หมดเวร หรือ หมดเวรหมดกรรม ก็ว่า; (ปาก) ตาย.

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ