ค้นเจอ 600 รายการ

อภิรุม

หมายถึงน. ฉัตรเครื่องสูงอย่างหนึ่ง ใช้ในกระบวนแห่ของหลวง หรือปักเป็นเครื่องประดับเกียรติยศ, โบราณเขียนเป็น อภิรม ก็มี.

กรรเจียกจอน

หมายถึงน. เครื่องประดับหู, เขียนเป็น กรรเจียกจร ก็มี เช่น กรรเจียกจอนจำหลักลายซ้ายขวา. (สังข์ทอง).

กระแสตรง

หมายถึงน. กระแสไฟฟ้าซึ่งเคลื่อนที่ตามแนวทิศเดียวกันอยู่ตลอดเวลา. (อ. direct current เขียนย่อว่า D.C.).

กลอนเพลงยาว

หมายถึงน. กลอนที่เขียนขึ้นเพื่อแสดงความรัก หรือเล่าสู่กันฟัง เป็นต้น ขึ้นต้นด้วยวรรครับหรือวรรคที่ ๒ ของบท.

คำพ้องรูป

หมายถึงคำที่เขียนเหมือนกันแต่มีความหมายต่างกัน เช่น ขัน (น้ำ) กับ (ไก่) ขัน คู (ร่องน้ำ) กับ (นกเขา) คู.

ต้นฉบับ

หมายถึงน. ฉบับจริงของเรื่องที่ประพันธ์ไว้เดิม, ฉบับที่เขียนหรือดีดพิมพ์ไว้เดิมก่อนตีพิมพ์, ต้นสำเนา.

ตะไกร

หมายถึง[-ไกฺร] น. เครื่องมือสำหรับตัดโดยใช้หนีบ มี ๒ ขา, ลักษณนามว่า เล่ม, เขียนเป็น กรรไกร หรือ กรรไตร ก็มี.

พิลาลส

หมายถึง[-ลาลด] ก. อยาก, กระหาย, เร่าร้อน; เศร้าโศก, เสียใจ; เขียนว่า พิลาลด หรือ พิลาลศ ก็มี. (ส. วิ + ลาลส).

เม้า

หมายถึง(โบ) น. ปีเถาะ, เขียนเป็น เหมา ก็มี เช่น ปีโถะหนไทกดดเหมา. (จารึกสยาม).

แยบยล

หมายถึงน. กล, อุบาย. ว. มีกลเม็ดหรือชั้นเชิงแนบเนียน เช่น เขามีกรรมวิธีแยบยล นักประพันธ์มีกลวิธีเขียนเรื่องแยบยล.

ลาลส

หมายถึง[ลาลด] ก. อยาก, กระหาย; เศร้าโศก, เสียใจ, เขียนว่า ลาลด หรือ ลาลศ ก็มี. (ป., ส. ลาลสา).

พรหมลิขิต

หมายถึง[พฺรม-] น. อำนาจที่กำหนดความเป็นไปของชีวิต (ถือกันว่า พระพรหมเขียนไว้ที่หน้าผากของเด็กซึ่งเกิดได้ ๖ วัน). (ส.).

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ