ค้นเจอ 174 รายการ

รติ

หมายถึงน. ความยินดี, ความชอบใจ; ความรัก, ความกำหนัด, แผลงใช้ว่า ฤดี หรือ รดี ก็ได้. (ป., ส.).

หน้าเฉย

หมายถึงว. มีสีหน้าแสดงความไม่รู้สึกยินดียินร้าย หรือไม่สนใจใยดีต่อสิ่งหรือเหตุการณ์ใด ๆ.

อภิรมย์

หมายถึงก. รื่นเริงยิ่ง, ดีใจยิ่ง, ยินดียิ่ง; พักผ่อน; ใช้ว่า ภิรมย์ ก็มี. (ส.; ป. อภิรมฺม).

ส่ายศึก,ส่ายเศิก

หมายถึงก. กวาดล้างให้หมดสิ้นข้าศึกศัตรู เช่น ส่ายเศิกเหลี้ยนล่งหล้า ราญราบหน้าเภริน. (นิ. นรินทร์).

หอกข้างแคร่

หมายถึง(สำ) น. คนใกล้ชิดที่อาจคิดร้ายขึ้นมาเมื่อไรก็ได้ มักใช้แก่ลูกเลี้ยงที่ติดมากับพ่อหรือแม่, ศัตรูที่อยู่ข้างตัว.

ปล่อยเสือเข้าป่า

หมายถึง(สำ) ก. ปล่อยศัตรูไปอาจกลับมาทำร้ายภายหลังอีก, มักใช้เข้าคู่กับ ปล่อยปลาลงนํ้า เป็น ปล่อยเสือเข้าป่า ปล่อยปลาลงนํ้า.

นิรามิษ

หมายถึง[-มิด] (แบบ) ว. ไม่มีเหยื่อ, ไม่มีเครื่องล่อใจ, ไม่รับสินบน; ปราศจากความยินดีอันเป็นเครื่องล่อใจ. (ส.).

จะกละ

หมายถึงน. ชื่อผีชนิดหนึ่ง เชื่อกันว่ามีรูปเป็นแมว อยู่ในจำพวกผีป่า หมอผีชาวป่าเลี้ยงไว้ใช้ไปทำร้ายศัตรู. (สยามสมาคม).

ปล่อยปลาลงน้ำ

หมายถึง(สำ) ก. ปล่อยศัตรูไปแล้วเขาจะไม่นึกถึงบุญคุณ, มักใช้เข้าคู่กับ ปล่อยเสือเข้าป่า เป็น ปล่อยเสือเข้าป่า ปล่อยปลาลงนํ้า.

อานนท์,อานนท์,อานันท์

หมายถึงน. ความเพลิดเพลิน, ความยินดี, ความปลื้มใจ, มักใช้เป็นส่วนท้ายของคำสมาส เช่น จิตกานนท์. (ป., ส.).

ฐกัด

หมายถึง[ถะกัด] ก. ตระกัด, ยินดี, เช่น ฐกัดนี้แก่เถ้าตุ่ยต่วมฤๅจตรู. (ม. คำหลวง ชูชก).

มัทยะ

หมายถึง[มัดทะยะ] น. นํ้าเมา, เหล้า. ว. ซึ่งทำให้เมา, ซึ่งทำให้รื่นเริงยินดี. (ส., ป. มชฺช).

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ