ค้นเจอ 634 รายการ

ข่อน

หมายถึงว. ปั่นป่วน, ไม่สบายใจ, โดยมากใช้เป็นคำคู่ เช่น อกใจมันให้ข่อน ๆ จะนั่งนอนก็ไม่หลับสนิท. (ม. ร่ายยาว ทานกัณฑ์).

แก้

หมายถึงน. ชื่อเบี้ยตัวโต ๆ สำหรับขัดผ้านุ่งให้ผิวเป็นมัน เช่น ผ้าลาย เรียกว่า เบี้ยอีแก้ หรือ เบี้ยแก้ใหญ่. (ดู เบี้ยแก้ ประกอบ).

ปัญจนที

หมายถึงน. แม่นํ้า ๕ สาย คือ ๑. คงคา ๒. ยมนา ๓. อจิรวดี ๔. สรภู ๕. มหี.

แบมือ

หมายถึงก. หงายมือเหยียดนิ้วทั้ง ๕ ออก; ไม่เอาธุระ.

กระแสะ

หมายถึงว. เพลีย, โผเผ, ไม่มีกำลัง, เช่นพูดว่า ข้ามันให้อ่อนหิวกระแสะ ๆ ไป. (ดิกชนารีไทย), และใช้เข้าคู่กับคำ กระเสาะ เป็น กระเสาะกระแสะ.

ทรงมัณฑ์

หมายถึง[ซงมัน] ว. มีรูปทรงกลมหรือเหลี่ยมซ้อนกันเป็นชั้น ๆ เรียวขึ้นไปอย่างหัวเม็ดเสาเกย. (สันนิษฐานกันว่า คำว่า มัณฑ์ น่าจะตัดมาจากคำ มณฑป).

เบญจขันธ์

หมายถึงน. กอง ๕ คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ.

เบญจพล

หมายถึงน. กำลัง ๕ คือ ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา.

ปัญจก,ปัญจกะ

หมายถึง[ปันจก, -จะกะ] (แบบ) น. เบญจก, หมวด ๕. (ป.).

เบญจโลหกะ

หมายถึงน. แร่ทั้ง ๕ คือ ทองคำ เงิน ทองแดง ตะกั่ว ดีบุก.

เบญจธรรม

หมายถึงธรรมะ ๕ ประการ ได้แก่ ๑. เมตตา ๒. ทาน ๓. ความสำรวมในกาม ๔. สัจจะ ๕. สติ คู่กับ เบญจศีล

ตีงูให้หลังหัก

หมายถึง(สำ) ก. กระทำการสิ่งใดแก่ศัตรูโดยไม่เด็ดขาดจริงจังย่อมจะได้รับผลร้ายในภายหลัง เช่น ประเวณีตีงูให้หลังหัก มันก็มักทำร้ายเมื่อภายหลัง. (อภัย).

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ