ค้นเจอ 788 รายการ

แก้

หมายถึงน. ชื่อเบี้ยตัวโต ๆ สำหรับขัดผ้านุ่งให้ผิวเป็นมัน เช่น ผ้าลาย เรียกว่า เบี้ยอีแก้ หรือ เบี้ยแก้ใหญ่. (ดู เบี้ยแก้ ประกอบ).

บาทภาค

หมายถึง[บาดทะพาก] น. ส่วนที่ ๔, เสี้ยว. (ส.).

ม่านเมรุ

หมายถึงน. ม่านที่แขวนห้อยไว้ที่เสาเมรุทั้ง ๔ ด้าน.

จตุรภุช

หมายถึง[-พุด] ว. “ผู้มี ๔ แขน” คือ พระนารายณ์.

แม่ฝา

หมายถึงน. ไม้กรอบประกับฝาเรือนฝากระดานทั้ง ๔ ด้าน.

ม่านบังเพลิง

หมายถึงน. ฉากพับได้ติดกับเสาเมรุทั้ง ๔ ด้าน.

จตุรมุข

หมายถึง(กลอน) น. “ผู้มี ๔ หน้า” คือ พระพรหม.

จัตุรพักตร์

หมายถึงว. จตุรพักตร์, “ผู้มี ๔ หน้า” คือ พระพรหม.

กระแสะ

หมายถึงว. เพลีย, โผเผ, ไม่มีกำลัง, เช่นพูดว่า ข้ามันให้อ่อนหิวกระแสะ ๆ ไป. (ดิกชนารีไทย), และใช้เข้าคู่กับคำ กระเสาะ เป็น กระเสาะกระแสะ.

ทรงมัณฑ์

หมายถึง[ซงมัน] ว. มีรูปทรงกลมหรือเหลี่ยมซ้อนกันเป็นชั้น ๆ เรียวขึ้นไปอย่างหัวเม็ดเสาเกย. (สันนิษฐานกันว่า คำว่า มัณฑ์ น่าจะตัดมาจากคำ มณฑป).

ตีงูให้หลังหัก

หมายถึง(สำ) ก. กระทำการสิ่งใดแก่ศัตรูโดยไม่เด็ดขาดจริงจังย่อมจะได้รับผลร้ายในภายหลัง เช่น ประเวณีตีงูให้หลังหัก มันก็มักทำร้ายเมื่อภายหลัง. (อภัย).

ระยับ

หมายถึงว. พราวแพรว, วับวาบ, (ใช้แก่แสงหรือรัศมี) เช่น ผ้ามันระยับ, นิยมใช้เข้าคู่กับคำ ระยิบ เป็น ระยิบระยับ เช่น ดาวส่องแสงระยิบระยับ.

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ