ค้นเจอ 22 รายการ

ผล

หมายถึงน. ลูกไม้ เช่น ผลมะม่วง ผลมะปราง; สิ่งที่เกิดจากการกระทำ เช่น ผลแห่งการทำดี ผลแห่งการทำชั่ว; ประโยชน์ที่ได้รับ เช่น ทำนาได้ผล เรียนได้ผล; ในพระพุทธศาสนา เป็นชื่อแห่งโลกุตรธรรม มี ๔ ชั้น คือ โสดาปัตติผล สกิทาคามิผล อนาคามิผล อรหัตผล, คู่กับ มรรค; ลักษณนามเรียกผลไม้ เช่น มะม่วง ๒ ผล มะปราง ๓ ผล; จำนวนที่ได้จากการคำนวณ เช่น ๕ กับ ๗ บวกกัน ได้ผลเท่ากับ ๑๒, ผลลัพธ์ ก็ว่า. (ป., ส.).

บรรลุ

หมายถึง[บัน-] ก. ลุ, ถึง, สำเร็จ, เช่น บรรลุมรรคผล, ประลุ ก็ว่า.

ธรรมาภิสมัย

หมายถึง[ทำมา-] น. การตรัสรู้ธรรม, การสำเร็จมรรคผล. (ส.; ป. ธมฺมาภิสมย).

อัฏฐังคิกมรรค

หมายถึง[อัดถังคิกะมัก] น. มรรคประกอบด้วยองค์ ๘. (ป. อฏฺงฺคิกมคฺค).

อุตริมนุสธรรม

หมายถึง[-มะนุดสะทำ] น. คุณอย่างยวดยิ่งของมนุษย์ ได้แก่ธรรมวิเศษมีการสำเร็จฌาน สำเร็จมรรคผลเป็นต้น. (ป. อุตฺตริ + มนุสฺส + ธมฺม; ส. อุตฺตริ + มนุษฺย + ธรฺม).

มรรคา

หมายถึง[มันคา] น. ทาง; เหตุ, ใช้คู่กับ ผล ว่า เป็นมรรคเป็นผล; ในพระพุทธศาสนา เป็นชื่อแห่งโลกุตรธรรม คู่กับ ผล มี ๔ ชั้น คือ โสดาปัตติมรรค สกทาคามิมรรค อนาคามิมรรค อรหัตมรรค, ทางที่จะนำไปสู่ความพ้นทุกข์ เป็น ๑ ในอริยสัจ ๔ ได้แก่ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ และมรรค เรียกเต็มว่า มรรคมีองค์ ๘ ประกอบด้วย สัมมาทิฐิ - ความเห็นชอบ ๑ สัมมาสังกัปปะ - ความดำริชอบ ๑ สัมมาวาจา - การเจรจาชอบ ๑ สัมมากัมมันตะ - การงานชอบ ๑ สัมมาอาชีวะ - การเลี้ยงชีวิตชอบ ๑ สัมมาวายามะ - ความพยายามชอบ ๑ สัมมาสติ - ความระลึกชอบ ๑ สัมมาสมาธิ - ความตั้งใจชอบ ๑ หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า มัชฌิมาปฏิปทา คือ ทางสายกลาง. (ส. มารฺค; ป. มคฺค).

ทางสายกลาง

หมายถึงน. มรรคมีองค์ ๘ อันเป็นทางที่จะนำไปสู่ความดับทุกข์ ประกอบด้วย ๑. สัมมาทิฐิ ความเห็นชอบ ๒. สัมมาสังกัปปะ ความดำริชอบ ๓. สัมมาวาจา การเจรจาชอบ ๔. สัมมากัมมันตะ การงานชอบ ๕. สัมมาอาชีวะ การเลี้ยงชีวิตชอบ ๖. สัมมาวายามะ ความพยายามชอบ ๗. สัมมาสติ ความระลึกชอบ ๘. สัมมาสมาธิ ความตั้งใจชอบ รวมเรียกว่า มัชฌิมาปฏิปทา แปลว่า ทางสายกลาง; การปฏิบัติที่ไม่ตึงนักไม่หย่อนนัก, การปฏิบัติที่ไม่ตึงไปทางใดทางหนึ่ง.

องค

หมายถึง[องคะ-] น. ส่วนของร่างกาย, อวัยวะ, ตัว (ราชาศัพท์ใช้สำหรับพระมหากษัตริย์ พระบรมราชินี และพระบรมวงศ์ชั้นสูงที่ทรงได้รับพระราชทานฉัตร ๗ ชั้น ใช้ว่า พระองค์ เช่น แต่งพระองค์); ส่วนย่อยที่เป็นองค์ประกอบ เช่น มรรคมีองค์ ๘; ในราชาศัพท์ใช้เป็นลักษณนามเรียกอวัยวะหรือสิ่งของ หรือคำพูด เป็นต้น ของกษัตริย์หรือเจ้านาย เช่น พระทนต์ ๑ องค์ (ฟัน ๑ ซี่) พระศรี ๑ องค์ (หมาก ๑ คำ) พระที่นั่ง ๑ องค์ พระบรมราโชวาท ๒ องค์; ลักษณนามใช้เรียกสิ่งที่เคารพบูชาบางอย่างในทางศาสนา เช่น พระพุทธรูป ๑ องค์ พระเจดีย์ ๒ องค์, (ปาก) ลักษณนามใช้เรียกภิกษุสามเณร นักบวชในศาสนาอื่น เช่น ภิกษุ ๑ องค์ บาทหลวง ๒ องค์. (ป., ส. องฺค).

องค์

หมายถึง[อง] น. ส่วนของร่างกาย, อวัยวะ, ตัว (ราชาศัพท์ใช้สำหรับพระมหากษัตริย์ พระบรมราชินี และพระบรมวงศ์ชั้นสูงที่ทรงได้รับพระราชทานฉัตร ๗ ชั้น ใช้ว่า พระองค์ เช่น แต่งพระองค์); ส่วนย่อยที่เป็นองค์ประกอบ เช่น มรรคมีองค์ ๘; ในราชาศัพท์ใช้เป็นลักษณนามเรียกอวัยวะหรือสิ่งของ หรือคำพูด เป็นต้น ของกษัตริย์หรือเจ้านาย เช่น พระทนต์ ๑ องค์ (ฟัน ๑ ซี่) พระศรี ๑ องค์ (หมาก ๑ คำ) พระที่นั่ง ๑ องค์ พระบรมราโชวาท ๒ องค์; ลักษณนามใช้เรียกสิ่งที่เคารพบูชาบางอย่างในทางศาสนา เช่น พระพุทธรูป ๑ องค์ พระเจดีย์ ๒ องค์, (ปาก) ลักษณนามใช้เรียกภิกษุสามเณร นักบวชในศาสนาอื่น เช่น ภิกษุ ๑ องค์ บาทหลวง ๒ องค์. (ป., ส. องฺค).

องค-

หมายถึง[องคะ-] น. ส่วนของร่างกาย, อวัยวะ, ตัว (ราชาศัพท์ใช้สำหรับพระมหากษัตริย์ พระบรมราชินี และพระบรมวงศ์ชั้นสูงที่ทรงได้รับพระราชทานฉัตร ๗ ชั้น ใช้ว่า พระองค์ เช่น แต่งพระองค์); ส่วนย่อยที่เป็นองค์ประกอบ เช่น มรรคมีองค์ ๘; ในราชาศัพท์ใช้เป็นลักษณนามเรียกอวัยวะหรือสิ่งของ หรือคำพูด เป็นต้น ของกษัตริย์หรือเจ้านาย เช่น พระทนต์ ๑ องค์ (ฟัน ๑ ซี่) พระศรี ๑ องค์ (หมาก ๑ คำ) พระที่นั่ง ๑ องค์ พระบรมราโชวาท ๒ องค์; ลักษณนามใช้เรียกสิ่งที่เคารพบูชาบางอย่างในทางศาสนา เช่น พระพุทธรูป ๑ องค์ พระเจดีย์ ๒ องค์, (ปาก) ลักษณนามใช้เรียกภิกษุสามเณร นักบวชในศาสนาอื่น เช่น ภิกษุ ๑ องค์ บาทหลวง ๒ องค์. (ป., ส. องฺค).

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ