ค้นเจอ 183 รายการ

ละองละมั่ง

หมายถึงน. ชื่อกวางขนาดกลางชนิด Cervus eldi ในวงศ์ Cervidae ตัวสีนํ้าตาลอ่อน คอยาวกว่ากวางชนิดอื่น ตัวผู้เขาโค้งปลายชี้ไปด้านหน้า ตัวเมียไม่มีเขา ลูกเกิดใหม่มีจุดขาว กินหญ้าและใบไม้ เป็นสัตว์ป่าสงวนของไทย, บ้างเรียกเพศผู้ว่า ละอง เรียกเพศเมียว่า ละมั่ง.

กรุ่ม

หมายถึง[กฺรุ่ม] ก. ขันบ่อย ๆ (ปรกติใช้แก่นกเขา แต่ใช้แก่นกอื่นก็มีบ้าง) เช่น บางพวกจับเป็นคู่คูขันกันโดยธรรมดา เวลากรุ่มกำลังที่ตั้งขึ้นตามฤดู. (ม. ร. ๔ วนปเวสน์); โดยปริยายหมายความว่า สบายเรื่อย ๆ ไป เช่น มีเงินตรากินกรุ่มเป็นภูมิฐาน. (นิ. เดือน); รุ่มร้อน, ระอุ, เช่น นรกเท่ากรุ่ม เปลวร้อนเหมือนไฟ. (สุบิน).

สัมผัส

หมายถึงก. ถูกต้อง, แตะต้อง, กระทบกัน, เช่น มีใครมาสัมผัสไหล่ พยายามให้เท้าสัมผัสหญ้าเสียบ้าง จะได้มีสุขภาพดี สัมผัสมือกัน; คล้องจองกัน เช่น คำในกลอนบทนี้สัมผัสกันดี. น. การถูกต้องที่ให้เกิดความรู้สึก เช่น ประสาทสัมผัส, การแตะต้อง, การกระทบกัน, เช่น พอออกไปข้างนอกก็สัมผัสอากาศเย็นเฉียบ; ความคล้องจองของถ้อยคำ เช่น ในนํ้ามีปลาในนามีข้าว; (วรรณ) ข้อบังคับที่ใช้ในฉันทลักษณ์เพื่อให้เสียงรับกัน. (ป. สมฺผสฺส; ส. สํสฺปรฺศ).

ตา

หมายถึงน. ส่วนหนึ่งของร่างกายคนและสัตว์ ทำหน้าที่เป็นเครื่องดูรูป; ส่วนหนึ่งของต้นไม้ตรงที่แตกกิ่ง, รอยของต้นไม้ตรงที่เคยแตกกิ่ง; ช่องที่เกิดจากการถัก สาน หรือลากเส้นผ่านกัน เช่น ตาร่างแห ตาตะแกรง ตาตาราง; คราว เช่น ตานี้ ถึงตาฉันบ้างละนะ; เรียกลายที่เป็นตาตามรูปต่าง ๆ ตามลักษณะของสิ่งของ เช่น ตาสมุก ตาราชวัติ ตาเมล็ดงา ตาเม็ดบัว ตาหมากรุก.

หมายถึงพยัญชนะตัวที่ ๔๒ เป็นพวกอักษรตํ่า มักใช้ในคำไทยที่มาจากภาษาบาลี เช่น กีฬา จุฬา นาฬิกา, ตัว ฬ นี้ ในภาษาสันสกฤตไม่มีใช้ ในภาษาบาลีมีใช้แต่ที่เป็นตัวตามหลัง เช่น จุฬา = มวยผม กีฬา = เล่น เขฬะ = นํ้าลาย, ในภาษาไทย แต่เดิมมีที่ใช้บ้าง เช่น ฬา (สัตว์) ฬ่อ (สัตว์) บาฬี บัดนี้ใช้เป็น ลา ล่อ บาลี หมดแล้ว ยังคงอยู่ก็แต่ที่ใช้เป็นตัวสะกดในแม่กน เช่น ทมิฬ ปลาวาฬ.

สาว

หมายถึงน. หญิงที่มีอายุพ้นวัยเด็ก นับตามความนิยมตั้งแต่ ๑๕-๓๐ ปีขึ้นไป เช่น ย่างเข้าสู่วัยสาว โตเป็นสาวแล้วยังซุกซนเหมือนเด็ก ๆ, ถ้ายังไม่ได้แต่งงาน ใช้คำว่า นางสาว นำหน้าชื่อ. ว. เรียกคนและสัตว์ที่มีท้องครั้งแรกว่า ท้องสาว, เรียกต้นไม้ที่เริ่มผลิดอกออกผลครั้งแรก เช่น หมากสาว มะพร้าวสาว, เรียกหญิงที่ยังไม่แก่ตามวัย เช่น แม้จะอายุมากแล้ว แต่ก็ยังดูสาวอยู่, เรียกหญิงที่ยังไม่แต่งงาน เช่น จะพูดอะไรให้เกรงใจเขาบ้าง ถึงเขาจะอายุมากแล้วแต่ก็ยังเป็นสาวอยู่.

ดัดแปลง

หมายถึง[-แปฺลง] ก. แก้ไขเปลี่ยนแปลงให้เหมาะสม, เปลี่ยนจากรูปเดิมโดยแก้ไขเปลี่ยนแปลงบ้างเล็กน้อย, เช่น ดัดแปลงเรือนชั้นเดียวให้เป็น ๒ ชั้น; (กฎ) เปลี่ยนแปลง ต่อเติม เพิ่ม ลด หรือขยายซึ่งลักษณะขอบเขต แบบ รูปทรง สัดส่วน นํ้าหนัก เนื้อที่ ของโครงสร้างของอาคารหรือส่วนต่าง ๆ ของอาคาร ซึ่งได้ก่อสร้างไว้แล้วให้ผิดไปจากเดิม และมิใช่การซ่อมแซมหรือการดัดแปลงที่กำหนดในกฎกระทรวง; ทำซํ้าโดยเปลี่ยนรูปใหม่ ปรับปรุงแก้ไข เพิ่มเติม หรือจำลองงานต้นฉบับในส่วนอันเป็นสาระสำคัญ โดยไม่มีลักษณะเป็นการจัดทำงานขึ้นใหม่ ทั้งนี้ ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน.

ตะพัก

หมายถึงน. ที่ราบใต้น้ำข้างตลิ่ง มีลักษณะเป็นขั้น ๆ แคบ ๆ ลดต่ำลง เกิดจากแผ่นดินสูงขึ้นหรือต่ำลงเป็นครั้งคราว หรือเกิดจากถูกคลื่นเซาะ อาจสูงหลายเมตรก็ได้; ตะกอนที่ทับถมในทะเลเป็นรูปขั้นบันได, ผาชันในทะเลที่ถูกคลื่นกัดเซาะขยายตัวออกไปจนเป็นลาน ซึ่งเรียกว่า ลานตะพักคลื่นเซาะ; โขดหินหรือไหล่เขาที่เป็นขั้น ๆ พอพักได้, ใช้ว่า กระพัก ก็มี, เช่น บ้างก็เป็นกระพักกระเพิงกระพังพุ. (ม. ร่ายยาว กุมาร).

วิจาร,วิจารณ,วิจารณ-,วิจารณ์

หมายถึง[วิจาน, วิจาระนะ-, วิจาน] ก. ให้คำตัดสินสิ่งที่เป็นศิลปกรรมหรือวรรณกรรมเป็นต้น โดยผู้มีความรู้ควรเชื่อถือได้ ว่ามีค่าความงามความไพเราะดีอย่างไร หรือมีข้อขาดตกบกพร่องอย่างไรบ้าง เช่น เขาวิจารณ์ว่า หนังสือเล่มนี้แสดงปัญหาสังคมในปัจจุบันได้ดีมากสมควรได้รับรางวัล, ติชม, มักใช้เต็มคำว่า วิพากษ์วิจารณ์ เช่น คนดูหนังวิพากษ์วิจารณ์ว่า หนังเรื่องนี้ดำเนินเรื่องช้าทำให้คนดูเบื่อ.

กระเบน

หมายถึงน. ชื่อปลากระดูกอ่อนพวกหนึ่ง มีหลายชนิด หลายสกุล และหลายวงศ์ ทั้งขนาดเล็กและขนาดใหญ่ ลำตัวแบนลงมาก ครีบอกแผ่ออกด้านข้าง บางชนิดแผ่ออกไปจดด้านหน้าและด้านท้ายเกือบเป็นวงกลมดูคล้ายจานหรือว่าว บางชนิดแผ่ยื่นด้านข้างออกไปเป็นปีกคล้ายนกหรือผีเสื้อ และบางชนิดครีบอกแผ่ไปไม่ถึงส่วนหน้า ทำให้หัวแยกจากลำตัวและส่วนยื่นของหัวเป็นลอน มีเหงือก ๕ คู่ อยู่ด้านล่างของส่วนหัว บริเวณถัดจากส่วนท้ายของนัยน์ตามีรูเปิดข้างละช่อง ซึ่งด้านในติดต่อกับโพรงเหงือกและปาก หางส่วนมากเรียว สั้นบ้างยาวบ้าง มักมีผิวหยาบหรือขรุขระ บางพวกมีเงี่ยงอยู่บนหางตอนใกล้ลำตัว และมีต่อมน้ำพิษอยู่บริเวณโคนเงี่ยง เมื่อใช้เงี่ยงแทงจะปล่อยน้ำพิษออกมาด้วย ทำให้คนหรือสัตว์ที่ถูกแทงรู้สึกปวด; เรียกชายผ้านุ่งที่ม้วนแล้วสอดไปใต้หว่างขา ดึงขึ้นไปเหน็บขอบผ้านุ่งด้านหลังระดับบั้นเอว ว่า ชายกระเบน หรือ หางกระเบน; โคนหางช้าง เช่น ผูกกระเบนสักหลาดถกล สัปทนแดงกางกั้ง. (กฐินพยุห).

กระทุงเหว

หมายถึงน. ชื่อปลาผิวนํ้าทุกชนิดในวงศ์ Belonidae และ Hemirhamphidae ลำตัวกลมยาวคล้ายปลาเข็ม กระดูกปากทั้งตอนบนและล่างหรือเฉพาะตอนล่างยื่นยาวแหลม หางเป็นแฉก บ้างก็ตัดเฉียงลงมากน้อยหรือกลมแล้วแต่ชนิดหรือสกุล บางชนิดพบอาศัยอยู่ในนํ้าจืด เช่น กระทุงเหวเมือง (Xenentodon cancila) ส่วนใหญ่พบในเขตนํ้ากร่อยหรือชายทะเล เช่น ชนิดในสกุล Hemirhamphus, Hyporhamphus, Rhynchorhamphus, Tylosurus, Strongylura และ Zenarchopterus ชนิดที่พบในทะเลห่างฝั่งและบริเวณรอบเกาะ คือ กระทุงเหวบั้ง (Ablennes hians) ซึ่งมีชุกชุมที่สุด, เข็ม ก็เรียก.

วัสสานฤดู

หมายถึง[วัดสานะรึดู] น. ฤดูฝน, ในกลุ่มประเทศเขตร้อนอันมีประเทศไทยรวมอยู่ด้วย แบ่งฤดูกาลออกเป็น ๓ ฤดู คือ ฤดูหนาว ฤดูร้อน และฤดูฝน ช่วงระยะเวลาของแต่ละฤดูในแต่ละท้องถิ่นหรือประเทศอาจแตกต่างกันไปบ้างและไม่ค่อยตรงกัน เฉพาะในภาคกลางของประเทศไทย ฤดูฝนเริ่มต้นประมาณตั้งแต่กลางเดือนพฤษภาคมถึงกลางเดือนตุลาคม หรือทางจันทรคติเริ่มต้นวันแรมค่ำหนึ่ง เดือน ๘ ถึงขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๒, บางทีก็เขียนเพี้ยนไปเป็น วสันต์. (ป. วสฺสาน + ส. ฤตุ = ฤดูฝน).

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ