ค้นเจอ 243 รายการ

ออกภาษา

หมายถึงน. เรียกเพลงที่บรรเลงออกสำเนียงภาษาของชาติอื่น ๆ ในเพลงเดียวกัน หรือเพลงที่บรรเลงต่อท้ายเพลงแม่บทแต่ไม่ครบ ๑๒ ภาษา ว่า เพลงออกภาษา.

วาณี

หมายถึงน. ถ้อยคำ, ภาษา. (ป., ส.); เจ้าแม่แห่งวาจา คือ พระสรัสวดี. (ส.).

ลิ้นอ่อน

หมายถึงว. อาการที่พูดออกสำเนียงได้ชัดเจน, อาการที่พูดภาษาอื่นได้ง่าย.

ชน,ชน,ชน-

หมายถึง[ชนนะ-] น. คน (มักใช้ในภาษาหนังสือ).(ป., ส.).

ติดหมัด

หมายถึงว. ทันทีทันใด (เลียนจากภาษามวย คือต่อยไปแล้วบวมหรือโนตามหมัดขึ้นมา).

ภารดี

หมายถึง[พาระ-] น. ถ้อยคำ, คำพูด, ภาษา. (ส. ภารติ).

สักฏะ,สักตะ

หมายถึง[สักกะตะ] (แบบ) น. ภาษาสันสกฤต. (ป. สกฺกฏ, สกฺกต).

ไล่บาลี

หมายถึงก. สอบความรู้ภาษาบาลี, โดยปริยายหมายความว่า ลองภูมิ, ไล่ภูมิ.

เสียธรรมเนียม

หมายถึงก. ผิดไปจากแบบแผนที่เคยปฏิบัติกันมา เช่น เมื่อเวลาไปไหว้พระควรมีดอกไม้ธูปเทียนไปด้วย อย่าให้เสียธรรมเนียม.

หมายถึงพยัญชนะตัวที่ ๓๘ เป็นพวกอักษรสูง ใช้ได้ทั้งเป็นพยัญชนะตัวต้นและเป็นตัวสะกดในแม่กดในคำที่มาจากภาษาสันสกฤตและภาษาอื่น เช่น ศาลา อากาศ ไอศกรีม วงศ์.

ฉันทลักษณ์

หมายถึง[ฉันทะลัก] น. ลักษณะแบบแผนคำประพันธ์ประเภทร้อยกรอง, ชื่อตำราไวยากรณ์ตอนที่ว่าด้วยลักษณะของคำประพันธ์.

หมายถึงพยัญชนะตัวที่ ๒๗ เป็นพวกอักษรกลาง เป็นตัวสะกดในแม่กบในคำที่มาจากภาษาบาลีและสันสกฤตเป็นต้น เช่น บาป เนปจูน, ตัว ป ที่ขึ้นต้นของคำหรือพยางค์ในภาษาบาลีและสันสกฤตมักแผลงมาเป็นตัว บ ในภาษาไทย เช่น ปท ปิตา เป็น บท บิดา.

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ