ค้นเจอ 237 รายการ

หมายถึงใช้ประสมกับตัว ร อ่านเป็นเสียง ซ ในคำบางคำ เช่น ทราบ แทรก ทรง และในคำบางคำที่มาจากภาษาบาลีและสันสกฤต เช่น ทรัพย์ อินทรีย์ มัทรี, ที่อ่านเป็นเสียงเดิมคือ ทร (ไม่ใช่ ซ) ก็มี เช่น ภัทรบิฐ.

สัมผัสอักษร

หมายถึงน. สัมผัสพยัญชนะที่มีพยัญชนะต้นตัวเดียวกันหรือเสียงพ้องกัน เช่น จำใจจำจากเจ้า จำจร. (ตะเลงพ่าย), คูนแคขิงข่าขึ้น เคียงคาง. (หลักภาษาไทยของกำชัย ทองหล่อ).

อัป,อัป-

หมายถึง[อับปะ-] คำประกอบหน้าศัพท์ที่มาจากภาษาบาลีและสันสกฤต มีความหมายว่า ไม่, ไร้, ไปจาก, ปราศจาก, เช่น อัปภาคย์ ว่า ไร้โชค ปราศจากโชค, อัปยศ ว่า ไร้ยศ, ใช้ อป ก็ได้. (ป., ส. อป).

ไขว้โรง

หมายถึงก. กลับตรงกันข้าม (เดิมเป็นภาษาใช้ในการพนันหวย ก ข มีตัวโรงเช้า โรงคํ่า เมื่อผู้แทงระบุตัวแทงแล้ว ถ้าหากตัวออกกลับกันเสีย ก็เรียกว่า ขุนบาลกินอย่างไขว้โรง, ตรงกับว่า โอละพ่อ).

ตาด

หมายถึงน. ชื่อมองโกลเผ่าหนึ่งที่ชอบรบราฆ่าฟันและอพยพเร่ร่อนอยู่เสมอ บางทีก็เรียกว่า ตาดมองโกล, ชื่อภาษาของพวกตาด ใช้พูดกันในดินแดนตั้งแต่ทิวเขาอูราลทางตะวันตกไปจนถึงทิวเขาอัลไตทางตะวันออก.

ใบ้

หมายถึงว. ไม่สามารถจะพูดเป็นถ้อยคำที่คนทั่ว ๆ ไปเข้าใจได้, โดยปริยายหมายความว่า นิ่งไม่พูด เช่น นั่งเป็นใบ้. ก. แสดงกิริยาท่าทางแทนถ้อยคำ เช่น ภาษาใบ้; แนะด้วยอุบาย เช่น บอกใบ้, บอกเลศนัย เช่น ใบ้หวย.

สนทนา

หมายถึง[สนทะ-] ก. คุยกัน, ปรึกษาหารือกัน, พูดจาโต้ตอบกัน, เช่น สนทนาปัญหาบ้านเมือง สนทนาสารทุกข์สุกดิบ. ว. ที่คุยกัน, ที่ปรึกษาหารือกัน, ที่พูดจาโต้ตอบกัน, เช่น บทสนทนาในนวนิยาย บทสนทนาภาษาอังกฤษ. (เทียบ ป. สํสนฺทนา ว่า การเทียบเคียง, การเปรียบเทียบ).

หนังสือเวียน

หมายถึงน. หนังสือราชการที่มีข้อความเหมือนกัน ส่งไปถึงหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยมีรหัสตัวพยัญชนะ ว หน้าเลขทะเบียนหนังสือส่ง, ภาษาปากใช้ว่า จดหมายเวียน; หนังสือที่ผู้บังคับบัญชาเวียนแจ้งให้ผู้ใต้บังคับบัญชารับทราบหรือถือปฏิบัติ.

คำพ้องเสียง

หมายถึงคำที่ออกเสียงเหมือนกันแต่เขียนต่างกันและมีความหมายต่างกัน เช่น ใส-ไส-ไสย กาน-กาล-การ-การณ์ (โบ) ในหนังสือแบบเรียนภาษาไทยของพระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร) เรียกคำพ้องเสียงว่า ไวพจน์

วรรณยุกต์,วรรณยุต

หมายถึงน. ระดับเสียงสูงต่ำของคำในภาษาไทย มี ๕ เสียง คือ เสียงสามัญ เสียงเอก เสียงโท เสียงตรี เสียงจัตวา มีรูปเครื่องหมายบอกระดับของเสียงอยู่เบื้องบนอักษร ๔ รูป คือ ่ (ไม้เอก) ้ (ไม้โท) ๊ (ไม้ตรี) ๋ (ไม้จัตวา).

ไวพจน์

หมายถึง(โบ) ในหนังสือแบบเรียนภาษาไทย ของพระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร) หมายถึง คำที่ออกเสียงเหมือนกันแต่เขียนต่างกันและมีความหมายต่างกัน เช่น ใสกับไส โจทก์กับโจทย์ พานกับพาล ที่ในปัจจุบันเรียกว่า คำพ้องเสียง

ทมิฬ

หมายถึง[ทะมิน] น. ชนพื้นเมืองอินเดียเผ่าหนึ่ง ปัจจุบันมีอยู่มากทางอินเดียแถบใต้และเกาะลังกาแถบเหนือ, ชื่อภาษาของชนเผ่านั้น. ว. ดุร้าย, ร้ายกาจ, เช่น ใจทมิฬ ยุคทมิฬ, บางทีก็ใช้เข้าคู่กับคำ หินชาติ เป็น ใจทมิฬหินชาติ. (ป.).

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ