ค้นเจอ 246 รายการ

จีวร,จีวร-

หมายถึง[จีวอน, จีวอนระ-] น. เครื่องนุ่งห่มของภิกษุสามเณรในพระพุทธศาสนา, ผ้าสำหรับห่มของภิกษุสามเณร, คู่กับ สบง, ภาษาปากเรียก ผ้าเหลือง. [ในพระพุทธศาสนา จีวร ในคำว่า บาตรจีวร หรือ ไตรจีวร หมายเอาผ้าทั้ง ๓ อย่าง คือ ผ้าทาบ (สังฆาฏิ) ผ้าห่ม (จีวร) และผ้านุ่ง (สบง), ในคำว่า สบง จีวร สังฆาฏิ หมายเอาแต่ผ้าห่มอย่างเดียว]. (ป., ส.).

สิทธัตถะ

หมายถึงพระนามพระพุทธเจ้า

เพลง

หมายถึง[เพฺลง] น. สำเนียงขับร้อง, ทำนองดนตรี, กระบวนวิธีรำดาบรำทวนเป็นต้น, ชื่อการร้องแก้กัน มีชื่อต่าง ๆ เช่น เพลงปรบไก่ เพลงฉ่อย; โดยปริยายหมายถึง แบบอย่าง เช่น ต่างกันไปคนละเพลง. (พระราชหัตถเลขา ร. ๕ ถึงสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส), ชั้นเชิง เช่น ร้อยภาษามาสู่เคยรู้เพลง. (อภัย).

จตุรงคยมก

หมายถึง[จะตุรงคะยะมก] น. ชื่อกลอนกลบทโบราณ มีบังคับพิเศษคือ ทุก ๆ ๒ บทให้ใช้ภาษาบาลีแต่งวรรคแรกทั้งวรรค และวรรคที่ ๒ เฉพาะจังหวะแรก ตัวอย่างว่า ภุมมาจายันตุเทวา ภุมมะจาเจ้าที่บดีสูร อารักษ์เรืองฤทธิ์เดชเกษสกูล อันเรืองรูญรังษีระวีวร. (ชุมนุมตำรากลอน).

ทุ

หมายถึงว. คำอุปสรรคในภาษาบาลีและสันสกฤต แปลว่า ชั่ว, ยาก, ลำบาก, เลว, ทราม, เช่น ทุจริต ว่า ความประพฤติชั่ว, ทุกร ว่า ทำได้โดยยาก, ทุปปัญญา ว่า ปัญญาทราม เป็นต้น. (ดู ทุร ประกอบ). (ป.; ส. เดิมเป็น ทุสฺ), ทุ นี้เมื่ออยู่หน้าคำอื่นตามหลักไวยากรณ์ภาษาบาลีและสันสกฤต กำหนดให้เติมตัวสะกดลงตัวหนึ่งเพื่อให้เท่าของเดิม เช่น ทุ + คติ เป็น ทุคคติ, ทุ + จริต เป็น ทุจจริต, ตัวสะกดนั้นดูพยัญชนะคำหลังเป็นเกณฑ์ ถ้าพยัญชนะวรรคคำหลังเป็นอักษรสูงหรืออักษรกลาง ก็ใช้พยัญชนะที่ ๑ แห่งวรรคนั้นสะกด เช่น ทุ + กร เป็น ทุกกร, ทุ + ข เป็น ทุกข, ถ้าเป็นพยัญชนะวรรคคำหลังเป็นอักษรตํ่า ก็ใช้พยัญชนะที่ ๓ แห่งวรรคนั้นสะกด เช่น ทุ + คติ เป็น ทุคคติ, ทุ + ภาษิต เป็น ทุพภาษิต, อีกอย่างหนึ่งว่า ถ้าพยัญชนะคำหลังเป็นอักษรตํ่า ก็ใช้เติม ร แทนตัวสะกดได้ทุกวรรค เช่น ทุรชน ทุรพล ทุรภิกษ์ ทุรยศ ทุรลักษณ์, หรือเอาสระ อุ ออกเสียก็มี เช่น ทรชน ทรพล ทรพิษ ทรยศ ทรลักษณ์, ในวิธีหลังนี้บางมติว่า เอา อุ เป็น ร (ใช้ไปถึงคำ ทรกรรม ด้วย) และเมื่ออยู่หน้าสระก็เติม ร เช่น ทุ + อาจาร เป็น ทุราจาร, ทุ + อาธวา เป็น ทุราธวา.

ขอยืม

หมายถึงก. ขอสิ่งของ เงิน เป็นต้นมาใช้ชั่วระยะเวลาหนึ่งแล้วคืนให้หรือใช้คืน, นำของของผู้อื่นมาใช้เป็นของของตน เช่น ขอยืมคำในภาษาบาลีมาใช้ ขอยืมวัฒนธรรมตะวันตกมาใช้ ขอยืมความคิด, (คณิต) ในการลบเลข ถ้าเลขตัวตั้งในหลักใดน้อยกว่าเลขที่จะนำมาลบ ให้นำเลขจากหลักสูงถัดไปมาเพิ่มเลขตัวตั้งเพื่อให้มากพอที่จะลบได้ เช่น ๔๓ - ๕ ในที่นี้ ๕ ลบจาก ๓ ไม่ได้ ๓ ต้องขอยืม ๔ ซึ่งเป็นหลักสิบมา ๑ รวมเป็น ๑๓ แล้วลบออกเสีย ๕ เหลือ ๘ ๔ เมื่อถูกขอยืมไป ๑ ก็เหลือ ๓ ผลลัพธ์ ๓๘, ยืม ก็ว่า.

ยืม

หมายถึงก. ขอสิ่งของ เงิน เป็นต้น มาใช้ชั่วระยะเวลาหนึ่งแล้วคืนให้หรือใช้คืน, นำของของผู้อื่นมาใช้เป็นของตน เช่น ยืมคำในภาษาบาลีมาใช้ ยืมวัฒนธรรมตะวันตกมาใช้ ยืมความคิด; (คณิต) ในการลบเลข ถ้าเลขตัวตั้งในหลักใดน้อยกว่าเลขที่จะนำมาลบ ให้นำเลขจากหลักสูงถัดไปมาเพิ่มเลขตัวตั้งเพื่อให้มากพอที่จะลบได้ เช่น ๔๓ - ๕ ในที่นี้ ๕ ลบจาก ๓ ไม่ได้ ๓ ต้องยืม ๔ ซึ่งเป็นหลักสิบมา ๑ รวมเป็น ๑๓ แล้วลบออกเสีย ๕ เหลือ ๘ ๔ เมื่อถูกยืมไป ๑ ก็เหลือ ๓ ผลลัพธ์ ๓๘, ขอยืม ก็ว่า.

นาย

หมายถึงน. (กฎ) คำนำหน้าชื่อชายที่มีอายุตั้งแต่ ๑๕ ปีบริบูรณ์ขึ้นไป; ผู้เป็นใหญ่, ผู้เป็นหัวหน้า, ผู้จ้าง, เช่น เขาเป็นนาย นายไม่อยู่; ผู้เป็นใหญ่เป็นหัวหน้าในกิจการนั้น ๆ เช่น นายตรวจ นายทะเบียน, ผู้ควบคุม เช่น นายหมู่ นายหมวด, ผู้ชำนาญในกิจการนั้น ๆ เช่น นายไปรษณีย์ นายช่าง; (ปาก) ใช้นำหน้ายศทหารตำรวจ เช่น นายพล นายพัน นายร้อย นายสิบ, คำนำหน้าตำแหน่ง เช่น นายม้าต้น; เมื่อใช้เป็นคำนำราชทินนาม เป็นบรรดาศักดิ์ของข้าราชการในราชสำนักในสมัยก่อนเลิกบรรดาศักดิ์ เช่น นายนรินทร์ธิเบศ นายมหานุภาพ นายสุจินดา นายวรการบัญชา. (ปาก) ส. คำใช้แทนผู้ที่เราพูดด้วย ใช้สำหรับเพื่อนฝูงในลักษณะที่เป็นกันเอง เช่น เย็นนี้นายจะไปด้วยไหม, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๒.

ไอ้

หมายถึงน. คำประกอบคำอื่นบอกให้รู้ว่าเป็นเพศชายหรือสัตว์ตัวผู้ เช่น ไอ้หนุ่ม ไอ้ด่าง, คำประกอบหน้าชื่อผู้ชายที่มีฐานะตํ่ากว่า อย่างนายเรียกคนใช้, คำประกอบหน้าชื่อเพื่อนฝูงแสดงว่ามีความสนิทสนมมาก มักใช้กันในหมู่เด็กผู้ชาย; คำใช้ประกอบหน้าชื่อผู้ชายแสดงความดูหมิ่นเหยียดหยาม, คำประกอบคำบางคำที่ผู้ใหญ่ใช้เรียกเด็กผู้ชายหรือผู้ชายที่อายุน้อยกว่ามากด้วยความเอ็นดูหรือสนิทสนมเป็นกันเอง เช่น ไอ้หนู ไอ้น้องชาย; คำประกอบหน้าคำบางคำเพื่อเน้น เช่น ไอ้เราก็ไม่ดี ไอ้จะไปก็ไม่มีที่ไป ไอ้จะอยู่หรือก็คับใจ, คำประกอบหน้าคำบางคำเพื่อเน้นในเชิงบริภาษ เช่น ไอ้ทึ่ม ไอ้โง่ ไอ้ควาย, คำใช้แทนสิ่งที่กล่าวถึงและเป็นที่เข้าใจกัน เช่น ไอ้นั่น ไอ้นี่, เขียนเป็น อ้าย ก็มี.

สำนวน

หมายถึงน. ถ้อยคำที่เรียบเรียง, โวหาร, บางทีก็ใช้ว่า สำนวนโวหาร เช่น สารคดีเรื่องนี้สำนวนโวหารดี ความเรียงเรื่องนี้สำนวนโวหารลุ่ม ๆ ดอน ๆ; คดี เช่น ปิดสำนวน; ถ้อยคำหรือข้อความที่กล่าวสืบต่อกันมาช้านานแล้ว มีความหมายไม่ตรงตามตัวหรือมีความหมายอื่นแฝงอยู่ เช่น สอนจระเข้ให้ว่ายนํ้า รำไม่ดีโทษปี่โทษกลอง, ถ้อยคำที่แสดงออกมาเป็นข้อความพิเศษ เฉพาะภาษาหนึ่ง ๆ เช่น สำนวนฝรั่ง สำนวนบาลี, ชั้นเชิงหรือท่วงทำนองในการแต่งหนังสือหรือพูด เช่น สำนวนเจ้าพระยาพระคลัง (หน) สำนวนยาขอบ สำนวนไม้ เมืองเดิม; ลักษณนามใช้เรียกข้อความหรือบทประพันธ์รายหนึ่ง ๆ เช่น อิเหนามีหลายสำนวน บทความ ๒ สำนวน.

สุรางคนางค์

หมายถึงน. ชื่อกาพย์และฉันท์ มี ๒๘ คำ คือ มี ๗ วรรค วรรคละ ๔ คำ เช่น ตัวอย่างกาพย์ อย่าเยี่ยงหญิงชั่ว ไป่รู้คุณผัว ไม่กลัวความอาย ลิ้นลมข่มคำ ห่อนยำเยงชาย จงจิตรคิดหมาย มุ่งร้ายภรรดา. (กฤษณา), ตัวอย่างฉันท์ ชะอมชะบา มะกอกมะกา มะค่าและแค ตะขบตะค้อ สมอแสม มะกล่ำสะแก ก็แลไสว. (หลักภาษาไทย), ถ้าเป็นกาพย์ขับไม้มี ๓๖ คำ เช่น กรุงเทพเทียมทัด เทพไทเธอจัด สร้างสิ้นทั้งหลาย แทบทางวางรุกข์ ร่มเย็นเป็นสุข แซ่ซร้องหญิงชาย ไปมาค้าขาย ออกร้านเรียงราย รื่นเริงสำราญ. (กาพย์ขับไม้ กล่อมพระเศวตรัตนกรีฯ).

สุรางคนา

หมายถึงน. ชื่อกาพย์และฉันท์ มี ๒๘ คำ คือ มี ๗ วรรค วรรคละ ๔ คำ เช่น ตัวอย่างกาพย์ อย่าเยี่ยงหญิงชั่ว ไป่รู้คุณผัว ไม่กลัวความอาย ลิ้นลมข่มคำ ห่อนยำเยงชาย จงจิตรคิดหมาย มุ่งร้ายภรรดา. (กฤษณา), ตัวอย่างฉันท์ ชะอมชะบา มะกอกมะกา มะค่าและแค ตะขบตะค้อ สมอแสม มะกล่ำสะแก ก็แลไสว. (หลักภาษาไทย), ถ้าเป็นกาพย์ขับไม้มี ๓๖ คำ เช่น กรุงเทพเทียมทัด เทพไทเธอจัด สร้างสิ้นทั้งหลาย แทบทางวางรุกข์ ร่มเย็นเป็นสุข แซ่ซร้องหญิงชาย ไปมาค้าขาย ออกร้านเรียงราย รื่นเริงสำราญ. (กาพย์ขับไม้ กล่อมพระเศวตรัตนกรีฯ).

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ