ค้นเจอ 460 รายการ

จำลอง

หมายถึงก. ถ่ายแบบ เช่น จำลองจากของจริง. ว. แทน เช่น พระพุทธชินราชจำลอง, ที่ทำให้เหมือนของจริง เช่น ท้องฟ้าจำลอง.

สมณ,สมณ-,สมณะ

หมายถึง[สะมะนะ-] น. ผู้สงบกิเลสแล้ว โดยเฉพาะหมายถึงภิกษุในพระพุทธศาสนา. (ป.; ส. ศฺรมณ).

ทาน,ทาน,ทาน-

หมายถึง[ทานะ-, ทานนะ-] น. การให้, มักใช้ประกอบท้ายคำอื่น เช่น ธรรมทาน วิทยาทาน; สิ่งที่ให้ มักหมายถึงเงินหรือสิ่งของที่คนให้แก่คนยากจน, เป็นธรรมข้อ ๑ ในทศพิธราชธรรม. (ดู ทศพิธราชธรรม หรือ ราชธรรม). (ป., ส.).

อริยสัจ

หมายถึงน. ความจริงของพระอริยะ, ความจริงอันประเสริฐ; ชื่อธรรมสำคัญหมวดหนึ่งในพระพุทธศาสนา มี ๔ ข้อ คือ ๑. ทุกข์ ๒. ทุกขสมุทัย (เหตุให้เกิดทุกข์) ๓. ทุกขนิโรธ (ความดับทุกข์) และ ๔. ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา หรือ มรรค (ทางแห่งความดับทุกข์). (ป. อริยสจฺจ).

คันดาลฉัตร

หมายถึงน. คันฉัตรที่มีรูปเป็นมุมฉาก ๒ ทบอย่างลูกดาล เพื่อปักให้ฉัตรอยู่ตรงเศียรพระพุทธรูปเป็นต้น.

เปิดโลก

หมายถึงก. เผยโลกทั้ง ๓ ให้เห็นกันในวันที่พระพุทธเจ้าเสด็จลงจากดาวดึงส์. น. ชื่อพระพุทธรูปปางหนึ่ง เรียกว่า ปางพระเจ้าเปิดโลก.

ไภษัชคุรุ

หมายถึง[ไพสัดชะ-] น. พระนามพระโพธิสัตว์องค์หนึ่งในพระพุทธศาสนาฝ่ายมหายาน; ชื่อพระกริ่ง.

ทำนอง

หมายถึงน. ทาง, แบบ, แบบอย่าง, เช่น ทำนองคลองธรรม ทำนองเดียวกัน; ระเบียบเสียงสูงตํ่าซึ่งมีจังหวะสั้นยาว เช่น ทำนองสวด ทำนองเทศน์ ทำนองเพลง.

ราม

หมายถึงว. งาม เช่น นงราม; ปานกลาง, พอดีพองาม, เช่น มีพิหารอันราม มีพระพุทธรูปอันราม. (จารึกสยาม).

บริพาชก

หมายถึง[บอริพาชก] (แบบ) น. ปริพาชก, นักบวชผู้ชายนอกพระพุทธศาสนาประเภทหนึ่งในอินเดีย. (ป. ปริพฺพาชก).

ตรีกาย

หมายถึงน. พระกายทั้ง ๓ ของพระพุทธเจ้าตามคติพระพุทธศาสนา นิกายมหายาน ได้แก่ ๑. ธรรมกาย (พระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้า) ๒. สัมโภคกาย (กายทิพย์หรือกายละเอียดของพระพุทธเจ้า) และ ๓. นิรมาณกาย (กายที่เป็นขันธ์ ๕ และปรากฏแก่มนุษย์ทั่วไป ซึ่งบางทีเรียกว่า รูปกาย).

สรณคมน์,สรณาคมน์

หมายถึงน. การยึดเอาเป็นที่พึ่งที่ระลึก, ในพระพุทธศาสนาหมายถึง การถึงพระรัตนตรัยเป็นที่พึ่งที่ระลึก เรียกว่า ไตรสรณคมน์ หรือ ไตรสรณาคมน์. (ป.).

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ