ค้นเจอ 245 รายการ

ไหนจะ

หมายถึงว. สำนวนแสดงถึงความตัดพ้อต่อว่าด้วยความท้อใจเป็นต้น เช่น ไหนจะต้องเหนื่อยยากลำบากกาย ไหนจะอายทั่วทั้งโลกา. (เพลงฝรั่งรำเท้า พระราชนิพนธ์ ร. ๖).

เคี่ยวเข็ญ

หมายถึงก. บีบบังคับ, บีบคั้นให้ได้รับความลำบาก เช่น เคี่ยวเข็ญเย็นค่ำกรำไป ตามวิสัยเชิงเช่นผู้เป็นนาย. (พระราชนิพนธ์ ร. ๖); บังคับให้ทำงานให้มากขึ้น เช่น เคี่ยวเข็ญให้ขยันหมั่นเพียรในการเล่าเรียน.

สนม

หมายถึง[สะหฺนม] น. ข้าราชการในพระราชสำนักทำหน้าที่เกี่ยวกับพิธีศพ ทำสุกำศพหีบ จัดดอกไม้ ดูแลรักษาเครื่องนมัสการ โกศ หีบ เป็นต้น เรียกว่า เจ้าพนักงานสนมพลเรือน. (ข. ).

จันทรภิม

หมายถึง(โบ) น. เรียกเงินที่พระมหากษัตริย์พระราชทานแก่ผู้ทำนายจันทรุปราคาได้ถูกต้องว่า เงินจันทรภิม ในข้อความว่า เมื่อจันทรุปราคได้เงีนจันทรภิม. (สามดวง).

ห้อม

หมายถึงก. แวดล้อม ในคำว่า แห่ห้อม; (โบ) ระวังรักษา เช่น คนผู้ดังนี้ คือว่าพระราชภักดีจักช่อยห้อมบ้านห้อมเมือง (จารึกหลักที่ ๓๘ ประชุมพงศ. ภาค ๓).

ทำเนียบนาม

หมายถึงน. นามต่าง ๆ ที่พระมหากษัตริย์โปรดให้ขนานเป็นทำเนียบไว้ เช่น นามพระราชวัง นามพระที่นั่ง นามประตู นามป้อม ตลอดจนถึงนามที่ทางราชการเรียก.

โขลน

หมายถึง[โขฺลน] (โบ) น. ชื่อกรมซึ่งมีหน้าที่รักษาความสงบเรียบร้อยในพระราชฐานชั้นใน, เจ้าพนักงานหญิงในกรมโขลน มีหน้าที่คล้ายตำรวจ; ตำแหน่งราชการฝ่ายทหาร. (จารึกสยาม).

พระองค์

หมายถึง(ราชา) น. ตัว เช่น รู้สึกพระองค์ เผลอพระองค์; ลักษณนามใช้แก่พระพุทธเจ้า เทพผู้เป็นใหญ่ พระเจ้าแผ่นดิน พระราชวงศ์ตั้งแต่ชั้นพระองค์เจ้าขึ้นไป และสมเด็จพระสังฆราช เช่น พระมหากษัตริย์ ๒ พระองค์. (ราชา) ส. สรรพนามบุรุษที่ ๓ ใช้แก่พระเจ้าแผ่นดิน พระราชวงศ์ตั้งแต่ชั้นพระองค์เจ้าขึ้นไป และสมเด็จพระสังฆราช เช่น พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช พระองค์เป็นปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี.

สิงหนาท

หมายถึงน. พระราชดำรัสอันเป็นที่น่าเกรงขามของคนทั้งปวง เหมือนเสียงของราชสีห์เป็นที่น่าเกรงขามของสัตว์ทั้งปวง, เสียงตวาดของนักรบเพื่อให้เป็นที่เกรงขามของข้าศึก, สีหนาท ก็ว่า. (ส. สึห + นาท; ป. สีห + นาท).

อภัยโทษ

หมายถึง[อะไพยะโทด] (กฎ) ก. ยกโทษหรือเปลี่ยนโทษหนักเป็นเบาหรือลดโทษให้แก่ผู้ต้องคำพิพากษาให้ต้องรับโทษทางอาญาเมื่อคดีถึงที่สุดแล้ว เป็นพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ตามรัฐธรรมนูญ.

เงินปี

หมายถึง(กฎ) น. เงินที่มีกำหนดจ่ายเป็นรายปีให้แก่พระบรมวงศานุวงศ์หรือข้าราชบริพารจากเงินงบประมาณรายจ่ายหมวดเงินอุดหนุนของสำนักพระราชวัง, โบราณเรียก เบี้ยหวัด หรือ เบี้ยหวัดเงินปี.

คำหลวง

หมายถึงน. คำประพันธ์ซึ่งเป็นพระราชนิพนธ์ มีโคลงฉันท์กาพย์กลอนปนกัน คือ มหาชาติคำหลวงและพระนลคำหลวง, คำประพันธ์ที่แต่งมีลักษณะอย่างมหาชาติคำหลวง คือ นันโทปนันทสูตรคำหลวง และพระมาลัยคำหลวง.

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ