ค้นเจอ 338 รายการ

มิ

หมายถึงก. เฉย, ไม่ค่อยพูดจา, เช่น รามสูรได้ยินสิ้นสติลงนั่งมิจะทำกระไรได้. (บทระบำตลก พระราชนิพนธ์ ร.๕).

กฤษฎา

หมายถึง[กฺริดสะดา] (โบ; กลอน; แผลงมาจาก กฤด) ว. ที่ทำแล้ว เช่น เพื่อพระราชกฤษฎา แต่กี้ (ราชกิจที่ทรงทำมาแล้ว). (ตะเลงพ่าย).

กระดาษว่าว

หมายถึงน. กระดาษที่ใช้ทำว่าว เป็นกระดาษที่เหนียวและไม่โปร่ง ลมรั่วไม่ได้ เดิมใช้กระดาษที่สั่งมาจากเมืองจีน ต่อมาใช้กระดาษจากญี่ปุ่น.

ดราฟต์

หมายถึงน. ตราสารซึ่งธนาคารเป็นผู้ออก สั่งธนาคารตัวแทนของตนให้จ่ายเงินจำนวนหนึ่งแก่ผู้รับตามที่ได้ระบุชื่อไว้หรือตามคำสั่งของผู้รับ. (อ. draft).

วัง

หมายถึงน. ที่อยู่ของเจ้านาย, ถ้าเป็นที่อยู่ของพระมหากษัตริย์เรียก พระราชวัง หรือ พระบรมมหาราชวัง; ห้วงนํ้าลึก เช่น วังจระเข้. ก. ล้อม, ห้อมล้อม.

บาแดง

หมายถึง(โบ) น. คนเดินหมาย, คนนำข่าวสาร, ผู้สื่อข่าว, นักการ; พนักงานตามคน, ตำแหน่งข้าราชการในสำนักพระราชวัง, ประแดง ก็ใช้.

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

หมายถึงน. สิ่งซึ่งเป็นเครื่องหมายแสดงเกียรติยศและบำเหน็จความชอบ เป็นของพระมหากษัตริย์ทรงสร้างหรือโปรดให้สร้างขึ้นสำหรับพระราชทานเป็นบำเหน็จความชอบในราชการหรือส่วนพระองค์, เรียกเป็นสามัญว่า ตรา, ปัจจุบันหมายความรวมถึงเครื่องราชอิสริยาภรณ์สำหรับพระราชทานแก่ผู้กระทำความดีความชอบอันเป็นประโยชน์แก่ประเทศ ศาสนา และประชาชน และเหรียญที่ระลึกที่พระราชทานเป็นบำเหน็จความชอบในโอกาสต่าง ๆ และที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้บุคคลประดับได้อย่างเครื่องราชอิสริยาภรณ์ตามที่ทางราชการกำหนด.

พระองค์เจ้า

หมายถึงน. ยศสำหรับพระราชโอรสหรือพระราชธิดาของพระมหากษัตริย์ที่ประสูติแต่สามัญชน, ยศสำหรับพระโอรสหรือพระธิดาในพระองค์เจ้าลูกหลวงที่ประสูติแต่พระมารดาเป็นพระองค์เจ้า, ยศสำหรับพระโอรสหรือพระธิดาในสมเด็จเจ้าฟ้าที่พระมารดาเป็นเจ้า, ยศสำหรับหม่อมเจ้าหรือผู้ที่ตํ่ากว่าหม่อมเจ้าที่ได้รับสถาปนา.

หมายค้น

หมายถึง(กฎ) น. หมายอาญาที่สั่งให้เจ้าหน้าที่ตรวจค้น เพื่อยึดสิ่งของหรือจับกุมบุคคลซึ่งมีหมายให้จับ หรือเพื่อช่วยบุคคลซึ่งถูกหน่วงเหนี่ยวหรือกักขังโดยมิชอบด้วยกฎหมาย.

หมูเขี้ยวตัน

หมายถึง(ปาก) น. บุคคลที่คิดว่าจะหลอกหรือเอาชนะได้ง่าย ๆ แต่กลับปรากฏว่าตรงกันข้าม เช่น นักมวยที่สั่งมาชกโดยคิดว่าจะเป็นหมู กลับกลายเป็นหมูเขี้ยวตันไป.

ชทึง

หมายถึง[ชะ-] (กลอน) น. แม่นํ้า เช่น ชลชทึงบึงบาง. (ประกาศพระราชพิธี), ใช้ว่า จทึง ฉทึง ชรทึง สทิง สทึง หรือ สรทึง ก็มี. (ข. สฺทิง ว่า คลอง).

แก้ฟ้อง

หมายถึง(กฎ) ก. แก้ไขคำฟ้องตามที่ศาลสั่งในกรณีที่คำฟ้องไม่ถูกต้องตามกฎหมาย; ยื่นคำให้การเป็นข้อต่อสู้คดีเพื่อแก้คำฟ้อง.

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ