ค้นเจอ 1,911 รายการ

พิหาร

หมายถึง[พิหาน] น. ที่อยู่ของพระสงฆ์, วัด; วิหาร, ที่ซึ่งประดิษฐานพระพุทธรูป, คู่กับอุโบสถ. (ป. วิหาร).

สังฆปาโมกข์

หมายถึงน. หัวหน้าสงฆ์. (ป.).

โคตรภู

หมายถึง[โคดตฺระพู] (แบบ) น. บุคคลผู้ตั้งอยู่ในญาณซึ่งเป็นลำดับอริยมรรค, พระสงฆ์ที่ไม่เคร่งครัดในศาสนา มีขนบธรรมเนียมห่างจากธรรมวินัย แต่ยังถือตนว่าเป็นภิกษุสงฆ์อยู่ เรียกว่า โคตรภูสงฆ์. (ส. โคตฺรภู ว่า อ้างแต่เพศ ไม่มีคุณความดีของเพศ).

ยติ

หมายถึงน. ผู้สำรวมอินทรีย์, พระภิกษุ. (ป.; ส. ยติ, ยตินฺ).

บิณฑบาต

หมายถึงน. อาหาร (ใช้แก่พระภิกษุสามเณร) เช่น รับบิณฑบาต. ก. กิริยาที่พระภิกษุสามเณรรับของที่เขานำมาใส่บาตร, โดยปริยายหมายถึงกิริยาที่พระภิกษุสามเณรขอหรือขอร้อง เช่น เรื่องนี้ขอบิณฑบาตให้เลิกแล้วต่อกัน. (ป. ปิณฺฑปาต ว่า ก้อนข้าวที่ตก).

โยม

หมายถึงน. คำที่พระสงฆ์ใช้เรียกบิดามารดาของตนหรือเรียกผู้ใหญ่รุ่นราวคราวเดียวกับบิดามารดา เช่น โยมพ่อ โยมแม่ โยมย่า โยมยาย โยมน้า; เป็นคำใช้แทนชื่อบิดามารดาของพระภิกษุสามเณร; เรียกผู้ที่เป็นบิดามารดาของพระว่า โยมพระ; เรียกผู้ที่แสดงตนเป็นผู้อุปการะพระภิกษุสามเณรโดยเจาะจงว่า โยมอุปัฏฐาก; เรียกฆราวาสที่อยู่ปฏิบัติรับใช้พระภิกษุสามเณรในวัดว่า โยมวัด; เรียกฆราวาสผู้อุปการะพระทั่ว ๆ ไป ว่า โยมสงฆ์.

ธรรมาสน์

หมายถึง[ทำมาด] น. ที่สำหรับพระภิกษุสามเณรนั่งแสดงธรรม. (ส.).

สันถัต

หมายถึงน. ผ้าที่พระภิกษุรองนั่ง. (ป. สนฺถต ว่า ปูแล้ว, ลาดแล้ว).

สังฆทาน

หมายถึงน. ทานที่ทายกถวายแก่สงฆ์หรือภิกษุโดยไม่เจาะจงรูปใดรูปหนึ่ง, คู่กับ บุคลิกทาน. (ป.).

แม่กองธรรมสนามหลวง

หมายถึงน. พระเถระผู้มีหน้าที่รับผิดชอบในการสอบไล่พระปริยัติธรรม แผนกนักธรรมและธรรมศึกษาของคณะสงฆ์.

ข้าพระ

หมายถึง(โบ) น. ผู้ที่นายเงินทำหนังสือสำคัญยกให้เป็นคนใช้ของสงฆ์, คนที่พระเจ้าแผ่นดินพระราชทานแก่พระสงฆ์ เพื่อรักษาวัดและปฏิบัติพระสงฆ์.

ร่วมสังฆกรรม

หมายถึงก. อาการที่พระสงฆ์ทำสังฆกรรมร่วมกัน, (ปาก) ทำงานร่วมกัน เช่น ฉันเข้าร่วมสังฆกรรมกับเขา.

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ