ค้นเจอ 59 รายการ

ท้องขาว

หมายถึงน. เรียกผ้าที่มีส่วนกลางขาวว่า ผ้าท้องขาว เช่น ผ้าท้องขาวเชิงชายเขียน. (พงศ. เลขา), ถ้ามีส่วนกลางเขียว เรียกว่า ผ้าท้องเขียว เช่น ผ้าท้องเขียวชายกรวย. (พงศ. เลขา).

ปัถวี

หมายถึง[ปัดถะ-] น. ท้ายเรือพิธี เช่น หางตาเรือก็กลับไปข้างปัถวี. (พงศ. เลขา).

โขยม

หมายถึง[ขะโหฺยม] (โบ) น. ขยม, ข้า, บ่าว, เช่น ไว้โขยมวัดสามครัว. (พงศ. โยนก). (ข. ขฺญฺ ํ).

ขวง

หมายถึงน. ข่วง, บริเวณ, ลาน, เช่น ให้ยกหอกลองยังขวงหลวงริมสนาม. (พงศ. โยนก).

ผย่ำเผยอ

หมายถึง[ผะหฺยํ่าผะเหฺยอ] ก. ปํ้า ๆ เป๋อ ๆ เช่น ทำหาวเรอพูดผยํ่าเผยอ. (พงศ. เลขา).

กระจร

หมายถึง(กลอน) น. ต้นสลิด เช่น กระทุ่มกระจรแล้ คชน้าวกาหลง. (พงศ. เหนือ). (แผลงมาจาก ขจร).

นายประเพณี

หมายถึง(โบ) น. หัวหน้ารักษาประโยชน์ของวัดและบำรุงวัดได้บังคับว่ากล่าวทั่วไป (ทำนองมรรคนายก). (ประชุมพงศ.).

หางข้าว

หมายถึงน. ข้าวเปลือกที่ยังมีข้าวลีบปนอยู่มาก; (โบ) จำนวนข้าวที่หลวงเรียกเก็บเป็นภาษี. (พงศ. ร. ๒).

คชราช

หมายถึง[คดชะราด] น. คุดทะราด เช่น ประชวรพระโรคสำหรับบุรุษกลายเป็นพระโรคคชราช. (พงศ. เลขา).

น้อย

หมายถึง(ถิ่น-พายัพ) น. คำเติมหน้าชื่อแห่งผู้ที่ได้บวชเป็นสามเณรแล้ว, ถ้าได้บวชเป็นภิกษุเติมหน้าชื่อว่า หนาน. (พงศ. ร. ๒).

กะอูบ

หมายถึง(ถิ่น-พายัพ) น. ผอบ เช่น จึงแก้เอาเสื้อและผ้าคาดศีรษะใส่ในกระอูบคำ. (ประชุมพงศ. ๑๐).

ดัดดั้น

หมายถึงก. ตัดทางไป, ลัดทางไป, เช่น ก็รีบลัดดัดดั้นตามไป. (อิเหนา), ดั้นดัด ก็ใช้ เช่น ดั้นดัดลัดพงดงดาน. (รามเกียรติ์ ร. ๑).

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ