ค้นเจอ 185 รายการ

ติด

หมายถึงก. อาการที่ข้องอยู่ เช่น ติดอยู่ในโลก ติดอยู่ในกิเลส; ประดับ เช่น ติดเหรียญ ติดตรา เอาดอกไม้ติดผม; แนบอยู่ เช่น เนื้อติดมัน เนื้อติดกระดูก; ทำให้เกิดขัดอยู่หรือข้องอยู่จนไม่อาจให้เคลื่อนไปได้ เช่น ติดขบวนแห่ ติดไฟแดง ติดฝน; ชอบอย่างขาดไม่ได้ เช่น ติดบุหรี่ ติดฝิ่น; อาศัยไปด้วยหรือมาด้วย เช่น ติดรถไปด้วย; ผนึก เช่น ติดแสตมป์ ติดประกาศ ติดกาว; จุด เช่น ติดไฟ ติดตะเกียง ติดเตาฟู่; ต่อเนื่องอย่างใกล้ชิด เช่น ห้องติดกัน; ได้รับเชื้อโรค เช่น ติดหิด; คงอยู่หรือทำให้คงอยู่ เช่น สีติดเสื้อ เสื้อติดสี; ไม่ร่วง, ไม่หลุด, (ใช้แก่ผลไม้) เช่น มะม่วงปีนี้ติดมาก; อยู่ในที่คุมขัง เช่น ติดคุก ติดตะราง; กักบริเวณ เช่น ติดสนม; คล้าย, ใกล้ข้าง, เช่น หน้าตาติดไปทางพ่อ; (ปาก) มีหนี้สินติดค้างกันอยู่ เช่น ติดเงิน.

หมอ

หมายถึงน. ชื่อปลานํ้าจืดชนิด Anabas testudineus ในวงศ์ Anabantidae ลำตัวป้อม แบนข้าง ท้องกลม คอดหางกว้าง หัวโต ปากซึ่งอยู่ปลายสุดของหัวกว้างและเชิดขึ้นเล็กน้อย ยืดหดไม่ได้ ฟันเล็กแต่แข็งแรง เกล็ดแข็ง ขอบเป็นจักคล้ายหนามยึดแน่นกับหนังและคลุมตลอดทั้งลำตัวและหัว กระดูกแผ่นปิดเหงือกหยักเป็นหนาม ใช้แถกเพื่อช่วยยึดยันให้เคลื่อนไปบนบกได้ดี ขอบครีบต่าง ๆ กลม ลำตัวและครีบมีสีดำคลํ้า ส่วนปลาขนาดเล็กมีสีจางกว่าและมีลายบั้งพาดลำตัวเป็นระยะ ๆ อาศัยอยู่ในแหล่งนํ้าแทบทุกประเภท พบขึ้นมาบนบกในฤดูฝนเสมอ ซึ่งเป็นธรรมชาติการย้ายถิ่นที่อยู่อาศัยแบบหนึ่ง และยังแสดงให้เห็นความสามารถในการหายใจในที่ดอนได้อีกด้วย ขนาดยาวได้ถึง ๒๕ เซนติเมตร, หมอไทย หรือ สะเด็ด ก็เรียก, อีสานเรียก เข็ง.

เสีย

หมายถึงก. เสื่อมลงไป, ทำให้เลวลงไป, เช่น เสียเกียรติ เสียศักดิ์ศรี เสียชื่อ; สูญไป, หมดไป, สิ้นไป, เช่น เสียแขน เสียชีวิต เสียทรัพย์; ชำรุด เช่น ถนนเสีย ทางเสีย; ใช้ไม่ได้ เช่น เครื่องไฟฟ้าเสียหมดทุกอย่าง รถเสียกลางทาง; ยับเยิน, ย่อยยับ, เช่น ปีนี้ฝนแล้งจัดเรือกสวนไร่นาเสียหมด, เสียหาย ก็ว่า; บูด เช่น แกงหม้อนี้เสียหมดทั้งหม้อ, เน่า เช่น ผลไม้เข่งนี้เสียแล้ว; ไม่ดี เช่น ราขึ้น ขนมปังจึงเสียหมดทั้งแถว เธอดัดผมบ่อยเกินไป ทำให้ผมเสีย; จ่ายเงิน, ชำระเงิน, เช่น เสียภาษี เสียค่าโทรศัพท์; หมดทรัพย์สินไปเพราะการพนัน เช่น เสียไพ่ เสียม้า; ตาย เช่น เขาเสียไปหลายปีแล้ว; (โบ) ทิ้ง เช่น ที่ขวากหนามอย่าเสียเกือก. (สุภาษิตพระร่วง), เสียไฟเป่าหิ่งห้อย. (ลอ). ว. ที่ไม่ดี เช่น นิสัยเสีย น้ำเสีย; พิการ เช่น ตาเสีย ขาเสีย; บูด เช่น อย่ากินแกงเสีย จะปวดท้อง.

หน้า

หมายถึงน. ส่วนของศีรษะตั้งแต่หน้าผากลงมาจดคาง; ซีกของกายที่ตรงข้ามกับหลัง, ด้านของสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่อยู่ตรงข้ามกับสายตาของเราหรือด้านที่เผชิญหน้ากับสายตาของเรา เช่น เขาวิ่งอยู่หน้าฉัน จึงเห็นแต่หลังเขาไว ๆ; ส่วนบนของบางสิ่ง เช่น หน้าขนม ข้าวเหนียวหน้าสังขยา หน้าปกหนังสือ; เครื่องปรุงที่แต่งหรือโรยบนอาหารบางอย่าง เช่น กระเทียมเจียวโรยหน้าข้าวต้ม; ด้านหนึ่ง ๆ ของวัตถุแบน ๆ อย่างกระดาษ เช่น หน้ากระดาษ หน้าซอง, ด้านของเครื่องตีที่ขึงด้วยหนัง เช่น หน้ากลอง, ด้านหนึ่ง ๆ ของลูกเต๋าและนํ้าเต้าซึ่งมี ๖ ด้าน; ส่วนกว้างของแผ่นกระดาน เสาเหลี่ยมหรือผืนผ้า เป็นต้น; ชายผ้าบางชนิดที่มีลวดลาย, ด้านของผ้าที่มีลวดลายชัดกว่า; คราว เช่น เมื่อข้าวสุกแล้วก็ถึงหน้าเก็บเกี่ยว, ฤดู เช่น หน้าฝน หน้าทุเรียน; โดยปริยายหมายถึงคน เช่น เขาสู้ทุกคนไม่ว่าหน้าไหน; เกียรติและศักดิ์ศรี เช่น เห็นแก่หน้า ไม่ไว้หน้า; ลักษณนามบอกจำนวนด้านของแผ่นกระดาษ เช่น หนังสือเล่มนี้มี ๒๐๐ หน้า. ว. ถัดไป เช่น อาทิตย์หน้า ฉบับหน้า; ตรงข้ามกับ หลัง (ใช้แก่เวลาที่ยังมาไม่ถึง) เช่น วันหน้า เดือนหน้า ปีหน้า, อยู่ตรงข้ามกับข้างหลัง เรียกว่า ข้างหน้า.

ตก

หมายถึงก. กิริยาที่ลดลงสู่ระดับตํ่าในอาการอย่างพลัดลง หล่นลง เช่น ตกบันได ตกต้นตาล เครื่องบินตก; ไหลลง, หยดลงมา, เช่น นํ้าตก ฝนตก เหงื่อตก; ลดลง เช่น ฝีมือตก มือตก เสียงตก; เพาะข้าวลงในตากล้า เรียกว่า ตกกล้า; เอาเบ็ดเกี่ยวเหยื่อหย่อนลงไปให้ปลาหรือกุ้งกินแล้ววัดหรือสาวขึ้นมา เช่น ตกปลา ตกกุ้ง; ย่างเข้า เช่น ตกเย็น ตกคํ่า ตกฤดูหนาว; เรียกสีที่ละลายออกหรือจางไปในเวลาซักหรือถูกแดดเป็นต้นว่า สีตก; ได้, ถึง, เช่น ตกทุกข์ ตกระกำลำบาก; มาถึง เช่น คำสั่งยังไม่ตก ของที่สั่งตกมาแล้ว; ขาดหายไป เช่น เขียนหนังสือตก; เขียนคำที่ขาดเติมลง เช่น ตกหนังสือ; ไม่ได้ขึ้นยานพาหนะเพราะไปไม่ทันหรือไม่มีค่าโดยสาร เช่น ตกรถ ตกเรือ; เอาเงินหรือสิ่งของให้ไปก่อนแล้วคิดเอาเป็นพืชผลภายหลังตามแต่จะตกลงกัน เช่น ตกข้าว คือ เอาเงินให้ไปก่อนแล้วคิดเอาข้าวทีหลัง; โดยปริยายหมายความว่า ลดลงตํ่า เป็นอาการแสดงว่า กลัว ยอมแพ้ หรือหมดกำลัง เป็นต้น เช่น คอตก หัวตก หางตก. ว. สำเร็จ เช่น แก้ตก ปลงตก คิดตก.

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ