ค้นเจอ 680 รายการ

เยียรบับ

หมายถึง[-ระบับ] น. ผ้าซึ่งทอด้วยทองแล่งกับไหมแต่มีไหมน้อยกว่า, ส้ารบับ ก็ว่า.

ผ้าดำ

หมายถึงน. ผ้าด้ายชนิดย้อมมะเกลือ ใช้เป็นผ้านุ่งไว้ทุกข์.

พันธนำ

หมายถึง[-ทะนำ] น. ผ้าพันศพผู้มีฐานันดรศักดิ์.

เข้มขาบ

หมายถึงน. ผ้าที่ทอควบกับทองแล่งเป็นริ้ว ๆ ตามยาว. (อิหร่าน).

เข็มหมุด

หมายถึงน. เข็มที่มีหัวเป็นปุ่มใช้กลัดกระดาษหรือผ้าเป็นต้น.

ชื้น

หมายถึงว. มีไอนํ้าซึมซาบอยู่ เช่น อากาศชื้น, ไม่แห้งทีเดียว เช่น ผ้าชื้น.

ทศ,ทศ,ทศา

หมายถึง[ทด, ทะสา] (แบบ) น. ชายผ้า, ชายครุย. (ส.).

กาษา,กาสา,กาสา

หมายถึงน. ผ้าชนิดหนึ่ง เช่น คลังถวายผ้ากาษา. (กฎ. ราชบุรี ๒/๑๐๗), และพระไตรภูวนาทิตยวงศ์ก็ให้ผ้าลายและเสื้อกาสาคนละสำรับ. (พงศ. กรุงเก่า), ฝันว่าห่มผ้าขาวกาสา. (ตำราทำนายฝัน). (ทมิฬและมลายู กาสา ว่า ผ้าดิบ, ผ้าหยาบ).

โจงกระเบน

หมายถึงก. ม้วนชายผ้านุ่งแล้วสอดไปใต้หว่างขา ดึงขึ้นไปเหน็บขอบผ้านุ่งด้านหลังระดับบั้นเอว, เรียกวิธีนุ่งผ้าเช่นนั้นว่า นุ่งผ้าโจงกระเบน.

ฉีก

หมายถึงก. ขาดแยกออกจากกันหรือทำให้ขาดหรือแยกออกจากกัน เช่น ผ้าฉีก ฉีกผ้า ฉีกทุเรียน, โดยปริยายหมายความว่า แยกสิ่งที่เป็นคู่หรือเป็นสำรับออกจากกัน เช่น ฉีกตองไพ่.

เชิง

หมายถึงน. ตีนซึ่งเป็นฐานที่ตั้งของบางสิ่งบางอย่าง เช่น เชิงเทียน เชิงเขา เชิงกำแพง, ชายหรือปลายของบางสิ่งบางอย่างที่ยื่นออกมา เช่น เชิงตะพาบนํ้า เชิงปลากราย เชิงเลน เชิงกลอน, ริมหรือชายด้านล่างของผ้าที่มีลวดลายเช่น เชิงผ้า เชิงผ้าซิ่น.

บังสุกุล

หมายถึงน. เรียกผ้าที่พระภิกษุชักจากศพ หรือที่ทอดไว้หน้าศพ หรือที่ทอดบนด้ายสายสิญจน์หรือผ้าภูษาโยงที่ต่อจากศพด้วยการปลงกรรมฐานว่า ผ้าบังสุกุล, เรียกกิริยาที่พระภิกษุชักผ้าเช่นนั้นว่า ชักบังสุกุล, (ปาก) บังสกุล ก็ว่า. (ป. ปํสุกูล ว่า ฝั่งแห่งฝุ่น, กองฝุ่น, คลุกฝุ่น; ส. ปำสุกูล).

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ