ค้นเจอ 703 รายการ

ยี่โป้

หมายถึงน. ผ้าสำหรับพาดไหล่ หรือคาดพุง.

ร่ำ

หมายถึงก. อบ, ปรุง, เช่น ร่ำแป้ง ร่ำผ้า.

ด้ายซัง

หมายถึงน. ด้ายทอที่ตัดจากผ้าทิ้งอยู่ในหูก.

ประเจียด

หมายถึงน. ผ้าลงเลขยันต์ถือกันว่าเป็นเครื่องป้องกันอันตรายได้ ใช้เป็นผ้าผูกคอหรือผูกต้นแขนเป็นต้น.

จู้

หมายถึง(ถิ่น-อีสาน) น. นม, ใช้ว่า นมจู้ เช่น มาฉกชักผ้าห่มชมชู นมจู้เจ้าเณรนี้ราคี. (ขุนช้างขุนแผน). (ถิ่น-พายัพ) ก. จี้, จ่อ, ไช.

อังส,อังส-,อังสะ

หมายถึง[อังสะ-] น. เรียกผ้าที่พระภิกษุสามเณรใช้ห้อยเฉวียงบ่าว่า ผ้าอังสะ; ส่วน, ภาค; ส่วนของมุม. (ป. อํส).

โขม,โขม-

หมายถึง[โขมะ-] (แบบ) น. โกษม, ผ้าใยไหม (ผ้าลินิน), ผ้าขาว, ผ้าป่าน, ใช้เป็นศัพท์ประกอบว่า โขมพัตถ์ โขมพัสตร์ และแผลงเป็น โขษมพัสตร์ ก็มี. (ป.; ส. เกฺษาม).

ไตรจีวร

หมายถึง[-จีวอน] น. ผ้า ๓ ผืนของภิกษุ คือ อันตรวาสก (สบง) อุตราสงค์ (จีวร) และสังฆาฏิ (ผ้าทาบ), เรียกสั้น ๆ ว่า ผ้าไตร หรือ ไตร เช่น ไตรครอง ดอกไม้คลุมไตร.

ตะแบงมาน

หมายถึงว. วิธีห่มผ้าแถบแบบหนึ่ง โดยคาดผ้าอ้อมตัวแล้วเอาชายทั้ง ๒ ไขว้ไปผูกที่ต้นคอ, ตะเบ็งมาน ก็ว่า.

ท้องฉนวน

หมายถึงน. ทางเดินสำหรับฝ่ายในซึ่งกั้นด้วยผ้าหรือม่านเป็นต้น.

เทิบ,เทิบ ๆ,เทิบทาบ

หมายถึงว. ไม่รัดกุม, หย่อนยาน, เช่น สวมเสื้อผ้าเทิบทาบ.

กาศิกพัสตร์

หมายถึงน. ผ้าเนื้อละเอียดมาจากแคว้นกาสี. (ส.).

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ