ค้นเจอ 3,934 รายการ

เรา

หมายถึงสรรพนามบุรุษที่ ๑ เป็นคำแทนตัวผู้พูด จะเป็นคนเดียวหรือหลายคนก็ได้ ถ้าผู้พูดเป็นคนคนเดียว อาจพูดแทนคนอื่น ๆ รวมทั้งตัวเองด้วย เช่น เราทุกคนเป็นคนไทย หรืออาจพูดกับผู้ที่มีฐานะเสมอกัน เช่น เรามีความเห็นอย่างนี้ เธอมีความเห็นอย่างไร หรืออาจพูดกับผู้ที่มีฐานะต่ำกว่า เช่น อธิบดีพูดกับนักการว่า ปีนี้เราจะขึ้นเงินเดือนให้ ๒ ขั้น, สรรพนามบุรุษที่ ๒ เป็นคำใช้สำหรับผู้มีอำนาจหรือผู้ใหญ่พูดกับผู้น้อย เช่น เจ้าหน้าที่ถามผู้ต้องหาว่า เราจะรับสารภาพไหม.

ศฐะ

หมายถึง[สะ-] น. คนโกง, คนล่อลวง; คนโอ้อวด. (ส.; ป. ส).

ธรรมะธัมโม

หมายถึงว. เรียกคนที่เคร่งครัดในศาสนาว่า คนธรรมะธัมโม.

เกร่อ

หมายถึง[เกฺร่อ] ว. ลักษณะบางอย่างที่เกี่ยวกับเรื่องกินเรื่องใช้เป็นต้นที่คนโดยมากมักทำกัน เช่น กินกันเกร่อ เที่ยวกันเกร่อ ใช้กันเกร่อ.

นานาจิตตัง

หมายถึงว. ต่างจิตต่างใจ, ต่างคนก็ต่างความคิดเช่นคนหนึ่งถูกกับอากาศเย็น แต่อีกคนหนึ่งถูกกับอากาศร้อน.

มิคลุท,มิคลุทกะ

หมายถึง[-ลุด, -ลุดทะกะ] น. พรานเนื้อ, คนที่เที่ยวฆ่าสัตว์ในป่าเป็นอาชีพ. (ป. มิคลุทฺท, มิคลุทฺทก).

วาโมร

หมายถึง[-โมน] น. คนป่า, คนรำ. (ช.).

ภักษการ

หมายถึงน. คนทำอาหาร, คนครัว. (ส.).

วิ่งวัว

หมายถึงก. ให้คน ๒ คนวิ่งแข่งกัน, วิ่งงัว ก็ว่า.

เอกภักดิ์

หมายถึง[เอกกะ-] ว. จงรักต่อคนคนเดียว, ซื่อตรง.

คนรักเท่าผืนหนัง คนชังเท่าผืนเสื่อ

หมายถึง(สำ) น. คนรักมีน้อย คนชังมีมาก.

มือต้น

หมายถึง(ศิลปะ) น. ผู้ที่ลงมือทำงานเพียงคร่าว ๆ เป็นคนแรก.

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ