ค้นเจอ 201 รายการ

ตะกั่ว

หมายถึงน. แร่จำพวกโลหะ มีลักษณะอ่อน ละลายตัวง่าย มีหลายชนิดด้วยกัน ได้แก่ ตะกั่วเกรียบ คือ ตะกั่วกรอบ ตะกั่วนม คือ ตะกั่วอ่อน; (โบ) ดีบุก เช่น ตะกั่วทุ่ง ตะกั่วป่า; (วิทยา) ธาตุลำดับที่ ๘๒ สัญลักษณ์ Pb เป็นโลหะสีขาวแกมนํ้าเงิน ลักษณะเป็นของแข็ง เนื้ออ่อน หลอมละลายที่ ๓๒๗.๔ °ซ. ใช้ประโยชน์ผสมกับโลหะอื่นให้เป็นโลหะเจือ สารประกอบของตะกั่วใช้ในอุตสาหกรรมสีทา ตะกั่วและสารประกอบของตะกั่วเป็นพิษต่อร่างกาย. (อ. lead).

มอด

หมายถึงน. ชื่อแมลงขนาดเล็กหลายชนิดในหลายวงศ์ที่เจาะกินเข้าไปในวัสดุต่าง ๆ ทำให้เกิดเป็นรูพรุนทั่วไปกับทั้งมีวัสดุผสมมูลขับถ่ายออกมาเป็นขุยเป็นเม็ดเล็ก ๆ เรียก ขี้มอด ส่วนใหญ่เป็นแมลงปีกแข็ง เช่น มอดข้าวสาร (Sitophilus oryzae) ในวงศ์ Curculionidae ทำลายข้าวสาร, มอดไม้ไผ่ (Dinoderus minutus) ในวงศ์ Bostrychidae เจาะไม้ไผ่แห้งเป็นรูเท่ารูเข็มกระจายทั่วไป; เรียกหน้าที่เป็นรอย ๆ อย่างมอดเจาะเช่นหน้าคนที่เป็นฝีดาษว่า หน้ามอด.

อากาศ-

หมายถึง[อากาดสะ-] น. แก๊สผสมที่ประกอบด้วยไนโตรเจนและออกซิเจนเป็นส่วนใหญ่ ใช้หายใจหรือช่วยในการเผาไหม้เป็นต้น; (ปรัชญา) ที่ที่ว่างเปล่าซึ่งมีอยู่เป็นเอกเทศจากสสาร, เป็นธาตุอย่าง ๑ ใน ๖ คือ ปฐวีธาตุ (ธาตุดิน) อาโปธาตุ (ธาตุนํ้า) เตโชธาตุ (ธาตุไฟ) วาโยธาตุ (ธาตุลม) อากาศธาตุ (ที่ว่างเปล่า) และวิญญาณธาตุ (ธาตุรู้); ท้องฟ้า เช่น นกบินไปในอากาศ; บางทีใช้หมายถึงสภาพดินฟ้าอากาศโดยทั่ว ๆ ไป เช่น เช้านี้อากาศดีจัง. (ส.; ป. อากาส).

อากาศ

หมายถึง[อากาด] น. แก๊สผสมที่ประกอบด้วยไนโตรเจนและออกซิเจนเป็นส่วนใหญ่ ใช้หายใจหรือช่วยในการเผาไหม้เป็นต้น; (ปรัชญา) ที่ที่ว่างเปล่าซึ่งมีอยู่เป็นเอกเทศจากสสาร, เป็นธาตุอย่าง ๑ ใน ๖ คือ ปฐวีธาตุ (ธาตุดิน) อาโปธาตุ (ธาตุนํ้า) เตโชธาตุ (ธาตุไฟ) วาโยธาตุ (ธาตุลม) อากาศธาตุ (ที่ว่างเปล่า) และวิญญาณธาตุ (ธาตุรู้); ท้องฟ้า เช่น นกบินไปในอากาศ; บางทีใช้หมายถึงสภาพดินฟ้าอากาศโดยทั่ว ๆ ไป เช่น เช้านี้อากาศดีจัง. (ส.; ป. อากาส).

ชันโรง

หมายถึง[ชันนะ-] น. ชื่อผึ้งขนาดเล็กหลายชนิดในวงศ์ Apidae เช่น ชนิด Trigona terminata, Melipona apicalis โดยทั่วไปมีขนาดลำตัวยาวไม่เกิน ๑๐ มิลลิเมตร อกกว้างไม่เกิน ๒.๕ มิลลิเมตร อยู่รวมกันเป็นฝูงและแบ่งวรรณะเป็นผึ้งผู้ ผึ้งเมีย และผึ้งงานเหมือนกัน แต่ผึ้งงานไม่มีเหล็กในเหมือนผึ้งธรรมดา รังทำจากขี้ผึ้งผสมขี้ดินและยางไม้ ขนาดหอยโข่งหรือตะโหงกวัว จึงมักจะเรียกผึ้งหอยโข่ง หรือผึ้งตะโหงกวัว แต่มีชื่ออื่นอีกมากมายแตกต่างไปตามท้องถิ่น เช่น หูด ขี้ตังนี หรือ กินชัน, อีสานเรียก ขี้สูด.

เม่า

หมายถึงน. เรียกข้าวเปลือกข้าวเหนียวที่ยังไม่แก่จัดเอามาคั่วแล้วตำให้แบนว่า ข้าวเม่า, ข้าวเม่าที่เอามาคั่วให้กรอบ เรียกว่า ข้าวเม่าราง นิยมกินกับน้ำกะทิ, ข้าวเม่ารางทอดแล้วใส่เครื่องปรุง มีกุ้งแห้งทอด ถั่วลิสงทอด เต้าหู้ทอด กระเทียมเจียว น้ำตาล เกลือ เรียกว่า ข้าวเม่าหมี่, ข้าวเม่าที่พรมน้ำเกลือให้นุ่มคลุกกับมะพร้าวขูดแล้วโรยน้ำตาลทราย เรียกว่า ข้าวเม่าคลุก นิยมกินกับกล้วยไข่, ข้าวเม่าผสมน้ำตาล มะพร้าวขูด พอกกล้วยไข่ ชุบแป้งทอดน้ำมันให้ติดกันเป็นแพแล้วโรยด้วยแป้งทอด เรียกว่า ข้าวเม่าทอด.

ยาเสพติดให้โทษ

หมายถึง(กฎ) น. สารเคมีหรือวัตถุชนิดใด ๆ ซึ่งเมื่อเสพเข้าสู่ร่างกายไม่ว่าจะโดยรับประทาน ดม สูบ ฉีด หรือด้วยประการใด ๆ แล้วทำให้เกิดผลต่อร่างกายและจิตใจในลักษณะสำคัญ เช่นต้องเพิ่มขนาดการเสพขึ้นเป็นลำดับ มีอาการถอนยาเมื่อขาดยา มีความต้องการเสพทั้งทางร่างกายและจิตใจอย่างรุนแรงตลอดเวลา และสุขภาพโดยทั่วไปจะทรุดโทรมลง กับรวมตลอดถึงพืชหรือส่วนของพืชที่เป็นหรือให้ผลผลิตเป็นยาเสพติดให้โทษ หรืออาจใช้ผลิตเป็นยาเสพติดให้โทษและสารเคมีที่ใช้ในการผลิตยาเสพติดให้โทษด้วย ทั้งนี้ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขประกาศในราชกิจจานุเบกษา แต่ไม่หมายความถึงยาสามัญประจำบ้านบางตำรับตามกฎหมายว่าด้วยยาที่มียาเสพติดให้โทษผสมอยู่.

ตาล

หมายถึง[ตาน] น. ชื่อปาล์มชนิด Borassus flabellifer L. ในวงศ์ Palmae ใบใหญ่ ดอกแยกเพศ อยู่ต่างต้น ต้นเพศผู้ออกดอกเป็นงวงคล้ายมะพร้าว ไม่มีผล ต้นเพศเมียออกดอกเป็นช่อเดี่ยว ๆ ผลใหญ่กลมโตเป็นทะลาย น้ำหวานที่ออกจากงวงของต้นเพศผู้ เรียกว่า น้ำตาลสด ใช้ทำน้ำตาลได้ ตอนหัวของผลอ่อน เรียกว่า หัวตาล ต้มแกงกินได้ เมื่อเต้ายังอ่อน เรียกว่า ลอนตาล นิยมกินสดหรือกินกับนํ้าเชื่อม เนื้อในตาลอ่อนที่เฉาะออกมาจากเต้า เรียกว่า ตาลเฉาะ จาวที่เกิดจากเมล็ดแก่ที่งอกแล้ว เรียกว่า จาวตาล เชื่อมกินได้, ตาลโตนด ก็เรียก; เรียกขนมที่ทำด้วยแป้งผสมนํ้าคั้นจากลูกตาลสุกว่า ขนมตาล.

เหนียว

หมายถึง[เหฺนียว] ว. ดึงขาดยาก, ทนทานไม่หักไม่ขาดง่าย, แกะออกยาก, ไม่ยุ่ย, ไม่เปื่อย, เช่น กิ่งมะขามเหนียวมาก ด้ายหลอดเหนียวมาก มือเหนียวตีนเหนียว; มีลักษณะคล้ายยางใช้ติดสิ่งอื่นได้ เช่น เอาแป้งมันผสมน้ำตั้งไฟแล้วกวนจนเหนียว, อาการที่ทำให้รู้สึกเหนอะหนะ เช่น เหงื่อออกจนเนื้อตัวเหนียวไปหมด; (ปาก) คงกระพัน, ทนทานต่อศาสตราวุธ, ฟัน แทง หรือยิงไม่เข้า, เช่น เขาเป็นคนหนังเหนียว; ตระหนี่ เช่น เขาเป็นคนเหนียวมาก, มักใช้ว่า ขี้เหนียว. น. ชื่อดินที่มีลักษณะเหนียวใช้ปั้นได้ เรียกว่า ดินเหนียว; ชื่อข้าวที่มีลักษณะเหนียวมาก ใช้นึ่งเป็นอาหาร เรียกว่า ข้าวเหนียว; ชื่อขนมชนิดหนึ่ง ทำด้วยแป้งข้าวเหนียว คลุกมะพร้าวขูด โรยน้ำตาลเคี่ยวและข้าวตากคั่ว เรียกว่า ขนมเหนียว.

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ