ค้นเจอ 119 รายการ

รัว,รัว,รัว ๆ

หมายถึงก. ตีหรือยิงเป็นต้นเร็ว ๆ ทำให้เกิดเสียงดังถี่ ๆ เช่น รัวระฆัง รัวกลอง รัวปืนกล; อาการที่พูดเร็วจนลิ้นพันกัน ฟังไม่ได้ชัด เรียกว่า พูดลิ้นรัว. ว. ไหวถี่ ๆ เช่น ตัวสั่นรัว ๆ; ไม่ชัด, ไม่แจ่มแจ้ง, เช่น ข้อความรัว ภาพรัว ๆ เห็นรัว ๆ.

ถือ

หมายถึงก. เอาไว้ในมือ, จับยึดไว้, เช่น ถือมีด ถือปืน ถือหนังสือ; ทรงไว้, ดำรงไว้; เอาไว้ในใจ เช่น ถือศีล ถือศักดินา; ยึดเอาว่า, นับเอาว่า, เช่น ถือเป็นญาติกัน ถือเราถือเขา ถือพวก ถือโทษ; เชื่อมั่นว่าเป็นมงคลหรืออัปมงคล เช่น ถือไม่ให้ใครจับหัว ถือไม่ลอดใต้ถุน; นับถือ เช่น ถือศาสนา; เช่า ในคำว่า ถือสวน, เช่าถือสวน ก็ว่า.

หล่อ

หมายถึงก. เทโลหะเหลวหรือขี้ผึ้งเหลวเป็นต้นลงในแม่พิมพ์ แล้วทิ้งให้แข็งเป็นรูปตามแบบ (มักใช้ในงานประติมากรรมและอุตสาหกรรม) เช่น หล่อพระพุทธรูป หล่อกระทะ หล่อกระบอกปืนใหญ่; ขังน้ำหรือน้ำมันไว้เพื่อรักษาสิ่งใดสิ่งหนึ่งให้คงสภาพ เช่น เอาน้ำหล่อคอนกรีตไว้ เอาน้ำมันจันทน์หล่อรักยม. (ปาก) ว. งาม เช่น รูปหล่อ.

เรือพิฆาต

หมายถึงน. เรือรบที่มีความเร็วสูง ระวางขับน้ำประมาณ ๓,๘๐๐-๕,๕๐๐ ตัน มีหน้าที่หลักในการป้องกันภัยจากเรือดำน้ำและอากาศยาน และอาจทำหน้าที่อื่น ๆ เช่น เฝ้าตรวจการรุกล้ำทางผิวน้ำและอากาศ ตรวจการรุกล้ำของเรือดำน้ำ มีอาวุธสมัยใหม่ทั้งปืนใหญ่ อาวุธนำวิถี และอาวุธปราบเรือดำน้ำ.

ลั่น

หมายถึงก. มีเสียงดัง เช่น ฟ้าลั่น ไม้ลั่น กระดานลั่น, ทำให้มีเสียงดังหรือทำให้เกิดเสียงดัง เช่น ลงบันได บันไดลั่น บิดตัวจนกระดูกลั่น; ยิง เช่น ลั่นธนู ลั่นปืน; ปริออกแตกออกเป็นทางยาวและมีเสียงดัง เช่น จั่นลั่น แก้วใส่น้ำร้อนลั่น; โดยปริยายหมายถึงมีเสียงดังคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ลือลั่น. ว. มีเสียงดังมาก เช่น หัวเราะลั่น ร้องไห้ลั่น.

อัษฎายุธ

หมายถึงน. อาวุธ ๘ อย่าง คือ ๑. พระแสงหอกเพชรรัตน์ ๒. พระแสงดาบเชลย ๓. พระแสงตรี ๔. พระแสงจักร ๕. พระแสงดาบและเขน หรือดาบและโล่ ๖. พระแสงธนู ๗. พระแสงของ้าวแสนพลพ่าย ๘. พระแสงปืนคาบชุดข้ามแม่นํ้าสะโตง, จะอัญเชิญมาถวายในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก.

อัษฎาวุธ

หมายถึงน. อาวุธ ๘ อย่าง คือ ๑. พระแสงหอกเพชรรัตน์ ๒. พระแสงดาบเชลย ๓. พระแสงตรี ๔. พระแสงจักร ๕. พระแสงดาบและเขน หรือดาบและโล่ ๖. พระแสงธนู ๗. พระแสงของ้าวแสนพลพ่าย ๘. พระแสงปืนคาบชุดข้ามแม่นํ้าสะโตง, จะอัญเชิญมาถวายในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก.

กระโจม

หมายถึงน. สิ่งที่ตามปรกติมียอดเป็นลอมอย่างซุ้ม ใช้เป็นเครื่องกำบังแดดลมเป็นต้น, โดยปริยายหมายถึง (๑) สิ่งที่รวมกันเข้าเป็นลอม เช่น กระโจมปืน. (๒) สิ่งที่ผูกรวบยอดให้รวมกัน เช่น ปากผูกกระโจม. (๓) ผ้าที่ทำเป็นลอมเพื่อเข้าไปอยู่ให้เหงื่อออก เช่น เข้ากระโจม; กูบที่มีด้านเปิดโล่ง ๔ ด้าน, โจม ก็ว่า; (ถิ่น) เครื่องสวมศีรษะอย่างหนึ่ง เช่น กระจอนหูแปงประดับแก้วเครื่องเลิศอุดมกระโจมคำสุบเก้าเกษ. (ม. ภาคอีสาน นครกัณฑ์).

ซ้อน

หมายถึงก. วางทับกัน เช่น เอาจานซ้อนกัน เอาหนังสือซ้อนสมุด, เรียงแทรกเสริมกัน เช่น ฟันซ้อน มะลิซ้อน; ซํ้า ๆ กัน เช่น ถูกชก ๒ ทีซ้อน เสียงปืนดัง ๓ นัดซ้อน; ว่ากันคนละทีในเชิงแข่งขัน เช่น เทศน์ซ้อน. ว. มีหรือทำอย่างเดียวกันกับที่มีหรือทำอยู่แล้ว เช่น เขามีประชุมซ้อน; ลักษณะที่จอดรถหรือเรือเรียงขนานกับอีกคันหนึ่งหรือลำหนึ่งที่จอดอยู่แล้ว เรียกว่า จอดรถหรือเรือซ้อนกัน; ลักษณะที่จอดรถขวางรถที่จอดเป็นระเบียบอยู่แล้ว เป็นการกีดขวางทางจราจร เรียกว่า จอดรถซ้อนคัน.

พก

หมายถึงน. ริมผ้านุ่งที่ดึงรวบขึ้นมาไขว้ไว้ที่บริเวณสะดือ มีลักษณะคล้ายถุงเล็ก ๆ เรียกว่า ชายพก ใส่เงินหรือหมากเป็นต้น; แผ่นดิน. ก. เอาเก็บหรือซ่อนไว้ในพกหรือในสิ่งอื่นที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น พกมีด พกนาฬิกา, เรียกสิ่งที่นำติดตัวไปในลักษณะเช่นนั้น เช่น มีดพก ปืนพก นาฬิกาพก; พัง, ทำลาย, เช่น ดุจพสุธาพังดังพสุธาพก. (ม. ร่ายยาว มหาราช); ผก, หก, ตก; (กลอน) วก เช่น ภายหลังมาจึงพราหมณ์ชูชก พกมาทวงทอง. (ม. คำหลวง ชูชก).

กระบอก

หมายถึงน. ไม้ไผ่ที่ตัดเป็นท่อน, ของอื่น ๆ ที่มีรูปคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น กระบอกปืน กระบอกตา; ลักษณนามบอกสัณฐาน สำหรับใช้กับของกลมยาวแต่กลวง เช่น ข้าวหลาม ๓ กระบอก; เสื้อชนิดหนึ่งในสมัยรัชกาลที่ ๔ แขนยาว ช่วงตัวสั้นเสมอบั้นเอว แขนรัด ตัวรัด คอสูง เรียกว่า เสื้อกระบอก; หุ่นชนิดหนึ่งมีแต่ส่วนหัวและมือ ๒ ข้าง ลำตัวทำด้วยไม้กระบอก มีผ้าเย็บเป็นถุงคลุม เวลาเชิดใช้มือสอดเข้าไปจับไม้กระบอกนั้นเชิด เรียกว่า หุ่นกระบอก; (เรขา) รูปตันที่กำเนิดขึ้นจากการเขียนรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า โดยใช้ด้านใดด้านหนึ่งเป็นแกนแล้วหมุนโดยรอบฐาน ปลายทั้ง ๒ ข้างมีหน้าเป็นวงกลม เรียกว่า รูปทรงกระบอก หรือ รูปกระบอก, ลักษณะได้แก่รูปที่มีสัณฐานกลมยาวและตรงซึ่งมีส่วนสัดกลมเท่ากันตั้งแต่ต้นจนปลาย. (อ. cylinder).

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ