ค้นเจอ 223 รายการ

จินดามณี

หมายถึงน. แก้วอันให้ผลแก่เจ้าของตามใจนึก, แก้วสารพัดนึก; ชื่อตำราแบบเรียนหนังสือไทยโบราณ เช่น จินดามณีฉบับพระโหราธิบดีแต่งในรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราช จินดามณีฉบับไม่ปรากฏชื่อผู้แต่ง ในรัชกาลสมเด็จพระบรมโกศ จินดามณีฉบับกรมหลวงวงษาธิราชสนิทแต่งในสมัยรัตนโกสินทร์. (ป., ส.).

สับปะรด

หมายถึงน. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Ananas comosus Merr. ในวงศ์ Bromeliaceae ไม่มีลำต้นปรากฏบนพื้นดิน ใบเป็นกาบยาวให้ใยใช้ทำสิ่งทอ ขอบใบมีหนาม ผลมีตาโดยรอบ กินได้ รสเปรี้ยว ๆ หวาน ๆ; เรียกใยของพรรณไม้บางชนิดที่มีลักษณะอย่างใยสับปะรด ใช้ทำหมวกเป็นต้นว่า ไหมสับปะรด.

ละครสังคีต

หมายถึงน. ละครแบบหนึ่ง รับอิทธิพลจากละครแบบยุโรป ตัวละครร้องและพูดบทของตน การร้องเพลงและการพูดมีความสำคัญเท่ากัน ตัดส่วนใดออกเนื้อเรื่องจะขาดไป ดนตรีประกอบไพเราะ มีการจัดฉากและแต่งกายตามสมัยที่ปรากฏในเรื่อง เช่น ละครสังคีตเรื่องวิวาหพระสมุท เรื่องมิกาโด, บางทีเรียกว่า ละครพูดสลับลำ.

ตุ๊กตา

หมายถึง[ตุ๊กกะ-] น. ของเล่นของเด็กซึ่งทำเป็นรูปคนหรือสัตว์เป็นต้น มักมีขนาดเล็กกว่าตัวจริง, ลักษณนามว่า ตัว; เงาที่ปรากฏเป็นรูปคนเล็ก ๆ เป็นต้น ในแววตา; ที่รับเพลาและข้อเสือเครื่องจักรเพื่อให้เที่ยง; ชื่อเสาที่ยันขื่อคัด; ตัวอย่างที่สมมุติขึ้นมาประกอบคำอธิบายหรือวินิจฉัยเป็นต้น เช่น ตั้งตุ๊กตามาดู.

รูปธรรม

หมายถึง[รูบปะทำ] น. สิ่งที่รู้ได้ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย อันได้แก่ รูป เสียง กลิ่น รส และสิ่งที่สามารถสัมผัสได้ด้วยกาย, คู่กับ นามธรรม คือสิ่งที่รู้ได้เฉพาะทางใจเท่านั้น; สิ่งที่สามารถแสดงออกมาให้ปรากฏเป็นจริงเป็นจังมิใช่เป็นเพียงทฤษฎีเท่านั้น, สิ่งที่สามารถปฏิบัติได้, เช่น ต้องทำโครงการพัฒนาชนบทให้เป็นรูปธรรมด้วยการจัดให้มีนํ้ากินนํ้าใช้เป็นต้น. (ป.).

ตะลุง

หมายถึงน. ชื่อมหรสพอย่างหนึ่ง ใช้หนังสลักเป็นรูปภาพขนาดเล็ก คีบด้วยไม้ตับอันเดียว เชิดภายในโรงให้แสงไฟส่องผ่านตัวหนังสร้างเงาให้ปรากฏบนจอผ้าขาวหน้าโรง ใช้ปี่ กลอง และฆ้องคู่บรรเลงประกอบ ผู้เชิดเป็นผู้พากย์ เรียกว่า หนังตะลุง; จังหวัดพัทลุง เช่น ชาตรีมีแต่ล้วนชาวตะลุง. (อิเหนา).

รอย

หมายถึงน. ลักษณะที่เป็นเส้น เป็นริ้ว หรือลวดลายเป็นต้นที่ปรากฏอยู่บนพื้นสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เช่น รอยขีด รอยหน้าผากย่น รอยพระบาท รอยต่อ รอยประสาน; เค้า, เค้าเงื่อน, เช่น แกะรอย ตามรอย; โดยปริยายหมายถึงลักษณะที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น รอยรัก, ทาง เช่น มารอยเดียวกัน; ลักษณนามเรียกสิ่งที่เป็นรอย เช่น พระบาท ๔ รอย มีรอยต่อ ๓ รอย. (กลอน) ว. เห็นจะ, ชะรอย.

ขีด

หมายถึงก. ใช้ของแหลมหรือมีดเป็นต้นทำให้เป็นเส้นหรือรอยยาว. น. แนวเส้น; ระดับ เช่น เกินขีด, ขีดขั้น ก็ว่า; ลักษณนามเรียกสิ่งที่เป็นเส้นหรือรอยยาวปรากฏอยู่บนพื้นสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เช่น มีรอย ๓ ขีด; (ปาก) เรียกเครื่องหมายแสดงระดับชั้นของข้าราชการพลเรือน เช่น ข้าราชการชั้นตรีที่บ่ามีขีดใหญ่ ๑ ขีด; เรียกน้ำหนัก ๑ ใน ๑๐ ของกิโลกรัมว่า ขีดหนึ่ง.

ศุกร,ศุกร-,ศุกร์

หมายถึง[สุกกฺระ-, สุก] น. ชื่อวันที่ ๖ ของสัปดาห์; ชื่อดาวเคราะห์ดวงที่ ๒ ในระบบสุริยะ อยู่ห่างดวงอาทิตย์ประมาณ ๑๐๘ ล้านกิโลเมตร มีเส้นผ่าศูนย์กลาง ๑๒,๑๐๔ กิโลเมตร ไม่มีบริวาร เป็นดาวเคราะห์ที่มีบรรยากาศหนาทึบด้วยแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ และไอของกรดกำมะถัน ปรากฏสว่างที่สุดบนฟ้า, ถ้าเห็นทางตะวันตกในเวลาหัวคํ่า เรียกว่า ดาวประจำเมือง, ถ้าเห็นทางตะวันออกในเวลาใกล้รุ่ง เรียกว่า ดาวรุ่ง หรือ ดาวประกายพรึก. ว. สว่าง. (ส.).

ช้าง

หมายถึงน. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิด Elephas maximus ในวงศ์ Elephantidae ตัวสีเทา จมูกยื่นยาวเรียกว่า งวง ตัวผู้มีงายาวเรียก ช้างพลาย ถ้ามีงาสั้นเรียก ช้างสีดอ ตัวผู้เมื่อตกมันมีความดุร้ายมาก ตัวเมียเรียก ช้างพัง ส่วนใหญ่ไม่มีงาปรากฏให้เห็น แต่บางตัวมีงาสั้น ๆ ซึ่งเรียกว่า ขนาย โผล่ออกมา กินพืช อยู่รวมกันเป็นโขลง มีช้างพังอายุมากเป็นจ่าโขลง.

คำกร่อน

หมายถึง(ไว) น. คำที่ลดเสียงสระและเสียงสะกด (ถ้ามี) ให้เป็นเสียง อะ โดยยังคงเสียงพยัญชนะต้นเสียงเดี่ยวหรือเสียงพยัญชนะต้นที่เป็นอักษรควบอักษรกล้ำไว้ มักจะเกิดในคำสองพยางค์ที่พยางค์แรกออกเสียงเบา เช่น หมากม่วง เป็น มะม่วง ต้นเคียน เป็น ตะเคียน อันหนึ่ง เป็น อนึ่ง แจ้นแจ้น เป็น จะแจ้น ขวักไขว่ เป็น ขวะไขว่ โครมโครม เป็น คระโครม, และมีปรากฏในคำพยางค์เดียวด้วย เช่น เสีย เป็น ซะ แล้ว เป็น ละ, แต่บางกรณีก็ลดเสียงสระและเสียงสะกด (ถ้ามี) ให้เป็นเสียง เออะ หรือ อึ เช่น เถิด เป็น เถอะ หรือ เป็น รึ.

ลัคน,ลัคน-,ลัคน์,ลัคนา

หมายถึง[ลักคะนะ-, ลัก, ลักคะนา] น. ราศีที่ปรากฏขึ้นที่ขอบฟ้าทางทิศตะวันออกในเวลาเจ้าของชะตาเกิด เช่น นาย ก เกิดเวลา ๑๑.๐๐ น. ลัคนาสถิตราศีกันย์, ในดวงชะตาถ้าอาทิตย์อยู่ในราศีเดียวกับลัคน์ เรียกว่า อาทิตย์กุมลัคน์; เวลาหรือวันที่ถือว่าเป็นมงคลสำหรับลงมือทำการใด ๆ, ถ้าเป็นเวลาที่เป็นมงคล เรียกว่า ลัคนกาล ถ้าเป็นวันที่เป็นมงคล เรียกว่า ลัคนทิน เช่น โหรคำนวณว่าวันที่ ๑๔ พฤษภาคม เป็น ลัคนทิน เวลา ๑๗.๐๐ น. เป็น ลัคนกาล เป็นวันและเวลาที่เหมาะสำหรับทำพิธีรดนํ้าแต่งงาน.

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ