ค้นเจอ 156 รายการ

ชุบตัว

หมายถึงก. เอาตัวจุ่มลงไปในของเหลวเพื่อให้ติดสิ่งนั้นอย่างพระสังข์ชุบตัวให้เป็นทอง, เอาตัวเข้าไปในกองไฟเพื่อเปลี่ยนรูปอย่างท้าวสันนุราชชุบตัวในกองไฟเพื่อให้กลับเป็นหนุ่มใหม่; โดยปริยายหมายถึงไปศึกษาอบรมเพิ่มเติมเพื่อให้มีความรู้สูงขึ้น ดีขึ้น โดยมากหมายถึงในยุโรปและอเมริกา เช่น ไปชุบตัวมาจากเมืองนอก.

ดู

หมายถึงก. ใช้สายตาเพื่อให้เห็น เช่น ดูภาพ ดูละคร, ระวังรักษา เช่น ดูบ้านให้ด้วย ไม่มีคนดูเด็ก, พินิจพิจารณา เช่น ดูให้ดี, ศึกษาเล่าเรียน เช่น ดูหนังสือ, เห็นจะ เช่น ดูจะเกินไปละ, ทำนาย เช่น ดูโชคชะตาราศี, ใช้ประกอบกริยา เพื่อให้รู้ให้เห็นประจักษ์แจ้ง เช่น คิดดูให้ดี ลองกินดู.

พัดยศ

หมายถึงน. พัดพิเศษที่พระมหากษัตริย์โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเพื่อพระราชทานแก่ภิกษุสามเณรที่สอบเปรียญธรรมได้ตั้งแต่ ๓ ประโยคขึ้นไป หรือแก่พระภิกษุที่มีความรู้ ความสามารถในการศึกษา การบริหาร หรือการเผยแผ่พระศาสนา เป็นต้น เป็นเครื่องหมายแสดงลำดับชั้นแห่งสมณศักดิ์ มีรูปและชื่อต่าง ๆ กัน คือ พัดหน้านาง พัดพุดตาน พัดแฉกทรงพุ่มข้าวบิณฑ์.

ผู้อุปการะ

หมายถึง(กฎ) น. ตามพระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการ หมายความถึง (๑) ผู้ที่ได้อุปการะเลี้ยงดูให้การศึกษาผู้ตายมาแต่เยาว์ฉันบิดามารดากับบุตร หรือ (๒) ผู้ที่ได้อุปการะข้าราชการประจำหรือข้าราชการบำนาญผู้มีรายได้ไม่เพียงพอแก่อัตภาพ หรือได้อุปการะข้าราชการบำนาญผู้ซึ่งป่วยเจ็บทุพพลภาพหรือวิกลจริตไม่สามารถที่จะช่วยตัวเองได้ ผู้อุปการะตามข้อนี้ต้องเป็นผู้ให้อุปการะประจำเป็นส่วนใหญ่.

สด ๆ,สด ๆ ร้อน ๆ

หมายถึงว. หยก ๆ, ใหม่ ๆ, เร็ว ๆ นี้, ไว ๆ นี้, เช่น เขาเพิ่งจบการศึกษามาจากต่างประเทศสด ๆ ร้อน ๆ สินค้าเพิ่งผลิตออกจากโรงงานสด ๆ ร้อน ๆ; ซึ่ง ๆ หน้า เช่น เจ้าข้าเอ่ยบุคคลผู้ใดเลย ในโลกนี้ที่น่าจะเจรจาตลบเลี้ยวลดสด ๆ ร้อน ๆ เหมือนเจ้าพระยาเวสสันดรชีไพรเป็นว่าหามิได้นี้แล้วแล (เวสสันดร), โกหกสด ๆ ร้อน ๆ.

นหาดก

หมายถึง[นะหาดก] น. ผู้อาบแล้ว, ผู้ล้างแล้ว, คำบัญญัติในลัทธิพราหมณ์สำหรับเรียกผู้ใหญ่ในวรรณะ เช่น พราหมณ์ผู้ได้กระทำพิธีอาบนํ้า ซึ่งจำต้องกระทำเมื่อเสร็จกิจศึกษาจากสำนักอาจารย์ และตั้งต้นเป็นผู้ครองเรือน (คฤหัสถ์ คือ ผู้มีภรรยาและครอบครัว), ในพระพุทธศาสนา หมายเอาท่านที่ชำระกิเลสมลทินสิ้นแล้ว. (ป. นหาตก; ส. สฺนาตก).

เลือด

หมายถึงน. ของเหลวปรกติมีสีแดง อยู่ในหลอดเลือดและหัวใจของคนและสัตว์ ประกอบด้วยน้ำเลือดและเม็ดเลือด ส่วนที่เป็นสีแดงเกิดจากสีในเม็ดเลือดแดง สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง เช่น แมลง กุ้ง หอย เม็ดเลือดเห็นมีสีน้ำเงินจาง ๆ; ระดู เช่น เลือดทำ คือ อาการป่วยในระหว่างที่มีระดู; โดยปริยายหมายถึงผู้สืบเชื้อสาย เช่น เลือดศิลปิน เลือดนักรบ เลือดนักประพันธ์; ผู้ที่เคยศึกษาจากสถาบันใดสถาบันหนึ่ง เช่น เลือดจุฬา เลือดธรรมศาสตร์.

ผ่าน

หมายถึงก. ล่วงจุดใดจุดหนึ่งไป เช่น รถผ่านสนามหลวง, อาการที่เคลื่อนจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่ง เช่น รถสายนี้ผ่านสามย่าน สีลม, ล่วงเลย เช่น เวลาผ่านไป ๕ ปี; โดยปริยายหมายความว่า เคย เช่น ผ่านตามาแล้ว ผ่านหูมาก่อน หรือ ชำนาญเชี่ยวชาญ เช่น ผ่านงานมามาก ผ่านศึกมาหลายครั้ง, ยอมให้ก่อน เช่น ผ่านไปก่อน, ยอมให้ล่วงเข้าไปได้ เช่น บัตรผ่านประตู, สอบได้ เช่น ผ่านชั้นประถมปีที่ ๑ แล้ว, ได้รับความเห็นชอบ เช่น พระราชบัญญัติงบประมาณผ่านสภาแล้ว, ตัดทาง, ลัดทาง, เช่น ห้ามเดินผ่านสนาม, ข้าม เช่น ไฟแดงห้ามผ่าน มองผ่านไป, เปลี่ยน เช่น ผ่านมือ, ครอบครอง เช่น ผ่านเมือง, บอกราคาสูงเกินไป ในความว่า บอกราคาผ่านมากไป, ล่วงพ้นไป เช่น เวลาผ่านไป. ว. เรียกม้าที่มีลายขาวขวางพาดตัวว่า ม้าผ่าน; ถ้าประกอบหน้านามบางคำหมายความว่า พระเจ้าแผ่นดิน เช่น ผ่านเกล้าฯ ผ่านเผ้า ผ่านพิภพ ผ่านฟ้า.

ปัจจัย

หมายถึงน. เหตุอันเป็นทางให้เกิดผล, หนทาง, เช่น การศึกษาเป็นปัจจัยให้เกิดความรู้ความสามารถ, องค์ประกอบ, ส่วนประกอบ, เช่น ปัจจัยในการผลิต, คำ “ปัจจัย” กับ คำ “เหตุ” มักใช้แทนกันได้; เครื่องอาศัยยังชีพ, เครื่องอาศัยเลี้ยงชีวิตของบรรพชิตในพระพุทธศาสนา ๔ อย่าง คือ จีวร (ผ้านุ่งห่ม) บิณฑบาต (อาหาร) เสนาสนะ (ที่อยู่) คิลานเภสัช (ยา) รวมเรียกว่า จตุปัจจัย คือ ปัจจัย ๔, โดยปริยายหมายถึงเงินตราก็ได้ (มักใช้แก่ภิกษุสามเณร); (ไว) ส่วนเติมท้ายธาตุหรือศัพท์เพื่อแสดงความหมายเป็นต้น. (ป.).

กรรมาธิการ

หมายถึง[กำ-] น. บุคคลที่สภาผู้แทนราษฎรหรือวุฒิสภาเลือกและตั้งเป็นคณะกรรมาธิการ เพื่อกระทำกิจการ พิจารณาสอบสวน หรือศึกษาเรื่องใด ๆ อันอยู่ในอำนาจหน้าที่ของแต่ละสภา แล้วรายงานต่อสภาคณะกรรมาธิการมี ๒ ประเภท คือ คณะกรรมาธิการสามัญ และคณะกรรมาธิการวิสามัญ คณะกรรมาธิการสามัญประกอบด้วยบุคคลซึ่งเป็นสมาชิกของสภาล้วน ๆ คณะกรรมาธิการวิสามัญประกอบด้วยบุคคลผู้เป็นสมาชิกและบุคคลที่มิได้เป็นสมาชิกของสภารวมกัน หรือบุคคลที่มิได้เป็นสมาชิกของสภาทั้งหมดที่สภาเลือกและตั้งเป็นคณะกรรมาธิการวิสามัญ.

เล่น

หมายถึงก. ทำเพื่อสนุกหรือผ่อนอารมณ์ เช่น เล่นเรือ เล่นดนตรี; แสดง เช่น เล่นโขน เล่นละคร เล่นงานเหมา; สาละวนหรือหมกมุ่นอยู่กับสิ่งใด ๆ ด้วยความเพลิดเพลินเป็นต้น เช่น เล่นกล้วยไม้; สะสมของเก่าพร้อมทั้งศึกษาหาความเพลิดเพลินไปด้วย เช่น เล่นเครื่องลายคราม เล่นพระเครื่อง เล่นแสตมป์; พนัน เช่น เล่นม้า เล่นมวย; ร่วมด้วย, เอาด้วย, เช่น งานนี้ขอเล่นด้วยคน เรื่องคอขาดบาดตาย เขาคงไม่เล่นด้วย; (ปาก) ทำร้าย เช่น อวดดีนัก เล่นเสีย ๒ แผลเลย; กิน เช่น หิวมาก เลยเล่นข้าวเสีย ๓ จาน. ว. อาการที่ทำหรือพูดอย่างไม่เอาจริง เช่น กินเล่น พูดเล่น, เล่น ๆ ก็ว่า.

ทำ

หมายถึงก. กระทำ, ประกอบขึ้น, ผลิตขึ้น, สร้างขึ้น, ก่อขึ้น, เช่น ทำเก้าอี้ ทำโต๊ะ ทำรองเท้า ทำรัง; ประกอบการงาน เช่น ทำนา ทำสวน ทำโป๊ะ; ดำเนินการ, ปฏิบัติงาน, เช่น ทำหน้าที่ประธาน ทำตามคำสั่ง ทำตามกฎหมาย; แต่งให้งาม เช่น ทำผม ทำนัยน์ตา ทำจมูก; คิดและปฏิบัติไปตามกฎเกณฑ์ที่กำหนดไว้ เช่น ทำเลข ทำการฝีมือ, ประกอบพิธีกรรมเกี่ยวกับการนั้น ๆ เช่น ทำวัตร ทำศพ; แสดง เช่น ทำบท ทำเพลง ทำเบ่ง; (ปาก) ศึกษาในระดับปริญญา เช่น ทำปริญญา ทำดอกเตอร์.

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ