ค้นเจอ 261 รายการ

มณฑป

หมายถึง[มนดบ] น. เรือนยอดขนาดใหญ่มีรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส หรือเป็นรูปตัดมุม หรือย่อไม้แปด ย่อไม้สิบสอง ยอดหลังคาเป็นทรงจอมแห, ใช้ว่า มรฑป ก็มี. (ป., ส.); ขันนํ้าเย็นของพระเจ้าแผ่นดินที่มีฝาเป็นรูปอย่างมณฑป เรียกว่า พระมณฑป.

ปากน้ำ

หมายถึงน. บริเวณที่แควไหลลงมาบรรจบลำน้ำใหญ่ เช่น ปากน้ำโพ หรือบริเวณที่ลำน้ำใหญ่ไหลลงสู่ทะเลหรือทะเลสาบ เช่น ปากน้ำเจ้าพระยา ปากน้ำบางปะกง, บางทีก็ใช้เรียกทางเข้าอ่าวจากมหาสมุทรหรือทะเลสู่ฝั่งด้วย.

บาท

หมายถึงน. มาตราเงินตามวิธีประเพณี ๑๐๐ สตางค์ หรือ ๔ สลึง เท่ากับ ๑ บาท, อักษรย่อว่า บ.; เขียนตามวิธีโบราณดังนี้ (อักขระพิเศษ) หมายความว่า ๓ บาท; ชื่อมาตราชั่งตามวิธีประเพณี สำหรับกำหนดนํ้าหนักเท่ากับเงินหนัก ๑๕ กรัม.

แคบ

หมายถึงน. อานม้า เช่น สรรพแคบหมอนทองห้อยภู่พราย. (ยวนพ่าย). (เทียบ ข. แคบ ว่า เบาะ, อานม้า). ก. ขลิบ เช่น ล้วนอลงกฎด้วยอลงการ เบาะลอออานแคบคำ. (ม. คำหลวง ทานกัณฑ์). (ถิ่น-อีสาน แขบ ว่า ขลิบ).

เทพทารู,เทพทาโร

หมายถึง[เทบพะ-] น. ชื่อไม้ต้นขนาดใหญ่ชนิด Cinnamomum porrectum Kosterm. ในวงศ์ Lauraceae ใบ เปลือก และราก มีกลิ่นหอมคล้ายการบูร ใช้ปรุงอาหารและทำยาได้, จวง หรือ จวงหอม ก็เรียก. (ป. เทวทารุ).

รีบ,รีบ ๆ

หมายถึงก. อาการที่ทำอย่างใดอย่างหนึ่งอย่างรวดเร็ว เช่น รีบเสียจนมือสั่น รีบไปรีบมา รีบทำ รีบนอน รีบ ๆ หน่อย. ว. รวดเร็ว, ไม่รอช้า, เช่น เดินรีบ ๆ หน่อยเดี๋ยวฝนจะตก กินรีบ ๆ จะติดคอ.

ท่วม

หมายถึงก. ไหลหลาก บ่า หรือเอ่อท้นจนลบพื้นที่หรือสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เช่น นํ้าท่วมทุ่ง นํ้าท่วมบ้าน, กลบ เช่น ทรายท่วมเท้า, ซาบซึมไปทั่ว เช่น เหงื่อท่วมตัว, โดยปริยายหมายถึงลักษณะที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น หนี้ท่วมตัว ความรู้ท่วมหัว.

หมายถึงพยัญชนะตัวที่ ๒๗ เป็นพวกอักษรกลาง เป็นตัวสะกดในแม่กบในคำที่มาจากภาษาบาลีและสันสกฤตเป็นต้น เช่น บาป เนปจูน, ตัว ป ที่ขึ้นต้นของคำหรือพยางค์ในภาษาบาลีและสันสกฤตมักแผลงมาเป็นตัว บ ในภาษาไทย เช่น ปท ปิตา เป็น บท บิดา.

ด้วย

หมายถึงว. คำแสดงกริยารวมหรือเพิ่ม เช่น สวยด้วยดีด้วย, แสดงกริยาร่วมกันหรือในทำนองเดียวกัน เช่น กินด้วย, แสดงความขอร้อง เช่น ช่วยด้วย บอกด้วย. บ. คำนำหน้านามเพื่อให้รู้ว่านามนั้นเป็นเครื่องใช้หรือเป็นสิ่งที่ใช้เป็นเครื่องกระทำ เช่น ฟันด้วยมีด; ตาม เช่น ทำด้วยอารมณ์. สัน. เพราะ, เหตุ, เช่น ด้วยปรากฏว่า.

ประอุก

หมายถึงก. ระอุ; ร้อนรน เช่น หนึ่งอัคนีมีในเชองกราน บมีเป่าพัดพาน ประอุกแลลุกลามเลือน, ผิโคเคียงเกวียนเดิรหน ไป่ทันแก้ปรน ประอุกแลขุกวอดวาย. (จารึกวัดโพธิ์; อภิไธยโพทิบาทว์), ใช้เป็น กระอุ หรือ กระอุก ก็มี.

บรรจบ

หมายถึง[บัน-] ก. เพิ่มให้ครบจำนวน เช่น บรรจบให้ครบร้อย บรรจบให้ครบถ้วน; จดกัน, ใกล้ชิดติดต่อกัน, เช่น ปูกระดานให้บรรจบกัน ทาง ๒ สายมาบรรจบกัน, ทำให้เข้ากันสนิท เช่น ติดกรอบหน้าต่างให้มุมบรรจบกัน; ชนขวบ เช่น บรรจบรอบปี, ประจบ ก็ใช้.

เคลือบ

หมายถึง[เคฺลือบ] ก. ไล้ ทา หรือพอกผิวเดิมด้วยของเหลวบางชนิด แล้วทิ้งไว้ให้เย็นจนแข็งตัว เช่น เคลือบนํ้าตาล เคลือบยาพิษ, ทาผิวนอกด้วยนํ้ายาเคมีแล้วใช้ความร้อนอบให้นํ้ายาเกาะแน่น, เรียกสิ่งที่เคลือบโดยกรรมวิธีเช่นนั้น ว่า เครื่องเคลือบ; โดยปริยายหมายถึงลักษณะที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ปากเคลือบนํ้าตาล.

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ