ค้นเจอ 1,788 รายการ

จาตุทสี

หมายถึง[-ทะสี] น. ดิถีที่ ๑๔ (คือ วัน ๑๔ คํ่า). (ป. จาตุทฺทสี; ส. จตุรฺทศี).

สี้

หมายถึงน. ยาสีฟันโบราณ ใช้สีเพื่อให้ฟันดำ, ชี่ ก็เรียก.

ปื๋อ

หมายถึงว. จัด, มักใช้ประกอบสีดำสีเขียวว่า ดำปื๋อ เขียวปื๋อ.

แปร๊ด

หมายถึง[แปฺร๊ด] ว. จัด, มาก, (ใช้แก่รสบางรสหรือสีบางสี) เช่น เปรี้ยวแปร๊ด แดงแปร๊ด.

จ้า

หมายถึงว. จัด, ยิ่ง, แรง, (ใช้แก่สี แสง หรือเสียง) เช่น สีจ้า แสงจ้า.

ชี่

หมายถึงน. ยาสีฟันโบราณ ใช้สีเพื่อให้ฟันดำ, สี้ ก็เรียก.

สีผึ้ง

หมายถึงน. ขี้ผึ้งที่ปรุงแล้วใช้สำหรับสีปาก, บางทีเรียกว่า สีผึ้งสีปาก.

หริณะ

หมายถึง[หะรินะ] น. กวาง, เนื้อชนิดหนึ่ง, กระต่าย. ว. สีขมิ้น, สีเหลืองอมแดง, สีเขียว. (ป., ส.).

ด่าง

หมายถึงว. เป็นดวงหรือเป็นจุดขาว ๆ ผิดกับสีพื้น เช่น วัวด่าง มือด่าง, มีสีจางกว่าสีเดิมเป็นแห่ง ๆ เช่น ผ้าด่าง.

อุโบสถ,อุโบสถ,อุโบสถหัตถี

หมายถึง[อุโบสด, อุโบสดถะ-] น. ชื่อช้าง ๑ ใน ๑๐ ตระกูล กายสีทองคำ, ช้าง ๑๐ ตระกูล คือ ๑. กาฬาวกหัตถี สีดำ ๒. คังไคยหัตถี สีเหมือนน้ำไหล ๓. ปัณฑรหัตถี สีขาวดังเขาไกรลาส ๔. ตามพหัตถี สีทองแดง ๕. ปิงคลหัตถี สีทองอ่อนดั่งสีตาแมว ๖. คันธหัตถี สีไม้กฤษณา มีกลิ่นตัวหอม ๗. มงคลหัตถี สีนิลอัญชัน มีกิริยาท่าทางเดินงดงาม ๘. เหมหัตถี สีเหลืองดั่งทอง ๙. อุโบสถหัตถี สีทองคำ ๑๐. ฉัททันตหัตถี กายสีขาวบริสุทธิ์ดั่งเงินยวง แต่ปากและเท้าสีแดง.

เลื่อยลันดา,เลื่อยวิลันดา

หมายถึงน. เครื่องมือสำหรับตัดไม้ ใบเลื่อยมีลักษณะเป็นปื้น โคนใหญ่ ปลายรี ที่โคนมีด้ามทำด้วยไม้เป็นคันสำหรับจับ.

เงินยวง

หมายถึงน. เนื้อเงินบริสุทธิ์ที่ละลายคว้างอยู่ในเบ้า มีสีขาวผ่องเป็นมันปลาบ. ว. เรียกสีขาวผ่องเป็นมันปลาบเหมือนสีเงินที่ละลายคว้างอยู่ในเบ้าว่า สีเงินยวง.

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ