ค้นเจอ 1,870 รายการ

ชี

หมายถึงดู ชีปะขาว ๒ (๒).

อเนกรรถประโยค

หมายถึง[อะเนกัดถะปฺระโหฺยก] น. ประโยคใหญ่ที่มีใจความสำคัญอย่างน้อย ๒ ใจความมารวมกัน และใจความนั้น ๆ จะต้องมีลักษณะเป็นประโยคโดยมีสันธานเป็นบทเชื่อมหรือละสันธานไว้ในฐานที่เข้าใจ.

แม่เพลง

หมายถึงน. หญิงที่เป็นต้นบทหรือหัวหน้าวงเพลงพื้นบ้าน เช่น เพลงฉ่อย เพลงเกี่ยวข้าว เพลงเรือ.

นา

หมายถึง(แบบ) คำบทบูรณ์ มักใช้ประกอบท้ายคำบทร้อยกรองให้มีความกระชับหรือสละสลวยขึ้น เช่น แลนา.

วิจิตรบรรจง

หมายถึง[-จิดบันจง] ว. ลักษณะที่ตั้งอกตั้งใจทำอย่างประณีตงดงาม เช่น กวีนิพนธ์บทนี้แต่งอย่างวิจิตรบรรจง.

ตระง่อง

หมายถึง[ตฺระ-] ก. จ้อง, คอยดู, (โบ) ในบทร้อยกรองใช้ว่า กระหง่อง กระหน่อง ตระหง่อง หรือ ตระหน่อง ก็มี.

น้ำนอง

หมายถึง(๑) ดู กลึงกล่อม. (๒) ดู กำแพงเจ็ดชั้น ๒ (๒).

วิเศษณการก

หมายถึง[วิเสสะนะ-] (ไว) น. คำที่เรียงอยู่หลังบุรพบทที่ใช้เป็นบทเชื่อม เช่น รถของฉัน เขากินด้วยช้อนส้อม เขามาสู่บ้าน ถ้าละบุรพบทเสีย ก็อยู่ติดกับบทที่มันประกอบ เช่น รถฉัน เขากินช้อนส้อม เขามาบ้าน.

บัดนั้น

หมายถึงว. คำขึ้นต้นข้อความของบทละคร (ใช้แก่ตัวละครที่ไม่ใช่ตัวเจ้าหรือมิได้เป็นตัวเอกในตอนนั้น ๆ).

ไฉยา

หมายถึง(กลอน) น. ผู้หญิง, นางผู้มีโฉมงาม, เช่น เมื่อนั้น นางรจนาไฉยา แลเห็นสมเด็จพระมารดา กัลยาออกมารับทันที. (บทละครสังข์ทอง), เขียนเป็น ฉัยยา ก็มี. (ดู ชายา ๒).

ฉัยยา

หมายถึง(กลอน) น. ผู้หญิง, นางผู้มีโฉมงาม, เขียนเป็น ไฉยา ก็มี เช่น เมื่อนั้น นางรจนาไฉยา แลเห็นสมเด็จพระมารดา กัลยาออกมารับทันที. (บทละครสังข์ทอง). (ดู ชายา ๒).

รส

หมายถึงน. สิ่งที่รู้ได้ด้วยลิ้น เช่น เปรี้ยว หวาน เค็ม ฝาด, โดยปริยายหมายถึง ความไพเราะ เช่น กลอนบทนี้ไม่มีรส. (ป., ส.).

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ