ค้นเจอ 236 รายการ

ยามกาลิก

หมายถึง[ยามะ-] น. ของที่พระสงฆ์เก็บไว้ฉันได้ชั่วคราวเพียงวันหนึ่งกับคืนหนึ่ง ได้แก่ นํ้าอัฐบาน. (ป.). (ดู กาลิก).

ให้เสียง

หมายถึงก. กระทำเสียงใด ๆ ให้ผู้อื่นรู้ตัวล่วงหน้าก่อนที่จะปรากฏกาย เช่น ฉันตกใจ เธอเข้ามาไม่ให้เสียงเลย.

เสียน้ำตา

หมายถึงก. ร้องไห้ เช่น ละครเรื่องนี้เศร้าจริง ๆ ทำให้ฉันต้องเสียน้ำตา คนเลว ๆ อย่างนี้ตายไปก็ไม่น่าจะเสียน้ำตาให้.

เสียปาก

หมายถึงก. พูดออกไปเปล่าประโยชน์ เช่น เด็กดื้ออย่างนี้เตือนไปก็เสียปากเปล่า ๆ; ไม่คู่ควรที่จะกิน เช่น ของอย่างนี้ฉันไม่กินให้เสียปาก.

แบกหน้า

หมายถึง(สำ) ก. จำใจกลับมาแสดงตัวหรือติดต่อกับผู้ที่ตนเคยทำไม่ดี ไม่ถูกต้อง หรือไม่เหมาะสมมาก่อนอีก เช่น นี่แบกหน้ากลับมาหากู. (รามเกียรติ์ พลเสพย์).

สัตตาหกาลิก

หมายถึงน. ของที่เก็บไว้ฉันได้ชั่วคราวเพียง ๗ วัน ได้แก่ เภสัชทั้ง ๕ คือ เนยใส เนยข้น นํ้ามัน นํ้าผึ้ง นํ้าอ้อย. (ป.).

เสียหู

หมายถึงก. สูญเสียหูไป, โดยปริยายใช้ในความดูถูกดูหมิ่น เช่น เรื่องไร้สาระเช่นนี้ ฉันไม่ฟังให้เสียหูหรอก.

ฉันวุติ

หมายถึง[ฉันนะวุดติ] ว. เก้าสิบหก เช่น เป็นที่หมายฉันวุติโรค. (สิบสองเดือน). (ป. ฉนฺนวุติ).

มือขวา

หมายถึงน. ความสันทัด เช่น การรบพุ่งชิงชัยมันเป็นมือขวาของเขานี่ครับ. (ชิงนาง ร. ๖). ว. ที่ใกล้ชิด, ที่เก่งกล้าสามารถ, ที่ไว้วางใจได้, เช่น สมุนมือขวา.

ฝากสู่

หมายถึง(ถิ่น-อีสาน) ก. อนุญาตให้ชายสมสู่อยู่กินกับหญิงฉันผัวเมียกันได้ตั้งแต่วันสู่ขอแล้วทำพิธีแต่งงานในภายหลัง.

สัมพันธ,สัมพันธ-,สัมพันธ์,สัมพันธน์

หมายถึง[สำพันทะ-, สำพัน] ก. ผูกพัน, เกี่ยวข้อง, เช่น เขากับฉันสัมพันธ์กันฉันญาติ ข้อความข้างหลังไม่สัมพันธ์กับข้อความข้างหน้า. (ไว) น. การแยกความออกเป็นประโยค ๆ หรือส่วนต่าง ๆ ของประโยค แล้วบอกการเกี่ยวข้องของประโยคและคำต่าง ๆ ในประโยคนั้น ๆ. (ป., ส.).

ใคร,ใคร,ใคร ๆ

หมายถึง[ไคฺร] ส. ผู้ใดผู้หนึ่ง, คนใดคนหนึ่ง, (ซึ่งมิได้กำหนดแน่นอนลงไป) เช่น ฉันไม่อยากพึ่งใคร ใคร ๆ ก็ช่วยอะไรเขาไม่ได้.

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ